เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการปฏิรูป ที่ดิน ส.ป.ก เพื่อเกษตรกรรมฉบับใหม่ สาระสำคัญของการปรับแก้กฎหมายจะมีความแตกต่างจากเดิมคือ จะเป็นครั้งแรกที่ทางส.ป.ก.มีอำนาจในการจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งในอดีตส.ป.ก.จะมีอำนาจจัดการเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเท่านั้น นอกพื้นที่จะไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้
โดยต่อไปประชาชนที่อยู่นอกเขตปฏิรูปที่ดินจะสามารถขายที่ดินให้ส.ป.ก.มาจัดสรรให้เกษตรกรที่ขาดที่ดินทำกินได้ ขณะเดียวกันเรื่องข้อจำกัดในการใช้เงินกองทุนปฏิรูปที่ดินซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในอดีตไม่สามารถใช้เงินกองทุนมาจ่ายชดเชยค่าที่ดินให้เกษตรกรที่ไม่ต้องการทำการเกษตรในพื้นที่ส.ป.ก.ที่ตนเองถือครองได้ แต่กฎหมายใหม่ให้สามารถดำเนินการได้เกษตรกรจึงคืนที่ดินให้ส.ป.ก.แล้วจะมีเงินชดเชยให้ด้วย
การจัด ที่ดิน ส.ป.ก ให้เกษตรกร
การจัดที่ดินในที่ดินของเอกชนนั้น ส.ป.ก. จะจัดซื้อมา มีขนาดเนื้อที่ที่สามารถแบ่งแยกเป็นแปลงใหม่ได้ตามขนาดที่เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ ส.ป.ก.จะรังวัดแบ่งแปลงที่ดินก่อนจึงจัดที่ดินตามขั้นตอนดังนี้
1.คัดเลือกเกษตร โดย ส.ป.ก. จังหวัดจะประกาศให้เกษตกรยื่นคำร้องขอรับการคัดเลือกแต่ถ้าที่ดินจำกัดและในขณะที่ ส.ป.ก.รับโอนกรรมสิทธิ์มามีผู้เช่าที่ดินอยู่แล้ว หรือมีเกษตรกรผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนขอรับที่ดินทำกินจากการปฏิรูปที่ดินไว้แล้ว ส.ป.ก.ก็จะดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรตามระเบียบที่กำหนดโดยไม่ต้องมีการประกาศรับคำร้องอีก
2.จัดเกษตรกรทีได้รับเลือกให้เข้ามาทำประโยชน์ในที่ดินและทำสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับ ส.ป.ก.ตามที่เกษตรต้องการ
โดยค่าเช่าที่เกษตรกรต้องจ่าย คิดในอัตราร้อยละ 3 ของราคาที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้ซื้อมา ส่วนอัตราค่าเช่าซื้อคิดเท่ากับราคาที่ดินที่ ส.ป.ก.ซื้อมารวมกับดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี โดยกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อไว้คือ 5 ปี 10 ปี 12 ปี และ 15 ปี เมื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ดินแล้วจะได้รับโฉนดที่ดิน แต่ยังคงห้ามแบ่งแยก ขาย หรือโอนให้แก่บุคคลอื่น
สำหรับจำนวนที่ดิน ส.ป.ก.จะจัดสรรให้เกษตรกรนั้น ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 ได้กำหนดสิทธิและจัดที่ดินให้แก่บุคคลต่างๆดังนี้
- ไม่เกิน 50 ไร่ ต่อ 1 ครอบครัว สำหรับใช้ประกอบเกษตรกรรม
- มาเกิน 100 ไร่ ต่อ 1 ครอบครัว สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ใหญ่
- ตามจำนวนถือครองแต่ไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับใช้ประกอบเกษตรกรรมและถือครองทำกินในที่ดิน ก่อนปี 2524 โดยในส่วน 50 ไร่ เกษตรกรชำระเพียงค่าธรรมเนียมในการโอนและการรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินส่วนที่เกิน 50 ไร่ เกษตรกรจะต้องชำระค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินในอัตราที่เพิ่มขึ้น
- ไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับประกอบอาชีพอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดิน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อเกษตรกรได้รับเลือก ลงชื่อในหนังสทอรับมอบที่ดินหรือสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจัดให้ โดยมีค่าชดเชยเรียบร้อยแล้ว จะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินนั้นและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
1.ทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มความสามารถ และไม่นำที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนไปให้ผู้อื่นเช่า หากไม่ต้องการจะทำประโยชน์ในที่ดิน ให้ยื่นคำขอสละสิทธิหรือขอโอนสิทธิในที่ดินให้กับคนในครอบครัว โดยสามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ส.ป.ก.จังหวัด)
2.ไม่เปลี่ยนแปลงที่ดินจนทำให้ที่ดินไม่เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม เช่น การขุดดินขาย
3.ไม่ขุดบ่อเพื่อการเกษตรกรรมเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายและต้องไม่ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างใดๆนอกเหนือจากโรงเรือน ยุ้งฉาง ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร หากจะทำให้ยื่นคำอนุญาตต่อ ส.ป.ก.จังหวัดก่อน
4.ดูแลรักษาหมุด หลักฐาน และหลักเขตในที่ดินที่ได้รับมอบไม่ให้เกิดการชำรุดหรือเคลื่อนย้ายไปจากตำแหน่งเดิม
5.ไม่ทำความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างในโครงการปฏิรูปที่ดิน สภาพแวดล้อม หรือความเสียหายต่อการทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรอื่นๆ
6.ปฏิรูปตามมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ค.ป.ก.) และคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ค.ป.จ.)
7.ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก. และตามพันธะกรณีที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่ดำเนินงานร่วมกับ ส.ป.ก. เช่น ตามสัญญากู้ยืมเงินกับ ธ.ก.ส. หรือสัญญาตามโครงการพัฒนาการเกษตรร่วมกับภาคเอกชน
ถ้าหากบุคคลใดที่ฝ่าฝืนไม่ทำตาม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ค.ป.จ.) จะมีคำสั่งให้สิ้นสิทธิและต้องออกจากที่ดิน
สิทธิทำกิน (ส.ท.ก.)
เป็นที่ดินที่กรมป่าใม้ได้ออกหนังสืออนุญาตเกี่ยวกับการใช้ที่ดินหรือการทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ป่าสง่วนแห่งชาติและมติคณรัฐมนตรี ให้แก่ผู้บุกรุงพื้นที่ของกรมป่าไม้บนเนื้อที่ดินขนาด 15 ไร่ ทั้งนี้จะไม่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญตามประมวลกฏหมายที่ดินแก่ผู้ถือสิทธิโดยสิทธิจะตกทอดทางมรกดเท่านั้น
ปัญหาที่ยังเป็นที่สับสนกันอยู่เสมอก็คือ เรื่อง ส.ท.ก. สามารถเปลี่ยนเป็น ส.ป.ก.4-01 ได้ ที่จริงแล้วหนังสือสิทธิทั้งสองนั้นมีข้อแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดย ส.ท.ก.เป็นหนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสง่วนแห่งชาติได้ชั่วคราวออดโดยกรมป่าไม้ ส่วน ส.ป.ก.4-01 เป็นหนังสืออณุญาตทำกินในที่ดินการปฏิรูปที่ดินออกโดย ส.ป.ก. ถ้าจะทำให้เปลี่ยนจาก ส.ท.ก. เปลี่ยนเป็น ส.ป.ก. ได้ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้เท่านั้น
- ที่ดิน ส.ท.ก. ต้องอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน
- ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามระเบียบ ส.ป.ก.
- ต้องทำหนังสือยินยอมสละสิทธิ ส.ท.ก.นั้น
เอกสารสิทธิทำกินที่ออกโดยกรมป่าไม้มีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ ส.ท.ก.1 และ ส.ท.ก.2 แต่ละประเภทมีอายุ 5 ปี ส.ท.ก.หมดอายุไปเมื่อ พ.ศ.2543ปัจจุบันยังไม่ออกใหม่ สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่อนี้คือ กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธ์พืชกระทรวงทรัพยากรฯ
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่