หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา การบังคับคดีล้มละลาย ให้ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้อาจจะหลุดพ้นจากการล้มละลายได้วิธีหนึ่ง คือ โดยการปลดจากล้มละลายอันเป็นกระบวนการในคดีล้มละลายที่กำหนดเฉพาะตัวลูกหนี้ให้หลุดพ้นจากล้มละลายไป แต่บรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของลูกหนี้ ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายนั้น จะต้องอยู่ภายใต้การบังคับจัดการและจำหน่าย เพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไป
การบังคับคดีล้มละลาย ให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลาย
การปลดล้มละลาย ตามกฎหมายล้มละลายของไทยในปัจจุบันนี้ มีอยู่ 2 กรณี คือ
- ศาลมีคำสั่งปลดล้มละลาย (มาตรา 71)
- ปลดจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย หรือพ้นกำหนดระยะเวลา (มาตรา 81/1) คือ บุคคลธรรมดา ซึ่งศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ให้ปลดบุคคลนั้นจากล้มละลายทันที ที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย
อำนาจในการสั่งคำขอปลดจากล้มละลาย
มาตรา 71 “ให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า
- ได้แบ่งทรัพย์สินชำระให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้วไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบและ
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
หลักเกณฑ์การขอให้ศาลสั่งปลดจากล้มละลาย
- ศาลต้องพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว คือ ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว หากลูกหนี้เพียงแต่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลายไม่ได้
- บุคคลล้มละลายเป็นผู้ขอโดยยื่นคำขอเป็นคำร้อง เฉพาะบุคคลล้มละลายเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าหนี้หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นไม่มีสิทธิขอ
- ในการยื่นคำขอต้องวางเงินประกันค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักทรัพย์เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 บาท
ซึ่งเมื่อศาลได้รับคำขอของบุคคลล้มละลายแล้ว ศาลต้องกำหนดวันนั่งพิจารณาคำขอโดยต้องมีเวลาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีเวลาแจ้งให้บุคคลล้มละลายและเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 14 วันและให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ
บุคคลล้มละลายต้องไปศาลในวันนั่งพิจารณา หากบุคคลล้มละลายไม่ไปศาลในวันดังกล่าวโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลอาจสั่งจำหน่ายคำขอของบุคคลล้มละลายเสียได้ ส่วนเจ้าหนี้จะไปหรือไม่ไปก็ได้
การปิดคดี (มาตรา 133)
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ จำเลย เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว หากปรากฎว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ และไม่มีกิจการและทรัพย์สินหรืองานค้างปฏิบัติ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการรวบรวม จำหน่าย และแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้เสร็จแล้ว และไม่มีกิจการใดที่ต้งปฎิบัติต่อไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำดำเนินการรายงานเพื่อขอให้ศาบสั่งปิดคดี
*คำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่างๆไว้ ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุดลง
การยกเลิกการล้มละลาย (มาตรา 135)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการเพื่อขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มลพลายของลูกหนี้ เมื่อปรากฎเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
- เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้ผล เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ไม่ช่วยหรือยอมเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายหรือวางเงินประกันตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องและไม่มีเจ้าหนี้อื่นสามารถและเต็มใจกระทำการดังกล่าวแล้ว ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ได้ทำการขัดขืนหรือละเลย
- ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย เช่น กรณีล้มละลายไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ หรือเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ทุกราย และไม่มีเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เหลืออยู่อีก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็ชอบที่จะรายงานศาล ขอให้มีคำสังยกเลิกการล้มละลาย
- หนี้สินของบุคคลล้มละลาย ได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ถ้าลูกหนี้ประฏิเสธหนี้สินรายใด แต่ลูกหนี้ยอมทำสัญญาและให้ประกันต่อศาลว่า จะใช้เงินให้เต็มจำนวนกับค่าธรรมเนียมด้วยก็ดี แต่ถ้าหาตัวเจ้าหนี้ไม่พบ แต่ลูกหนี้ได้นำเงินเต็มจำนวนมาวางต่อศาลก็ดี ให้ถือว่าหนี้สินรายนั้นได้ทำการชำระเต็มจำนวนแล้ว
- เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แบ่งทรัพย์ครั้งที่สุด หรือไม่มีทรัพย์สินแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ แล้วต่อแต่นั้นมาภายในกำหนดเวลาสิบปี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้อีก และไม่มีเจ้าหนี้มาขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการรวบรวมทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย
เมื่อมีการยกเลิกการล้มละลายแล้วลูกหนี้มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามเหตุข้อ 1 หรือข้อ 2 ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด
ได้รับความเสียหายจากการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ว่าท่านจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ท่านสารมารถยื่นคำร้องขอคัดค้านต่อศาล เพื่อวินิฉัยได้ภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบการกระทำหรือวินิจฉัยนั้น
ลูกหนี้ล้มละลายต้องเดินทางไปต่างประเทศ
เงื่อนไขในการปฎิบัติ มีดังนี้
- ไปให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามหมายเรียก
- ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตลอดจนให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมทรัพย์สินต่างๆ
ขั้นตอนวิธีปฎิบัติ มีดังนี้
- ยื่นคำร้อง (ตามแบบฟอร์ม)ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แสดงเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกนอกประเทศ โดยแจ้งรายละเอียดว่าจะไปประเทศใด ในเวลาใด ไปทำอะไร กำหนดกลับเมื่อใด และค่าใช้จ่ายใครเป็นผู้ออกให้
- เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะพิจารณาดำเนินการตามข้อ 1 ข้อ 2 และคำสั่งอนุญาต
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่