DotProperty.co.th

ชาวต่างชาติกับการถือครองอสังหาใน AEC

สำหรับในปีนี้แล้วนั้นเห็นใครๆ ก็มักยกปัจจัยของคำว่า AEC เข้ามาอยู่ในการทำแผนธุรกิจทางด้านอสังหาริมทรัพย์และทางด้านการลงทุน หรือแผนการตลาดการลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด (Opportunity) ในแวดวงอสังหาฯก็เหมือนกันกับทุกวงการที่ตอนนี้กำลังรอคอยความหวังของมวลหมู่ประเทศ AEC ให้มาเป็น new demand ของธุรกิจตัวเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ต้องอย่าลืมว่า ณ ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่นั้นก็ยังไม่รู้เลยว่าถ้ามี AEC แล้วประเทศไหนที่จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดกันแน่ และอีกประการที่สำคัญก็คือกว่าจะประเมินผลกระทบได้ก็ต้องปีหน้า เพราะว่า AEC เพิงจะเริ่มปลายปีนี้ ไม่ใช่เดือนมกราคมของปี 2558 ซึ่งเมื่อทราบแบบนี้แล้งนั้นใครพอที่จะวางแผนการลงทุนอะไรกันไว้ก็เริ่มที่จะคิดและจัดการกันได้แล้ง เพราะในเวลาอีกไม่นาน การลงทุนกับ AEC ก็จะมาถึงในวันข้างหน้า

แต่ถ้าหากจะกล่าวถึง AEC ว่าใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ วันนี้จะยกเอาเฉพาะในวงการอสังหาฯ ในแง่ของการลงทุนอสังหาฯนั้น ถ้าเราพิจารณาตาม infographic ที่ได้นำมาประกอบ ก็จะเห็นได้ว่าประเทศทั้งหมดในอาเซียนนั้น ล้วนแล้วมีการสร้าง barrier ขึ้นมาในธุรกิจอสังหาฯทั้งสิ้น ทั้งนี้ barrier ที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง หากดูเผินๆแล้วจะเห็นได้ว่าประเทศสิงค์โปร์นั้น จะมีความสะดวกสบายสำหรับชาวต่างชาติในการครอบครองอสังหาไม่ว่าจะเป็น คอนโด ตึก หรือว่าที่ดิน โดยรองลงมาก็น่าจะเป็นมาเลเซีย และประเทศไทย ตามลำดับ แต่ถ้าเรานำเอาเรื่องของปัจจัยภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประเทศไทยของเรานี่แหละที่กุมความได้เปรียบ ในเรื่องของการดึงดูดชาวต่างชาติให้มาครอบครองอสังหาฯ มากที่สุด สารพัดภาษีอย่าง capital gain tax ภาษีเมือง ภาษีการครอบครองอสังหาฯ ฯลฯ ก็ไม่เห็นจะมีการเรียกเก็บกันจริงจังอย่างประเทศอื่นเลย แถมการซื้อขายรีเซลก็ทำกันได้อย่างอิสระเสรี

ประเทศไหนใน AEC ที่เหมาะที่สุดในการลงทุนอสังหา

ก่อนที่จะมีการลงทุนการถือครองอสังหาของชาวต่างชาติใน AEC เรามาเปรียบเทียบว่าแต่ละประเทศจะมีสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์กันแบบไหนบ้าง

ประเทศไทย
คอนโดมิเนี่ยม : สามารถซื้อได้ภายในโควต้าของพื้นที่ไม่เกิน 49% ของพื้นที่ขายทั้งอาคารเท่านั้น และมีสิทธิเช่าได้
ตึก : สำหรับตึกนั้นสามารถเป็นเจ้าของได้แต่กรรมสิทธิ์ตึกจะแยกโฉนดกับที่ดิน
ที่ดิน : จะมีแค่สิทธิเช่าได้เท่านั้น แต่จะได้สิทธิเป็นระยะเวลา 30 ปี

ประเทศสิงคโปร์
คอนโดมิเนี่ยม :สามารถซื้อได้ตามปกติแต่จะมีข้อห้ามว่า ห้ามซื้อคอนที่เป็นของ HDB (การเคหะสิงคโปร์) และมีสิทธิเช่าได้
ตึก : สำหรับตึกนั้นสามารถซื้อได้แต่จะต้องมีการขออนุญาตจาก Singapore Land Authority ก่อนที่จะซื้อ
ที่ดิน : สามารถที่จะเช่าได้สูงสุดถึง 99 ปี แต่จะต้องมีการขออนุญาตจากรัฐบาลก่อน

ประเทศกัมพูชา
คอนโดมิเนี่ยม : ทำการเป็นเจ้าของโดยการซื้อได้ แต่จะซื้อได้เฉพาะคอนโดมิเนียมที่สร้างขึ้นใหม่ที่มีการแบ่งโฉนดความเป็นเจ้าของโดยการซื้อได้เฉพาะชั้น 1 ขึ้นไปเท่านั้น(ชั้นล่างห้ามซื้อ) และต้องอยู่ภายในโควต้าที่กำหนดไว้นั้นคือ 70% ของคอนโดมิเนียม และมีสิทธิเช่าได้
ตึก : สามารถเป็นเจ้าของตึกได้เฉพาะตึกที่ทำการสร้างขึ้นมาเองโดยที่ที่ดินยังคงเป็นของเจ้าของเดิม
ที่ดิน : สามารถที่จะเช่าได้สูงสุดถึง 99 ปี แต่จะต้องมีการขออนุญาตจากรัฐบาลก่อน

