การกู้ยืมถือเป็นปัจจัยหลักในการลงทุนหลายๆอย่างบ้านและที่ดินก็เช่นกันเพราะมีราคาที่สูงมาก ถ้าคิดจะเก็บเงินสดละก็คงต้องแก่ชราก่อนแน่เลยและถ้าถึงตอนนั้นบ้านและที่ดินก็คงถูกคนอื่นชิงซื้อไปก่อนหรือไม่ก็ราคาของบ้านและที่ดินก็สูงขึ้นไปอีกจนต้องทำให้เราต้องเก็บตังเพิ่มขึ้นจากที่ตั้งเป้าไว้อีก ดังนั้นการ กู้เงินเพื่อลงทุน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่เราต้องการ
เทคนิคการ กู้เงินเพื่อลงทุน มาทำกำไรให้กับตัวเองจากการลงทุน
ก็คือการยืมเงินคนอื่นมาลงทุนเพื่อทำกำไรและปลดหนีไปในตัว กล่าวคือเราจะเอาสิ่งที่เราลงทุนไปนั้นมาทำให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด เช่น กู้เงินซื้อบ้านเพื่อมาปล่อยเช่าระยะยาว โดยจะตั้งราคาให้สูงกว่าราคาเงินกู้ที่เราจะต้องจ่ายทุกๆเดือน เพื่อที่เราจะได้ทั้งเงินที่จะคืนผู้ให้กู้และกำไรไปในตัว ถือเป็นการหารายได้เพิ่มไปในตัวนั่นเอง แต่การกู้เงินต่างๆก็ต้องมาพร้อมดอกเบี้ยจริงไหมละครับ? แต่ถ้าเราจ่ายเงินต้นไปเรื่อยๆครบทุกเดือนดอกเบี้ยที่กู้มาก็จะลดลงตามไปด้วย
กรณีที่ไม่ควรกู้ยืมเงิน
ตัวอย่างก็คือ เราซื้อบ้านมาในราคา 400,000 บาท ถ้าผ่านไป 1 ปี ราคาของบ้านเพิ่มขึ้นมาแค่ 20,000 บาท ก็มองว่าไม่คุ้มนะครับเพราะการกู้ยืมจะมีดอกเบี้ยที่สูงถ้ากู้ยืมมาเพื่อเกรงกำไรในอนาคตแล้วละก็ อย่าน้อยราคาในอนาคตต้อง 100,000 บาท ขึ้นไปถึงจะน่ากู้มาเกรงกำไรครับ
ความเสี่ยงที่กู้ยืมเงินมากเกินไป
เนื่องจากผลตอบแทนจากราคาบ้านและที่ดินกับอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมมีการปลี่ยนแปลงตลอด จึงทำให้ในอนาคตราคาบ้านและที่ดินที่เราซื้อไว้จากการกูจะราคาตก ถ้าเรากู้มากเกินไปเพื่อที่จะซื้อบ้านและที่ดินในระแวนกัน นั้นก็หมายถึงการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเราไปด้วย
ถึงความเสี่ยงในการขายบ้านและที่ดินในอนาคตเราจะไม่รู้ แต่เราก็มีวิธีการจัดการกับความเสี่ยงนั้นอยู่นะครับ เรามาดู 6 วิธีช่วยลดความเสี่ยงในอนาคตกันครับ
1.ให้เราต่อรองราคาซื้อขายบ้านและที่ดินที่เราจะซื้อให้ต่ำที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนี้
2.เลือกซื้อบ้านและที่ดินที่คิดว่าเราสามารถแต่งเติมเพื่อทำกำไร
3.ให้เราซื้อบ้านและที่ดินที่มีราคาเช่าต่ำกว่าราคาตลาด เพราะในอนาคต ราคาสามารถตีตื้นเท่ากับราคาตลาดได้
4.เลือกเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้นต่ำหรือดอกเบี้ยคงที่
5.ให้เราซื้อบ้านและที่ดินในพื้นที่ที่กำลังฟื้นฟูเพราะในอนาคตจะสามารถเพิ่มกำไรให้เราได้
สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและที่ดิน
ปัจจุบันนี้สถาบันการเงินของเรามีแข่งขันการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้านและที่ดินกันอย่างคึกคัก โดยลักษณะของสินเชื่อกู้ยืมซื้บ้านและที่ดินนั้นจะมีระยะเวลากู้ที่ค่อยข้างยาว อาจจะ 10-20 ปี โดยเราจะต้องนำบ้านที่เราจะซื้อนั้นมาป็นหลักประกันในการกู้ยืมและจำนวนเงินกู้จะขึ้นอยู่กับมูลค่าของบ้านและที่ดินที่เราจะซื้อนั้นเอง
สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและที่ดินนี้จะมีกลักษณะเด่นอีกอย่างคือ เราจะผ่อนชำระเท่าๆกันทุกเดือน ทั้งเงินต้นทั้งดอกเบี้ย ยิ่งผ่อนนานเท่าไหร่ เงินต้นกับดอกเบี้ยก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
