มีการเปิดเผยข้อมูลจาก นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยเปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี ประเมินว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี ซึ่งเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า หลังจากมีการสำรวจข้อมูลของตลาดอสังหาฯซึ่ง
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ประเมินว่าสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบปีนี้ขยายตัว 6-8% โดยสินเชื่อบ้านคงจะโตใกล้เคียงกันประมาณ5-6% ในแง่ยอดคงค้าง แต่ถ้าเป็นยอดปล่อยกู้ใหม่ ยอมรับว่าคงไม่โต แต่เรามองว่าเป็นโอกาสดีของผู้บริโภคในช่วงรอยต่อเศรษฐกิจฟื้น ราคาบ้านไม่แพง” และ นายกิตติ กล่าวอีกว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ทำการสำรวจดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งแรกของปี2557 ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.)นนทบุรี และสมุทรปราการ พบว่า ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวสูงขึ้น 3.2% ทาวน์เฮาส์เพิ่มขึ้น 3% และห้องชุดเพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับรายงานของ ธปท. ที่ระบุว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย ณ เดือน มิ.ย. 2557 บ้านเดี่ยวปรับขึ้น 4.8% ทาวน์เฮาส์เพิ่มขึ้น 8.3%ห้องชุดเพิ่มขึ้น 9.8% และที่ดินราคาเพิ่มขึ้น 11.1%
ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่วงการอสังหาฯอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะนั่นหมายถึงความมั่นคงของเศรษฐกิจไทย ซึ่งอสังหาฯก็เป็นตัวชี้วัดดัชนีหนึ่ง และ ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาฯซื้อขาย หรือ เช่า ก็ตาม ซึ่งหากมีการเติบโตของภาคอสังหาฯอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลไปยังส่วนต่างๆของธรุกิจให้เติบโตตามไปด้วย เพราะ ประชากรในประเทศ สามารถมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ และ ราคาไม่แพง ก็ย่อมหมายถึง ค่าครองชีพของประชากรในประเทศที่มีอัตราสูงขึ้น จนสามารถกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้นั่นเอง แม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆที่มากระทบการเติบโตของอสังหาฯก็ตาม และ ปัจจัยด้านแรงงาน ค่าจ้างงาน ก็เป็นอีกส่วนที่ยังดูขัดแย้งกับความเป็นจริงของสังคม
เพราะความเหลื่อมล้ำของรายได้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีรายได้น้อยเพียงแค่ค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการยังชีพ เพราะค่าแรงเพียง 300 บาทนั้นหากหักลบค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน เช่น ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าเดินทาง ค่าประกันสังคม ก็แทบไม่เหลือแล้ว ดังนั้นหากมีมาตรการมาลดช่องว่างตรงนี้ได้จะทำให้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการทั้งภาคอสังหาฯและอื่นๆ ต่างก็ไม่อยากจ้างแรงงานด้วยค่าแรงสูง แต่ ราคาสินค้าในบ้านเรานั้นก็ต้องยอมรับว่าสูงจริงๆสำหรับค่าครองชีพพื้นฐาน ดังนั้นหากมีการปรับฐานเงินเดือน หรือ ค่าจ้าง ราคาสินค้าทุกอย่างก็จะสูงเป็นเงาตามตัว รวมทั้งราคาบ้านด้วย และ ความคิดที่หลายๆภาคส่วนอยากให้ประชากรในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีที่อยู่อาศัยในราคาไม่แพง และ มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพคงเป็นไปได้ยาก
- ข่าวและบทความข้างต้นนี้จัดทำโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการส่งข่าวเกี่ยวกับแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ที่ PR@Thailand-Property.com