ประเทศเวียดนาม
คอนโดมิเนี่ยม : การซื้อคอนโดมิเนียมในประเทศเวียดนามนั้นไม่สามารถทำการซื้อขาดได้ แต่จะเป็นการซื้อที่เป็นสิทธิของการเช่า ทั้งนี้ชาวต่างชาติสามารถซื้ออพาร์ทเม้นต์และบ้านเดียวได้ แต่จะยกเว้นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความมั่นคงตามกฎระเบียบของรัฐบาลตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย
ตึก : สำหรับตึกในประเทศเวียดนามนั้นจะเป็นเจ้าของตึกและที่ดินไม่ได้ แต่ถ้าตั้งบริษัทมาเพื่อการขายบ้านหรือคอนโดสามารถทำได้
ที่ดิน : สิทธิในการเช่าที่ดินในประเทศเวียดนามนั้นสามารถเช่าได้โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 50-70 ปี

ประเทศลาว
คอนโดมิเนี่ยม : ซื้อขาดไม่ได้ แต่สามารถเช่าได้
ตึก : เช่าได้อย่างเดียว ไม่สามารถซื้อขายได้
ที่ดิน : จะมีสิทธิเช่าได้สูงสุด 20 ปี แต่จะมีขอยกเว้นบางกรณีที่สามารถต่ออายุการเช่าได้ประเทศฟิลิปปินส์
คอนโดมิเนี่ยม : สามารถซื้อได้โดยการให้โควต้า 40% ของทั้งตึก และมีสิทธิในการเช่าได้
ตึก : สำหรับตึกนั้นสามารถเป็นเจ้าของได้แต่กรรมสิทธิ์ตึกจะแยกโฉนดกับที่ดิน
ที่ดิน : จะมีสิทธิเช่าได้ 25 ปี และยังสามารถต่ออายุการเช่าได้อีก 25 ปี

ประเทศพม่า
คอนโดมิเนี่ยม : ซื้อได้ แต่ไม่สามารถทำการซื้อขาดได้ ส่วนการเช่านั้นสามารถทำการเช่าได้แต่จะได้สิทธิการเช่าเป็นรายปีต่อรายปี
ตึก : สำหรับตึกนั้นไม่สามารถที่จะทำการซื้อเป็นเจ้าของได้
ที่ดิน : ในการเช่าพื้นที่ดินในประเทศพม่านั้นเช่าได้ในกรณีที่จะทำการพัฒนาเป็นโครงการ สัญญาจะเริ่มต้นที่ 50 ปี และสามารถต่อเพิ่มได้อีก 10 ปี เป็นเวลา 2 ครั้งของการต่อสัญญา โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก Myanmar Investment Commission เสียก่อน

ประเทศมาเลเซีย
คอนโดมิเนี่ยม : ในประเทศมาเลเซียนั้นคอนโดมิเนียมคนต่างชาติเท่านั้นที่จะสามารถซื้อได้เฉพาะคอนโดมิเนียมที่มีราคามากกว่า 1,000,000 RM ต่อยูนิต โดยทำการซื้อได้มากสุดที่ 2 ยูนิตภายในโควต้า 50% ต่อตึก หรือจะทำการควบกับอสังหาประเภทอื่นก็ได้ ส่วนการเช่านั้นสามารถทำการเช่าได้
ตึก : ซื้อได้เฉพาะตึก 2 ชั้นขึ้นไปเท่านั้นและที่มีราคามากกว่า 1,000,000 RM ภายในโควต้า 10% โดยจะสามารถซื้อควบกับคอนโดมิเนียมอีก 1 ห้องก็ได้
ที่ดิน : จะมีสิทธิเช่าได้โดยระยะเวลาการเช่าจะขึ้นอยู่กับการขอใบอนุญาติจากรัฐบาลเท่านั้น

ประเทศอินโดนีเซีย
คอนโดมิเนี่ยม : ซื้อได้โดยการได้รับเป็นใบรับรองการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่แยกออกจากสิทธิในการถือครองที่ดินและสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ตามปกติ โดนที่โฉนดยังเป็นของ Developer (คล้ายๆ กับการเช่าซื้อ) แต่สำหรับการเช่านั้นจะมีการสิทธิในการเช่า
ตึก : สามารถเป็นเจ้าของตึกได้ แต่จะมีสิทธิเฉพาะตึกที่สร้างขึ้นมาเองโดยที่ดินยังคงเป็นของเจ้าของเดิม
ที่ดิน : สำหรับที่ดินในประเทศอินโดนีเซียนั้นจะสามารถเช่าได้ชาวต่างชาติที่อาศัยในอินโดนีเซียเท่านั้น และจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าการที่ชาวต่างชาติจะมีการลงทุนหรือถือครองอสังหาในกลุ่มประเทศ AEC นั้น แต่ละประเทศจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไปตามกฎหมายของรัฐบาลนั้นๆ เมื่อเราต้องการที่จะไปครอบครองอสังหาในกลุ่มประเทศ AEC นั้น เราควรที่จะศึกษากฎระเบียบของแต่ละประเทศให้ดีก่อนการถือครองอสังหา เพื่อความเข้าใจและไม่เป็นการทำผิดกฎหมายของประเทศนั้นๆ แค่นี้เราก็จะสามารถรู้แล้วว่าประเทศไหนควรที่จะเป็นประเทศที่น่าลงทุนในกลุ่มอสังหามากที่สุด