อย่างที่ท่านรู้กันว่าการ ขายฝาก คือการนำทรัพย์ไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยที่ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้รับซื้อทันที แต่ยังเปิดโอกาศให้กับผู้ขายฝากนั้นสามารถซื้อทรัพย์สินของตนคืนได้ แล้วหากท่านต้องการที่จะขยายระยะเวลาสัญญาในการขายฝากไปอีกละ จะสามารถทำได้ไหม ครั้งนี้เราจึงจะมาขออธิบายถึงข้อกฎหมายในการกำหนดยืดระยะเวลาสัญญาขายฝากกัน ว่าสามารถทำได้ไหมอย่างไร
ข้อกฎหมายที่นำมาใช้กับการขยายระยะเวลา ขายฝาก
เราต้องพูดเกริ่นกันไปก่อนถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494 เสียก่อน โดยบอกว่า ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
(2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย
จึงจะสอดคล้องกับ มาตรา 496 กำหนดเวลาไถ่นั้น อาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมด ถ้าเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา 494
การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือถ้าจะให้สรุปเลยก็คือ สามารถขยายระยะเวลาสัญญญาในการขายฝากได้ ตามที่ตกลงกับผู้รับไถ่ไว้แล้ว แต่ก็ต้องไม่เกินระยะเวลา 10 ปี ตามที่มาครา 494 ได้กำหนดไว้ สำหรับทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน โดยทุกขั้นตอนในการขอขยายระยะเวลาในการไถ่สินทรัพย์นั้น จะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานด้วย
ขายฝาก ในอสังหาริมทรัพย์คืออะไร และเงื่อนไขต่างๆแบบเข้าใจง่าย