เงื่อนไขการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะมีด้วยกันอยู่หลายข้อ ดังต่อไปนี้
- วัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ ต้องซื้อให้ตังเอง
- คุณสมบัติของผู้ที่จะขอสินเชื่อ แต่ละสถาบัญแต่หลักๆแล้วจะมี
-เป็นบุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
-ไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน
-มีรายได้ที่แน่นอน
-อายุของผู้กู้รวมกับระยะเวลาการผ่อนชำระแล้วไม่เกิน 60 ปี สำหรับคนที่มีรายได้ประจำ และ 65 ปี สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ
-กู้ร่วมจะต้องเป็นญาติ (ยกเว้นคู่สมรสที่ยังไม่จดทะเบียน)
-ต้องใช้เพื่ออยู่อ่าศัย
วงเงินให้ยืม
-ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน,ทาวน์เฮ้าส์,ทาวน์เฮ้าส์,อาคารพาณิชย์,อาคารชุด ให้กู้ได้ 80% ของราคาที่ประเมินได้
-ซื้อเพื่อปลูกบ้านบนที่ดินของตัวเอง กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาที่ประเมินได้ แต่ไม่เกิน 80% ของราคาที่ประเมินที่ดินรวมกับสิ่งปลูกสร้าง
-ซื้อเพื่อปรับปรุง สามารถกู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมินส่วนปรับปรุง แต่ไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน และไม่เกิน 1 ล้านบาท
-ซื้อที่ดินสำหรับปลูกบ้านด้วยตัวเอง สามารถกู้ได้ไม่เกิน 8% ของราคาประเมินและไม่เกิน 2 ล้านบาท ในเนื้อที่ไม่เกิน 3 ไร่
-รีไฟแนนซ์ กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมินใหม่
ทำเลที่ตั้งหลักประกัน
-ตั้งที่ในเขตชุมชน หรือย่านที่อยู่อาศัย หรือในโครงการบ้านจัดสรรที่ได้รับอนุญาต
-ติดถนนใหญ่หรือซอย รถยนต์เข้าได้สะดวก
-สาธารณูปโภคพร้อม
-ไม่อยู่ในแหล่งนำท่วมซ้ำซาก
-ไม่อยู่ในแหล่งที่เสื่อมโทรม
-ต้องทำจำนองหลักประกันและทำประกันอัคคีภัยสิ่งปลูกสร้าง ให้ธนาคารเป็นผู้รับผลประโยชน์
เงื่อนไขการผ่อนชำระ
จะต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ทั้งหมดโดย +2% ของอัตราดอกเบี้ย มีระยะการผ่อนสูงสุดดังนี้
-บ้านพร้อมที่ดิน,ทาวน์เฮ้าส์,ปลูกบ้าเพื่อพักอาศัย,รีไฟแนนซ์ ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี
-อาคารชุด ผ่อนไม่เกิน 20 ปี
-ที่ดินพร้อมบ้าน ผ่อนไม่เกิน 30 ปี
-ที่ดินเปล่าสำหรับสร้างบ้าน ผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี
-อาคารพาณิชย์ ผ่อนไม่เกิน 15 ปี
-เพื่อปรับปรุง ผ่อนไม่เกิน 10 ปี
ดอกเบี้ย สถาบัญการเงินจะนำข้อเสนอมาให้ลูกค้าสำหรับเงินกู้นั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 6 แบบ คือ
1.ดอกเบี้ยลอยตัว สามารถปรับขึ้นตงไปอิสระตามสภาวะตลาด
2.ดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาในการกู้
3.ดอกเบี้ยคงที่ระยะสั่นช่วงแรก คือช่วงแรกสถาบันการเงินเท่าไหร่ก็จะเท่านั้นตลอดโดยจะระบุว่าวันเวลาที่จะเปลี่ยนมาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
4.ดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่งและปรับเป็นคนงที่ใหม่ทุกรอบเวลา
5.ดอกเบี้ยระยะสั่นแบบขั้นบันได คือดอกเบี้ยจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆแต่ไม่ได้ปรับขึ้นบ่อยนัก
