การบังคับคดีล้มละลาย เป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของกรมบังคับคดี โดยเป็นการดำเนินการกระบวนกพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นกระบวนการที่จะดำเนินการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ แล้วนำมาจัดสรรแบ่งส่วนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 บัญญัติไว้ดังนี้ “กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายหมายความว่า กระบวนพิจารณาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด”
การบังคับคดีล้มละลาย แตกต่างจากการบังคับคดีแพ่ง กล่าวคือ
- การบังคับคดีแพ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับคดีกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว
- การบังคับคดีล้มละลาย มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ เพื่อให้เจ้าหนี้ทุกรายได้รับส่วนเฉลี่ยอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องคดี
เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์ คือ เจ้าพนักงานตามกฎหมายล้มละลายที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้หรือบุคคลล้มละลาย และดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้หรือผู้ล้มละลายและหมายความตลอดจนถึงบบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
การฟ้องร้องขอให้ล้มละลายและการสั่งพิทักษ์ทรัพย์
มูลเหตุการฟ้องคดีล้ละลาย (มาตรา 7) ประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ
- ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ ลูกมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน
- กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.1 ลูกหนี้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร
2.2 ลูกหนี้ประกอบธุรกิจในราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเองหรือตัวแทน ในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลาย
2.3 ลูกหนี้เคยมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลา 1 ปีก่อนนั้น
2.4 ลูกหนี้เคยประกอบธุระกิจในราชอาณาจักร ไม่ว่าด้วยตนเองหรือตัวแทน ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อน
หลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลาย (มาตรา 9) เจาหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
- ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
- จำนวนหนี้ที่จะฟ้องขอให้ล้มละลาย
2.1 ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
2.2 ลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท
2.3 หนี้นั้นอาจกำหนดได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลัน หรือในอนาคตก็ตาม
หลักเกณฑ์การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน (มาตรา 10) ภายใต้ข้อบังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
- มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
- กล่าวให้ฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกัน เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่ สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นคนธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ซึ่งลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (มาตรา 17)
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น เป็นวิธีการป้องกันมิให้ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชัวคราวมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจยึดและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ยังไม่ทำกานขาย และในชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น จะไม่มีการประกาศให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (มาตรา 14)
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลว่าเป็นไปตามที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หากจะเทียบกับคดีแพ่งธรรมดาก็คือการพิพากษาให้โจทย์ชนะคดี แต่ในคดีล้มละลายนั้น เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ได้ฟ้องมาว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท แล้วแต่กรณี แล้วหนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และศาลพิจารณาแล้วว่าไม่มีเหตุที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น จะมีผลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- ผลต่อเจ้านักงานพิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 22)
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอำนาจดังต่อไปนี้
1.1 จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ข้างอยู่เสร็จสิ้นไป
1.2 เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกแก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากบุคคลอื่น
1.3 ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
- ผลต่อลูกหนี้ (มาตรา 24)
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ เว้นแต่จะได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือ ที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย 2483
- ผลต่อเจ้าหนี้
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ขาดแล้ว
3.1 โจทย์จะฟ้องร้องเป็นบังคับคดีแพ่งได้เฉพาะหนี้ที่ไม่อาจ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ กฎหมายห้ามเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ผู้ล้มละลายเฉพาะหนี้เงินเท่านั้น ส่วนหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำ งดเว้นการกระทำหรือส่งมอบหมายทรัพย์สินอื่น ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ กฎหมายล้มละลายมิได้ห้ามมิให้ฟ้อง
3.2 ส่วนหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์และเจ้าหนี้อื่นจะต้องนำมายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษนาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
- ผลต่อบุคคลภายนอก
ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ลูกหนี้อาจมีสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอก ซึ่งเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมสิทธิเรียกร้องเหล่านี้เข้ากองทรัพย์สิน โดยวิธีการทวงหนี้ตามวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 118 และ มาตรา 119 แต่ถ้าหากลูกหนี้มีทั้งสิทธิเรียกร้อง และขณะเดียวกับลูกหนี้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในลักษณะต่างๆตอบแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจที่จะไม่ยอมรับหรือปฏเสธสิทธิตามสัญญานั้น ได้ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบเหตุที่จะปฏิเสธตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 122 นอกจากนี้บุคคลที่ได้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้อาจเพิกถอนการทำนิติกรรมนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 มาตรา 114 และมาตรา 115
การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การประกาศแจ้งคำสั่ง และคำพิพากษาของศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ไม่ว่าเป็นกรณีพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาด ศาลจะส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานจะต้องประกาศแจ้งคำสั่งนั้น เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้และลูกหนี้ทราบว่าอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ได้มาอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการกำหรดให้บรรดาเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องมายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งในการประกาศแจ้งคำสั่งดังกล่าวนั้น ต้องส่งไปลประกาศในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์ ตลอดจนการออกหมายนัดให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์มาวางเงินประกันค่าใช้จ่ายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การออกหมายเรียกลูกหนี้มาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลาย หรือเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ หรือการปลดล้มละลาย หรือการยกเลิกล้มละลายเหล่าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องประกาศแจ้งเช่นเดียวกัน
การสอบสวนลูกหนี้ (มาตาร 30, มาตรา 117)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ต้องสอบสวนลูกหนี้ เพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายเพียงใด มีหนี้สิน ทรัพย์สินเพียงใด มีสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกอย่างไรบ้าง ตลอดจยเหตุที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย นอกจากนี้ยังต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำการสอบสวน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงและเป็นประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ นอกจากนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ต้องช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้อีกทางนึงด้วย
การตรวจคำขอรับชำระหนี้ (มาตรา 104)
เมื่อครบกำหนดยื่นคำขอชำระหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งให้บรรดาเจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้และลูกหนี้มาตรวจคำขอรับชำระหนี้ของบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ได้ยื่นไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้แจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าในคดีนั้นที่เจ้าหนี้มาขอรับชำระหนี้ทั้งหมดกี่ราย เป็นใครบ้าง เป็นหนี้ออะไร และขอรับชำระหนี้จำนวนเท่าใด อีกประการหนึ่ง ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายใดได้บ้างหรือไม่ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเวลาให้ทำคำโต้แย้งเข้ามา
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่