รัก 10 ปีก็ไม่ช่วยอะไร เมื่อคบซ้อนจนต้องเลิกลา แต่มีชื่อกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันจะทำยังไง !?

กู้ร่วมซื้อบ้าน

การ กู้ร่วมซื้อบ้าน ถือว่าเป็นอีกช่องทางนึงที่จะทำให้คนที่ฝันอยากจะมีบ้านดีๆซักหลังเป็นจริง โดยเฉพาะการกู้ร่วมกับคู่รักที่ฝันอยากจะมีบ้านร่วมกัน แต่หากกู้ร่วมไปแล้ว ในอนาคตพบว่าคู่รักของเราไม่ได้คบเราแค่เพียงคนเดียว อาจจะคบซ้อนกับใครมาก่อนแล้วเกือบ 14 ปี จนต้องเป็นอันทำให้เลิกลากันไป บ้านที่กู้ร่วมกันอยู่ สามารถถอนชื่อตนออกจากการกู้ร่วมได้ไหม ไปดูกัน

 

จะถอนชื่อผู้ กู้ร่วมซื้อบ้าน ออกได้ไหม ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว และกำลังจะหย่ากัน

ในกรณีนี้ลำดับแรกเลยคือต้องทำการเรียกทั้งสองฝ่ายมาทำการตกลงไกล่เกลี่ยว่าใครจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบผ่อนต่อ หรือถอนชื่อออกจากการกู้ร่วม โดยผู้กู้ร่วมที่จดทะเบียนสมรสร่วมกัน กำลังจะขอหย่าและแบ่งกรรมสิทธิ์เพื่อขอผ่อนชำระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ชัดเจน ให้ทำการถอนชื่อผู้ที่ไม่ได้ทำการผ่อนชำระออกจากกรรมสิทธิ์โฉนด แต่ตามความเป็นจริงแล้วหากได้ทำการจดทะเบียนสมรสกันไป ทั้งคู่จะมีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละครึ่ง ตามกฎหมายอาจจะให้เป็นการจ่ายเงินแทนก็ได้ จากนั้นให้นำใบหย่าไปขอถอนชื่อกู้ร่วมจากแบงก์ แบงก์จะพิจารณาเงินรายได้ของผู้ขอกู้และหลักทรัพย์ปัจจุบันว่าพอไหมที่จะกู้คนเดียวได้

 

คบกันแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

เช่นเดียวกันการกู้ร่วมกันกับคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกัน และมีชื่อในโฉนดร่วมกันกับบ้านและที่ดิน เมื่อเลิกกันแล้วและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ใช่สามีภรรยาตามกฎหมาย โดยตามกฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นเจ้าของร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1357 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน แต่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้น  ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ดังนั้นผู้ที่จะผ่อนต่อและร้องขอสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว สามารถฟ้องร้องต่อศาลเรียกร้องความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้าน โดยนำสือบว่าเป็นเป็นผู้ชำระแต่เพียงผู้เดียว โดยอดีตคู่รักเป็นเพียงผู้มีชื่อกู้ร่วม แต่ไม่มีส่วนในการชำระต่อหนี้เงินกู้บ้านนั้นๆ

หากทุกอย่างลงตัวก็ทำการนัดหมายกันเพื่อไปที่กรมที่ดินเพื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อเลย ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเดิม ต่อด้วย ทำเรื่องจะซื้อจะขายระหว่างกันมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 5% ของราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และทำการไถ่ถอนจากธนาคารเดิมเสียก่อนจึงจะทำการจดจำนองใหม่กับธนาคารใหม่ได้ โดยจะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 1% ของเงินที่ขอกู้ธนาคาร

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก