ปีหน้าดอกเบี้ยจ่อขยับ พร้อมเกณฑ์คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ฉบับใหม่ป่วน ตลาดอสังหา ปี 2562 แน่นอน เพราะในปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเจอกับปัจจัยเสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขยับขึ้น และปี 2562 ยังต้องเจอเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ที่จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2562 และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เตรียมประกาศใช้ในวันที่ 1 ม.ค. ปี 2563 อีกด้วย
จับตาปัจจัยเสี่ยง ป่วน ตลาดอสังหา ปี 62
ในปี 62 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงทั้งจากภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศที่อาจจะ ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวทั้ง ด้านอุปทานและอุปสงค์ ที่มาจากการ คุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเดือน เม.ย. 2562 ที่กำลังจะมาถึงและเมื่อเริ่มใช้แล้วจะทำให้ภาพรวมเกิดการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ของเกิดการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นหลักเพราะการทำการผ่อนสินเชื่อบ้าน จะต้องมีเงินดาวน์ถึง 20% และสำหรับคนที่มีการผ่อนสินเชื่อบ้านสัญญาแรกยังไม่ถึง 3 ปีมีก็จะโดนผลกระทบด้วยอย่างแน่นอนด้านกลุ่มผู้ซื้อเพื่อลงทุนทั้งซื้อปล่อยเช่าและซื้อขายใบจองก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จากจะต้องมีเงินดาวน์ถึง 20% ทำให้ ไตรมาส 2-3 จะชะลอตัว ผลลัพธ์ของมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัอยู่อาศัยอาจจะทำให้เกิดการเร่งซื้อ เร่งโอนกรรมสิทธิ์บ้านในปีนี้ มากกว่าปกติโดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้และต้นปีหน้าก่อนจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เม.ย. 2562
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2562
โดยมีการคาดการณ์ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ว่าปี2562 มีโอกาสปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มาจากส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.กับของธนาคารกลางสหรัฐมีส่วนแตกต่างกันมาก โดยหากด ปรับขึ้นดอกเบี้ยก็จะทำให้ความสามารถในการซื้อบ้านของคนในประเทศลดลง ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ จะยังไม่ปรับขึ้นทันทีแต่ในด้านต้นทุนในการระดมเงินจากตลาดเงิน อาจจะต้องเจอกับการปรับขึ้นของดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เหล่าผู้ขอสินเชื่อรับผลกระทบในด้านการผ่อนชำระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและสุดท้ายผู้ซื้อบ้านก็จะลดลงเป็นเงาตามตัว
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจจะมีผล
มีการคาดการณ์ว่า มีแนวโน้มผลจากภาระภาษีที่ดินที่จะเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ถือครองที่ดินว่างเปล่า นำที่ดินออกมาขายเพิ่มขึ้น อาจจะทำให้ปี 2562 มีการเพิ่มปริมาณที่ดินขายในตลาด ทำให้ราคาที่ดินที่เคยปรับสูงขึ้นในช่วงปี 2560-2561 มีแนวโน้มไม่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้จะเป็นประโยชน์กับนายทุนและประชาชนค่อนข้างชัดเจนมากขึ้นโดยสถิติการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในช่วงที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นเร็วมากโดยเฉพาะที่ดินกรุงเทพฯ และปริมลฑล ปี 61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 32% และแต่ละปีราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10%
ดังนั้นภาพรวมปัจจัยเสี่ยงต่างๆอาจจะยังต้องจับตาดูอย่างต่อเนื่องและอาจจะมีการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยอย่างแน่นอน คงจะต้องรอดูว่าทางภาครัฐจะมีมาตราการอะไรออกมาช่วยกระตุนกำลังซื้อของประชาชนภายในประเทศต่อไป
ที่ดินย่าน รามคำแหง พุ่งรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
จับตา อสังหาฯปี62 น่าห่วง เผชิญดอกเบี้ยขึ้น LTV