DotProperty.co.th

จุดบอด “โบรกเกอร์ไทย” หลังเปิด “อาเซียน”

เดี๋ยวก่อน…โบรกเกอร์คืออะไร…?

คำตอบคือ บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์นั่นเอง

 

“หน้าที่ของ “โบรกเกอร์ ไม่เพียงเป็นคนกลางในการตกลงซื้อขายทรัพย์สินเท่านั้น
แต่ต้องดูแลรับผิดชอบ ต่อหน้าที่และบริการที่ตัวเองได้รับปากกับลูกค้าตลอดกระบวนการอีกด้วย”

 

ทีนี้….
จุดบอด “โบรกเกอร์ไทย” หลังเปิด “อาเซียน”…
ลองคิดกันเล่นๆ คิดว่าเรื่องแรกเลยน่าจะเป็นอะไร…?

ใช่แล้วค่ะ “ภาษา” ตอบแบบไม่ต้องคิดเลยใช่มั้ยล่ะ เพราะว่ามีเข้ามาอยู่รวมกันตั้ง 10 ประเทศ จะให้เรียนทั้ง 10 ภาษาเลยก็คงไม่ไหว เพราะฉะนั้น การใช้ภาษาสากลอย่าง “ภาษาอังกฤษ” นี่หล่ะ ที่เวิร์คสุดๆ และนี่คือ ข้อแรกของบรรดา คนไทย ดังนั้นถ้าโบรกเกอร์ไทยคนไหน ขาดทักษะด้านนี้ ก็ให้รีบเร่งแก้ไขกันด่วนๆเลยล่ะค่ะ แต่ถ้าใครบอก ขี้เกียจ ไม่เอาหรอก ไม่อยากเรียน ก็ไม่เป็นไรนะคะ อย่างมากก็แค่ ได้งานอย่างหน่อย หรือโดนคนอื่นแย่งงานก็เท่านั้น ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุด นั่ น ก็ คื อ… เ รี ย น ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ เถิดค่ะ

ทีนี้เราจะเข้าเรื่องจริงจังกันแล้วล่ะค่ะ…

ข้อมูลจากนายกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ นายแพทย์สมศักดิ์ มุนีพีระกุล กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มือสองแม้ว่าการเปิด AEC จะส่งผลบวกต่อดีมานด์ซื้อและเช่าของอสังหาฯมือสองในย่านศูนย์กลางธุรกิจ และแหล่งชุมชนใจกลางเมืองก็ตาม เพราะหลังเปิด AEC แล้ว นักลงทุนและแรงงานจากกลุ่มประเทศอาเซียนจะเข้ามาอาศัยในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดใจกลางเมืองมีความคึกคักมากขึ้น

และผลกระทบที่ตามมา ก็คือ….

1. โบรกเกอร์และนายหน้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามากันเพียบ ส่งผลให้ธุรกิจนายหน้าในประเทศไทยแข่งขันกันอย่างดุเดือนมากขึ้น
2. การแข่งขันหลัง AEC เปิดนั้น ธุรกิจไทยจะเสียเปรียบต่างชาติ ในเรื่องกฎหมายควบคุมการทำงานของนายหน้า แล้วจะเกิดอะไรขึ้นน่ะหรอคะ…นายหน้าเพื่อนบ้าน ทั้งมาเลเซีย,สิงคโปร์ ฯลฯ ก็สามารถเข้ามาทำอาชีพนายหน้าในแผ่นดินไทยกันได้อย่างสะดวกโยธินน่ะสิคะ
3. แล้วถ้าใครจะบอกว่า เราก็สามารถเข้าไปทำงานบ้านเค้าได้เหมือนกันน่ะหล่ะน่า…คำตอบคือ ยากค่ะ เนื่องจากบ้านเค้ากฎหมายควบคุมการทำงานและรองรับธุรกิจประเภทนี้ไว้ค่อนข้างเป็นรูปธรรม นั่นเป็นผลให้ประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาดไป และอาจทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถอยู่ต่อไปได้นั่นเอง

           วิธีแก้ตอนนี้ก็คือ ภาครัฐควรใจจัดทำกฎหมายให้มากกว่านี้ ควรเข้ามาควบคุมดีแล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งอาจบ่อนทำลายประเทศชาติได้ในอนาคต

ก่อนจบบทความนี้กันไป ก็คงต้องย้ำกันเหมือนทุกๆครั้งว่า เราควรใส่ใจและเตรียมพร้อมให้มากก่อน เพราะเมื่อเราพร้อมแล้ว รู้แล้ว เราก็จะสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆที่เข้ามาได้อย่างสบายขึ้นค่ะ

ที่มา : thai-aec