ชวนดูกฎการต่อเติมบ้าน ! อยากต่อเติมบ้าน ต้องขออนุญาตใครบ้าง

เมื่อเวลาผ่านไป ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ที่อยู่อาศัยของเราจะมีการทรุดโทรม ต้องปรับปรุง หรือบางคนก็อาจจะอยากทำการต่อเติมบ้าน เพื่อขยายพื้นที่ใช้สอบให้มากขึ้น แต่เมื่อถึงขั้นตอนนี้ หลายคนอาจหลงลืมไปว่าเมื่อมีการต่อเติมบ้าน จำเป็นที่จะต้องย้อนไปทบทวนกฎการต่อเติมบ้านทุกครั้ง เพราะไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ ก็จะต้องขออนุญาตต่อเติมบ้านตามกฎการต่อเติมบ้านด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในบางกรณีก็มีข้อยกเว้นในการดัดแปลงโดยที่ไม่ต้องยื่นขอแบบอนุญาตกับหน่วยงานท้องที่เช่นกัน ลองมาดูกันว่ามีกฎการต่อเติมบ้านข้อไหนที่ยกเว้นและข้อไหนที่ต้องขออนุญาตกันบ้าง

People renovating the house concept

กฎการต่อเติมบ้านตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ระบุไว้ว่า หากมีการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคารใดๆ ควรจะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมกับหน่วยงานในท้องที่ตามกฎการต่อเติมบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว การดัดแปลงและต่อเติมอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่พักอาศัยแนวราบ ประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรืออาคารพาณิชย์ มักจะทำเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน ซึ่งในกรณีนี้จะเข้าข่ายของการดัดแปลงและการต่อเติมที่จำเป็นจะต้องขออนุญาตตามกฎการต่อเติมบ้าน

แต่อย่างไรก็ตาม กฎการต่อเติมบ้านในบางกรณีสำหรับการดัดแปลงและการต่อเติม ยังมีข้อยกเว้นที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานท้องที่ ซึ่งประกอบด้วยกัน 5 กรณี

_pic_2_กฎการต่อเติมบ้านแบบไหนไม่ต้องขออนญาต?

  • การต่อเติมบ้าน ที่เพิ่มหรือลดเนื้อที่ภายในบ้านที่ไม่เกิน 5 ตารางเมตร – ในกรณีนี้จะเป็นการดัดแปลงและต่อเติมบ้าน โดยจะเป็นการเพิ่มหรือลดเนื้อที่ภายในบ้าน โดยเป็นพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง รวมกันแล้วพื้นที่ที่เพิ่มหรือลดไม่เกิน 5 ตารางเมตร และจะต้องไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคานภายในบ้าน
  • การเพิ่มหรือลดเนื้อที่ของหลังคาไม่เกิน 5 ตารางเมตร – ในกรณีที่มีการต่อเติมหรือดัดแปลงหลังคา ที่เป็นการเพิ่มหรือลดเนื้อที่หลังคา แต่มีพื้นที่ที่เพิ่มหรือลดทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่มีการเพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคารด้วยวัสดุเดิม – ในกรณีของการดัดแปลงและต่อเติมโครงสร้างอาคาร ที่ไม่มีการเพิ่มหรือลด แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอาคารด้วยวัสดุแบบเดิม
  • การเปลี่ยนส่วนใด ๆ ภายในบ้าน ที่ไม่ใช่ส่วนโครงสร้างด้วยวัสดุเดิม – ในกรณีของการเปลี่ยนส่วนใดๆ ภายในบ้านนอกเหนือจากโครงสร้างอาคาร ด้วยวัสดุแบบเดิม หรือเป็นวัสดุชนิดอื่น ที่ไม่ได้เพิ่มน้ำหนักหรือโครงสร้างอาคารเกินกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม
  • การเปลี่ยน ต่อเติม เพิ่ม หรือลด เนื้อที่ที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นโครงสร้างและไม่เพิ่มน้ำหนัก – ในกรณีที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม หรือลด วัสดุภายในบ้านที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร และจะต้องไม่เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างอาคารมากกว่า 10% ของน้ำหนักเดิม

Cropped shot of dark-skinned contractor holding touch pad, entering data while working on new housing project, sitting at desk with drawings, scale model house, blueprint rolls, ruler and helmets

หากไม่ได้ขอขอนุญาตต่อเติมบ้านตามกฎการต่อเติมบ้านแล้วจะมีบทลงโทษอย่างไร?

เนื่องจากที่อยู่อาศัยนั้นเป็นโครงสร้างที่มีผู้คนอาศัยอยู่ หากมีการพังทลายจะสามารถส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยในบ้านและข้างเคียงได้ เพื่อความปลอดภัยในการต่อเติมและดัดแปลงบ้าน กฎหมายจึงบังคับให้จำเป็นต้องขออนุญาตทุกครั้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประเมินว่าเข้าข่ายที่จะทำให้อาคารมีความเสี่ยงมากกว่าเดิมหรือไม่ โดยผู้ที่ต่อเติมบ้านในเงื่อนไขที่นอกเหนือไปจาก 5 ข้อยกเว้นด้านบน แต่ไม่ได้มีการขอนุญาตต่อเติมบ้าน จะมีบทลงโทษดังนี้

  • ถูกระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง และการต่อเติมอาคาร โดยหากสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เจ้าของอาคารจะต้องยื่นคำอนุญาตหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารไม่ยอมแก้ไขตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน จะถูกรื้อถอนอาคารบางส่วนหรือทั้งหมาย ภายในเวลาที่กำหนด แต่จะไม่น้อยกว่า 30 วัน
  • ผู้กระทำผิด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้กระทำผิด จะต้องถูกโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

สำหรับการต่อเติมบ้านมีข้อจำเป็นที่จะต้องทบทวนต่อลงมือจริงทุกครั้ง ซึ่งก็เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเอง ดังนั้นจึงไม่ควรฝ่าฝืนและมาทบทวนว่าการต่อเติมบ้านจำต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่ทุกครั้ง เพราะบทลงโทษนั้นก็ไม่ใช่เรื่องเบาๆ เลยทีเดียว

ที่มา :
https://www.facebook.com/DPTinformation