ครอบครองปรปักษ์: ซื้อเก็บไม่ได้ใช้ อาจจะได้เสียใจในภายหลัง

สิ่งหนึ่งที่ดูจะเป็นเรื่องที่แปลกจนน่าเหลือเชื่อที่สุดในข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในโลกแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้น คือการที่สิทธิ์ในที่ดินของผู้ครอบครอง ต้องถูกเปลี่ยนมือโดยไม่ได้ยินยอม จากผู้ที่เข้าไปอยู่อาศัยและทำมาหากินในพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัว และแม้ว่าจะมีเอกสารหลักฐานและโฉนดถูกต้อง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้เมื่อศาลตัดสินไปในอีกทาง อันที่จริง เรื่องราวเหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่หรือไม่มีในแง่กฏหมายอสังหาริมทรัพย์ เพราะมันถูกบัญญัติเอาไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตร ๑๓๘๒ ภายใต้ชื่อ ‘การครอบครองปรปักษ์’ ซึ่งได้ระบุเอาไว้ว่า

“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่า บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

แน่นอนว่านิยามของมันดูพิสดารและอาจจะถึงขั้น ‘ไม่ชอบธรรม’ เอามากๆ แต่ในแง่หนึ่ง สิทธิ์ในการครอบครองปรปักษ์นั้นจะเกิดขึ้น ตามเงื่อนไขหกประการดังต่อไปนี้

Credits : komfai-law.blogspot.com

-ครอบครอง

-ทรัพย์สินของผู้อื่น

-โดยสงบ

-โดยเปิดเผย
-ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ

-ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกัน 10 ปี หรือสังหาริมทรัพย์ 5 ปีหมายถึง กิริยายึดถือทรัพย์สิน เช่น เข้าทำประโยชน์ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในเรือกสวนไร่นา ถือได้ว่าครอบครองเรือกสวนไร่นานั้นแล้ว เป็นต้น
หมายถึง ทรัพย์สินที่เจ้าของมีกรรมสิทธิ์อยู่ ในกรณีที่ดินจะต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนดหรือตราจองเท่านั้น
คือ การครอบครองโดยปราศจากการข่มขู่ การใช้กำลัง การหลอกลวง และไม่มีใครมาหวงห้ามกีดกัน แสดงความเป็นเจ้าของ หรือการฟ้องร้องขับไล่
คือ การครอบครองโดยมิได้หลบซ่อนเร้นปิดบัง หรืออำพรางใดๆ
คือ การครอบครองโดยเจตนาตั้งใจที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่การครอบครองแทนผู้อื่น
ซึ่งความหมายของ ‘อสังหาริมทรัพย์’ โดยทั่วๆ ไป หมายถึงที่ดิน รวมทั้งทรัพย์ทิ่ติดกับที่ดิน เช่น ตึกรามบ้านช่อง อาคาร ถาวรวัตถุ เป็นต้น

ข้อมูลจาก : ตั๋วทนาย.com

ในแง่นี้ จะเห็นได้ว่า ในข้อบทกฏหมายมีการกำหนดลักษณะของการครอบครองไว้อย่างชัดเจน ภายในระยะเวลาที่กำหนด แน่นอนว่าเหตุการณ์ดังกล่าว มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีที่ดินอยู่ในการครอบครองเป็นจำนวนมาก แต่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจ จนกลายเป็นกรณีพิพาทที่เห็นกันได้เป็นประจำ

           ดังนั้นแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ผู้เป็นเจ้าของที่ดินควรหมั่นไปสำรวจตรวจสอบที่ดินในการครอบครองของตนเองอยู่เสมอ หรือถ้าเกิดกรณีพิพาทขึ้นมาแล้ว ปรึกษาทนายหรือกรมที่ดินเพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไข เพราะสิ่งที่น่าเศร้ายิ่งกว่าที่ดินรกร้างไม่ก่อประโยชน์ ก็คือที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่กลายเป็นของคนอื่นแม้เราจะมีเอกสารหลักฐานอยู่คามือก็ตาม….