6.ดอกเบี้ยลอยตัวในเขตที่ระบุไว้ คือถ้าระบุไว้ว่า ดอกเบี้ยไม่เกิน 10% พอถึง 10% ก็จะ 10% ตลอดอายุสินเชื่อ
เอกสารสำคัญประกอบคำขอกู้
1.เอกสารส่วนตัว (ทั้งผู้กู้,ผู้ร่วมกู้,คู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน)
-บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
-ทะเบียนบ้าน
-ทะเบียนสมรส หรือใบหย่า (กรณีไม่จดทะเบียนสมรส) หรือใบเปลี่ยนชื่อนามสกุล หรือใบมรณบัตร (ถ้ามี)
2.เอกสารแสดงฐานะการเงิน (ทั้งผู้กู้,ผู้ร่วมกู้)
-บัญชีเงินฝากหรือ สเตทเม้นย้อนหลัง 6 เดือน
-ต้นฉบับหนังสือรับรองเงินเข้า หรือต้นฉบับใบรับแจ้งเงินเดือนล่าสุด
-ทะเบียนการค้า/หนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์ (ธุรกิจส่วนตัว)
3.เอกสารหลักทรัพย์
-โฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า
-สัญญาจะซื้อขาย
-หลักฐานการชำระเงินดาวน์ หรือเงินมัดจำ (ถ้ามี)
เอกสารเพิ่มเติม
1.เพื่อปลูกสร้างหรือปรับปรุง
-แบบแปลนการก่อสร้าง
-สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
-ใบอนุญาตก่อสร้าง
2.เพื่อชำระหนี้เดิม
-สัญญากู้เดิม
-สัญญาจำนองเดิม
-หลักฐานการผ่อนชำระเงินกู้เดิม หรือ สเตทเม้นย้อนหลังการผ่อนชำระย้อนหลัง 1 ปี
กู้เงินซื้อบ้าน มีขั้นตอนอะไรบ้าง
1.ติดต่อฝ่ายสินเชื่อบ้านหรือสินเชือเคหของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ต้องการจะขอสินเชื่อ
2.ขอแบบฟอร์ม เพื่อแสดงความจำนงว่าจะกู้ พร้อมนำหลักฐานยื่นปรพกอบการขอกู้ให้ครบ หลังจากยิ่นกู้แล้ว จะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกัน
3.เมื่อยื่นกู้แล้วสถาบันการเงินที่เราจะไปยื่นกู้นั้นจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและประเมินราคาหลักประกัน อาจจะใช้เวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับสถานบันการเงินนั้นๆ
4.หลังจากนั้นสถาบันการเงินที่เราไปยื่นกู้จะพิจารณาคุณสมบัติของเราว่าสามารถผ่อนชำระในอัตราที่กำหนดได้หรือไม่ และจะแจ้งผลให้ทราบอีกระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับสถานบันการเงินนั้นๆ
5.เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วผู้กู้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อมาลงนามในสัญญาเงินกู้และสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันทำนิติกรรมจำนองที่สำนักงานที่ดิน
6.ในวันโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองที่สำนักงานที่ดิน ผู้กู้ ผู้ขาย และเจ้าที่จากสถาบัญการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดินที่หลักทรัพย์ตั้งอยู่ ผู้กูจะต้องเตรียมเงินค่าจดทะเบียนจพนองร้อยละ 1 ของวงเงินกู้และจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ร้อยละ 2 ของราคาประเมินที่ดิน และค่าอากรแสตมป์นิติกรรมร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินของกรมที่ดินซึ่งโดยปกติผู้ขายจะเป็นผู้จ่ายเว้นแต่ว่าจะมีการตกลงอย่างอื่นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
7.เมื่อเสร็จทุกขั้นตอนแล้ว เจ้าหน้าที่จะจ่ายเงินกู้ให้ เพื่อให้ผู้กู้จ่ายเงินคงเหลือให้กับผู้ขาย แล้วผู้กู้ก็จะต้องมาผ่อนชำระตามที่สัญญาระบุไว้ทุกๆเดือน
ค่าใช้จ่ายต่างๆกับการขอสินเชื่อ มีอยู่ 6 แบบคือ
1.ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอสินเชื่อหรือขอกู้ หรือก็คือค่าธรรมเนียมในการเตรียมสินเชื่อนั้นเอง โดยแต่ละสถาบันการเงินก็จะเรียกเก็บในอัตราที่ต่างกันออกไป ตามปกติจะจัดเก็บประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้
2.ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน หมายถึง เราซื้อ อสังหาริมทรัพย์มาแล้วไปจำนองกับสถาบันการเงินที่เรากู้ เพื่อเป็นหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ โดยจะขึ้นอยู่กับ ราคาของหลักทรัพย์และวงเงินที่จะกู้
3.ค่าธรรมเนียมจำนองของสำนักงานที่ดิน จะต้องชำระให้กับกรมที่ดิน ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้หรือมูลค่าการจดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
4.ค่าประกันอัคคีภัย เนื่องจากธนาคารจะกำหนดให้บ้านที่ขอกู้ทุกหลังจะต้องทำประกันอัคคีภัย โดยยกประโยชน์ให้กับธนาคาร ประมาณ 2,000 บาท สำหรับบ้าน 1 ล้านบาท
5.ค่าอากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.05% ของวงเงินกู้หรือทุกๆ 2,000 บาทของเงินกู้ เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
6.ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด แต่ละสถาบันก็จะเรียกเก็บในอัตรที่แตกต่างกันออกไป
การรีไฟแนนซ์
คือการขอกู้ใหม่เพื่อไปใช้ให้กับเงินกู้เก่า โดยการย้ายการจำนองหนี้จากสถาบัญเดิมไปสถาบันใหม่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระรายเดือน
ข้อแนะนำเลือกสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการรีไฟแนนซ์
1.ควรเลือกกสถาบันที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการชำระเงินกู้คืนก่อนกำหนด ในอัตราที่ต่ำหรือไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเลย เพื่อให้ต้นทุนเงินกู้ลดลง และจะช่วยให้ผู้กู้คล่องตัวในการทำรีไฟแนนซ์อีกด้วย
2.ควรเลือกสถาบัญการเงินที่เก็บดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำหรือดอกเบี้ยคงที่
3.ควรเลือกสถาบัญที่เก็บค่าธรรมเนียมในการประเมินราคาหลักประกันในอัตรที่ต่ำ
4.ควรเลือกสถาบันการเงินที่ได้ร่วมมือกับเจ้าขอโครงการที่เราต้องการที่จะกู้ยืมเงิน เพราะส่วนใหญ่สถานบัญการเงินจะเสนอ ดอกเบี้ย 0% ให้กับเราในระยะเวลาหนึ่ง
5.ควรเลือกสถาบันการเงินที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการยื่นขอสินเชื่อหรือขอกูในอัตตรที่ต่ำ
6.ควรเลือกสถาบันการเงินที่เรียกเก็บค่าประกันอัคคีภัยในอัตราที่ต่ำ
7.ความเลือกสถาบันการเงินที่ให้วงเงินสูงและมีระยะเวลาในการผ่อนชำระที่นาน
8.ความเลือกสถาบันการเงินที่ให้ราคาประเมินหลักประกันที่สูงเพราะมีผลกับเงินกู้ที่จะขอกู้นั้นเอง
9.ควรเลือกสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง
10.ทำ รีไฟแนนซ์กับสถาบัญการเงินที่กู้อยู่สามารลดค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง 1% ของเงินกู้ได้
11.การทำ รีไฟแนนซ์ กับสถาบันการเงินใหม่ควรเลือกสถาบันการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินเดิม
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่