จากเมื่อสัปดาห์ก่อนที่มีข่าวการควบรวมกิจการอสังหาฯระหว่างกลุ่มสิงห์ ในนาม สันติบุรี และ เอส ไบรท์ ฟิวเจอร์ ที่เป็นบริษัทลูกของกลุ่มสิงห์คอเปเรชั่นได้เข้าซื้อหุ้นเทคโอเวอร์กิจการของกลุ่ม รสาพร๊อพเพอร์ตี้ หลังจากที่สองปีที่แล้ว ก็ได้ใช้บริษัท ไทยเบฟฯเข้าเทคโอเวอร์บริษัทอสังหาฯ อย่าง โกลด์เด้นแลนด์ และ ยูนิเวนเจอร์มาแล้ว เพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจเข้ากลุ่มสิงห์และกระจายความเสี่ยงธุรกิจออกไปรวมถึงเป็นการขยายกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในทางลัดด้วย
ซึ่งเป็นที่จับตามองว่าอสังหาฯรายย่อยนั้นในอนาคตจะโตได้ลำบากเพราะปัจจัยหลายๆประการทางธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ให้กับรายใหญ่ๆ หรือ ผู้ประกอบการที่มีสายป่านทางการเงินที่ยาวและมีสภาพคล่องที่ดีกว่าอสังหาฯรายเล็ก ซึ่งผู้บริโภคเองก็ให้ความเชื่อมั่นอสังหาฯรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงมีการการันตีจากโครงการหลายๆแห่งมากกว่า ซึ่งทางอสังหาฯรายเล็กเอง บางรายต่างก็ต้องหาทุนเพิ่มและทางออกคือการรวมกิจการกับกลุ่มทุนต่างๆที่มีศักยภาพทางการเงินที่ดีกว่า โดยการควบรวมของกลุ่มสิงห์ในครั้งนี้นั้น ทำให้สิงห์ได้โอกาสในการขยายฐานทางธรุกิจได้มากขึ้น และ ได้เปลี่ยนชื่อจากการควบรวมเป็น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) พร้อมตั้ง บริษัท เอส โฮเทล แมเนจเม้นท์ เป็นบริษัทลูกเพื่อจัดการบริหารธุรกิจโรงแรม ซึ่งกลุ่มสิงห์ได้เข้าสู่ธุรกิจด้านนี้ในนามของบริษัทลูกอย่างสันติบุรี ล่วงหน้าไปแล้ว
โดยบริษัทลูกที่เกิดใหม่ของกลุ่มสิงห์ในกลุ่มอสังหานั้น มีสิงห์พร๊อพเพอร์ตี้ เป็นหุ้นใหญ่ ซึ่งจากการควบรวมกับกลุ่ม รสานั้น สิงห์ทุ่มเงินไปมากกว่า 8 พันล้านจากการเข้าซื้อหุ้น ซึ่งนักวิเคราะห์หลายๆฝ่ายมองว่า เป็นการเอาตัวรอดของอสังหาฯ รายย่อยอีกทาง เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน อัตราความเสี่ยงที่มีมาก และ ปัญหาต่างๆทั้งเศรษฐกิจการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของรายย่อย ดังนั้นรายย่อยจึงเลือกที่จะให้กลุ่มทุนรายใหญ่เข้ามาควบกิจการเพื่อให้บริษัทอยู่รอดไปได้ ไม่ต้องทิ้งโครงการปิดบริษัทหรือลอยแพพนักงาน ซึ่งเป็นทางออกสุดท้ายที่ใครๆก็ไม่อยากทำ ประกอบกับแนวโน้มในการแข่งขันที่สูงขึ้น กลไกตลาดมีความผันผวน ทำให้กลุ่มรสามีการประชุมภายในเพื่อหาทางออกของอนาคตที่การแข่งขันนับวันยิ่งสูงขึ้น และ รายใหญ่ในกลุ่มอสังหาฯก็แข็งแกร่งขึ้นทุกวัน การควบรวมกับกลุ่มสิงห์จึงเป็นทางเลือกที่ทำให้มีการพัฒนาโครงการต่างๆไปได้ด้วยดีกว่าการที่ รสา จะทำเองแล้วเจ็บตัวหรือขาดเงินทุนหมุนเวียน
ทางกลุ่มสิงห์เองก็ได้ควบรวมกิจการอสังหามาก่อนหน้านี้ และ มีโครงการหลายแห่ง ก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าของกลุ่มสิงห์ที่ขยายตัวรุกธุรกิจในหลายๆธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาฯ การเกษตร โรงแรมท่องเที่ยว อาหารญี่ปุ่น ขนมหวาน ข้าวถุง ดนตรี ผลิตไฟฟ้า และอื่นๆ ซึ่ง เกิดจากการเข้าบริหารของทายาทรุ่น 4 ภายใต้การนำของตระกูลภิรมย์ภักดี โดยนายสันติ ภิรมย์ภักดี เป็นหัวเรือใหญ่ที่ทำให้กลุ่มสิงห์เติบโตไปในทุกธุรกิจในประเทศไทย และ ในอนาคตคาดว่าจะมีโครงการใหญ่ๆจากกลุ่มสิงห์ออกมาแน่นอน เพราะนอกจากพันธมิตรในประเทศแล้ว กลุ่มสิงห์ยังผนึกกำลังกับกลุ่มทุนจากแดนปลาดิบอย่าง “มิตซุย ฟูโดซัง (เอเชีย)” มาเป็นพันธมิตรเพื่อรุกอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มที่ และ กำลังจะมีโปรเจคใหญ่สร้าง แลนด์มาร์ค ของกรุงเทพ บนที่ดินเดิมของสถานทูตญี่ปุ่นที่ทางกลุ่มประมูลซื้อมาได้ รับรองได้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
<em>ข่าวและบทความข้างต้นนี้จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการส่งข่าวเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]</em>