ความรู้เกี่ยวกับ ที่ดิน ดินที่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน

ที่ดิน

ในทางกฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ว่า เป็น ที่ดิน ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือที่ดินที่รัฐมีกรรมสิทธิ์ เป็นที่ดินที่รัฐถือครองไว้เสมือนเอกชนและอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชน ทรัพย์สินประเภทนี้ถือเป็นทรัพย์ในพาณิชย์  สามารถจำหน่ายจ่ายโอนและเอกชนสามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้

ที่ดินที่รัฐถือไว้อย่างเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ เป็นที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่ไม่ใช่สมบัติสาธารณของแผ่นดินนั้น กล่าวคือ ที่ดินดังกล่าวต้องไม่ได้ถูกใช้สาธารณประโยชน์หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ รวมทั้งไม่ได้สงวน หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน รัฐในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวที่ไม่ใช่สมบัติสาธารณของแผ่นดิน ย่อมมีสิทธิจำหน่าย จ่าย โอน หรือจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่ต้องอาศัยบทกฎหมายเฉพาะ

ที่ดินที่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน ในทางกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ หมายถึงที่ดินสาธารณะและเกาะ โดยจะต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ดังนี้

ที่ดิน สาธารณะ

คือที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น

ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์เฉพาะตนนั้นก็สามารถทำได้แต่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์ของตนได้ ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้นเช่น การอนุญาตขุดดินลูกรังหรือการอนุญาตดูดทราย เป็นต้น

ที่ดินการรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง

การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง มีวัตถุประสงค์อยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ

  1. เพื่อกำหนดขอบเขตหรือแนวเขต ปักหลักเขตที่ดิน ปักหลักเขตที่สาธารณประโยชน์ และปักแผ่นป้ายชื่อที่สาธารณประโยชน์
  2. เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดรูปร่าง และเนื้อที่ดินที่ถูกต้องของที่สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
  3. เพื่อป้องกันการบุกรุก เข้าทำประโยชน์โดยไม่ถูกกฎหมายและลดข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดิน
  4. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคุ้มครอง และดูแลรักษาให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตลอด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดความสำนึกใน การช่วยดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์
  5. เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เป็นหลักฐาน

ประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง

การรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ตามสภาพและขอบเขตที่แท้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ ช่วยให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกต่อการรังวัด ได้แก่

  • ระวังชี้แนวเขตที่ดินข้างเคียงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่สาธารณประโยชน์อย่างถูกต้อง ไม่นำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้ประโยชน์ ขอบเขต และแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่ถูกต้องและข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกเข้าทำประโยชน์ หรือการลุกล้ำแนวเขตที่สาธารณประโยชน์
  • สอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการทุจริต เพื่อหาประโยชน์จากที่สาธารณประโยชน์ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ไม่หวังดี
  • ให้ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการป้องกันดูแลรักษา และยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ตามโอกาสและความเหมาะสม

ลักษณะของที่ดินที่ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดิน เพื่อใช้เป็นสาธารณะประโยชน์หรือพื้นที่สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น

  • ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินที่มีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอืนตามกฎหมายที่ดิน
  • ทรัพย์สินที่พลเมืองสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบ ทางน้ำ ฯลฯ
  • ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น เรือรบ ป้อม โรงทหาร สำนักงานราชการบ้านเมือง และอาวุธยุทธภัณฑ์

ที่ดินที่เป็นเกาะ ที่ดินที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่ง เช่น เกาะที่เกิดในสะเลทราบหรือในทางน้ำหรือในเขตน่าน้ำของประเทศ

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับเกาะ

(ก) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติให้ “ป่า” หมายความว่า ที่ดินรวมตลอดถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมาย

(ข) ประมวลกฎหมายที่ดิน ในมาตรา 1 หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป กำหนด “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วยหนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย และ

(ค) กฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ในหมวด 3 โฉนดที่ดิน ข้อ 14 (3)

ข้อที่ 14 ที่ดินที่จะออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว และเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎหมาย แต่ห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดิน ดังต่อไปนี้

(3) ที่เกาะ แต่ไม่รวมถึงที่ดินของผู้ซึ่งมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” หรือเป็นผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่