DotProperty.co.th

ขายฝาก ในอสังหาริมทรัพย์คืออะไร และเงื่อนไขต่างๆแบบเข้าใจง่าย

ในการนำทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ในการชำระหนี้หรือกู้ยืมเงินนั้น นอกจากการนำไป จำนอง แล้ว ก็ยังมีอีกวิธีนึงที่จะทำให้ได้เงินกู้นั้นมา นั้นก็คือการ ขายฝาก แล้วการขายฝากคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร แล้วจริงหรือที่การขายฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น เรายังสามารถที่จะได้มันคืนหากทำตามสัญญาและระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักและหาคำตอบกัน

ขายฝาก คืออะไร?

การทำสัญญาขายฝาก ในอสังหาริมทรัพย์จัดว่าเป็นนิติกรรมการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ที่จะนำทรัพย์ไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยที่ทรัพย์นั้นจะเป็นของผู้รับซื้อทันที แต่ก็ได้เปิดโอกาศให้ผู้ขายทรัพย์ได้มีโอกาศในการซื้อทรัพย์สินของตนกลับไป โดยจะมีเงื่อนไขกำหนดไว้ พูดง่ายๆให้เข้าใจแบบภาษาบ้านๆ ก็คงจะคล้ายกับการ “จำนำ” นั้นแหละครับ

 

ตัวอย่างแบบเข้าใจง่ายของการ ขายฝาก

นายป้อม ได้ทำการเอาที่ดินของตนไปขายฝากไว้กับ นายตู่ หลังจากทำการขายฝากเสร็จสิ้น ที่ดินนั้นของ นายป้อม จะตกเป็นของ นายตู่ โดยทันที แต่นายป้อมเองยังมีสิทธิ์ซื้อที่ดินนั้นคืนได้ ภายใต้กำหนดระยะเวลาเท่าไหร่ก็ว่ากันไปตามสัญญาที่ทำไว้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระยะเวลาจะต้องไม่เกิน 10 ปี ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ หากครบกำหนดเวลาแล้ว นายป้อม ยังไม่มีการซื้อคืน ที่ดินผืนนั้นจะตกเป็นของ นายตู่ โดยสมบูรณ์

 

ค่าจดทะเบียน

สำหรับการขายฝากแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายยิบย่อยค่อนข้างจะเยอะ และภาระค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกเป็นของผู้ ขายฝาก โดยจะมีการเสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินทั้งหมด และต้องทำการชำระภาษีเงินได้  ณ ที่จ่ายเลย รวมไปถึงค่าอากรณ์แสตมป์ที่กฎหมายกำหนดด้วย

 

ข้อสังเกตุสำหรับ การขายฝาก

สำหรับผู้รับซื้อ จะได้โยชน์จาก การที่ทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อโดยตรงหากผิดนัดสัญญา ไม่ต้องฟ้องร้องทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้ขายฝาก หากเห็นว่าตนนั้นไม่สามารถซื้อคืนภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปีได้ สามารถทำการตกลงกับผู้รับซื้อได้ในการขอเพิ่มกำหนดระยะเวลา หากเพียงแต่ผู้รับซื้อนั้นจะยินยอมหรือไม่ และต้องทำสัญญาใหม่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่เท่านั้น และท้ายที่สุดแล้วจำนวนเงินที่เป็นสินไถ่ จะมีราคาสูงกว่าราคาขายฝากและผลตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้

 

เพิ่มเติม ถึงแม้ว่าการขายฝาก ทรัพย์ส่วนนั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อเลยก็ตาม แต่ในระยะเวลาที่ทำสัญญาขายฝากกัน ผู้รับซื้อฝากจะยังไม่สามารถนำทรัพย์นั้นไปทำการ จำนอง อีกทอดนึง หรือนำไปทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลา อันจะทำให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของผู้รับซื้อโดยสมบูรณ์

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …