DotProperty.co.th

ซี.พี. จัดทัพเตรียมสร้าง นิคมอุตสาหกรรมใน EEC บนที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ณ จ.ระยอง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) วางผังเคลื่อนทัพรับ EEC บนที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนาและ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยองหลังจากเก็บสะสมที่ดินถึง30 ปี ในที่สุดก็รวมเป็นที่ดินแปลงใหญ่ได้ในที่สุด ขนาด 3,068 ไร่ โดยพื้นที่แปลงใหญ่นี้ตั้งอยู่ในทำเล ที่มีจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมล้อมรอบ มีถนนสายหลักที่มี4-6 ช่องจราจร ห่างสนามบิน สุวรรณภูมิ 145 กม. ห่างสนามบินอู่ตะเภา 35 กม. ห่างท่าเรือมาบตาพุด 16 กม. ท่าเรือแหลมฉบัง 60 กม. และอนาคตยังอยู่ใกล้บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาแค่ 35 กม.เท่านั้น

โดยที่ดินที่ใช้สำหรับพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน มีชื่อว่า “ซีพีจีซี”  โดยทาง ซี.พี. ได้ทำการร่วมทุนกับบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด รัฐวิสาหกิจจาก มณฑลหนานหนิงของประเทศจีน มีวงเงินร่วมทุนทั้งหมด 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วน 50:50 และได้จัดตั้งให้ กลุ่ม บริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัทที่ ดูแลหลักในการ พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างเต็มที่

 

ซี.พี. จัดทัพเตรียมสร้าง นิคมอุตสาหกรรมใน EEC บนที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่  ณ จ.ระยอง

คุณ สุนทร อรุณานนท์ชัย  ประธานกรรมการ บริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เปิดเผยว่า ณ.เวลานี้การพัฒนา กำลังไปอย่างราบรื่นและกำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลังใช้เวลาร่วมกันถึง 6 ปี สำหรับผลักดันการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมใหม่จนมามีผลเมื่อปีที่ผ่านมา จากเหตุที่ทางรัฐบาลประกาศ จ.ระยองเป็นเขตเศรษฐกิจอีอีซีมีผลให้กฎเหล็กที่ค้างคาถูกคลายลงในที่สุด

โดยโครงการ พัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน นี้จะ ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 8,800 ล้านบาท โดยจะทำการเริ่มก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในปี 2562 และจะเปิดขายพื้นที่ภายในไตรมาส 2 ของปี 2562  สาเหตุก็เพราะว่าต้องรอการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ทำการประกาศเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมและอนุมัติรายงานผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อน

แต่ตอนนี้โครงการได้ออกแบบโครงการเสร็จแล้วเหลือแค่ขั้นต่อการยื่นขออนุมัติโครงการ เท่านั้น โดยทา งซี.พี.แลนด์  ได้มองเห็นว่าพื้นที่นี้มีโอกาสเพราะพื้นที่ดินนี้อยู่ในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด  เหมาะแก่การลงทุน และตอนนี้ได้วางผังพัฒนาเบื้องต้นได้ที่ 3,000 ไร่

แบ่งเป็น พื้นที่อุตสาหกรรม 2,205 ไร่  พาณิชยกรรม 112 ไร่   สาธารณูปโภค 443 ไร่ และพื้นที่สีเขียว 309 ไร่โดยจะทำการเลือก 10  อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve กับ new S-curve) ที่มีการเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตามที่ทางรัฐบาลไทยแนะนำมาลงทุนภายในประเทศ ได้แก่การแพทย์ครบวงจร  อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยมีการคาดว่าจะมี บริษัทจากจีนประมาณ 100 แห่งมาร่วมลงทุนโดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 10 ไร่

ร่วมมือกับกลุ่มทุน 3 องค์กรใหญ่ของจีน

ณ.เวลานี้ทาง ซี.พี. ได้ทำการเซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ 3 Big ของจีน ได้แก่ 1.สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน โดยจะทำการการร่วมมือด้านโนว์ฮาวและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมของประเทศจีน โดยอนาคตจะนำเทคโนโลยีสูงมาลงทุน 2.บริษัท ไชน่า เอ็นเนอร์จี้ เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป โดยจะร่วมลงทุนในด้านธุรกิจพลังงานเป็นหลัก และ 3. 3.บริษัท CAS ION MEDICAL TECHNOLOGY ECONOMIC AND COMMERCIAL COUNSELOR โดยจะมาลงทุนในด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ระบบตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และระบบการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นหลัก

นอกจากนี้ในอนาคตจะพิจารณาต่อไปว่าจะลงทุนกับทางจีนต่อไหม เพราะจีนเป็นคนทำตลาด กำหนดราคาขายและเช่า ทาง ซี.พี.แลนด์จะเป็นผู้ก่อสร้างและบริหาร  โดยตอนนี้มีผู้สนใจจะมาลงทุนในนิคม 20-30 ราย โดยทั้งหมด เป็นหน่วยงาน ที่ประกอบกิจการตามนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลไทยทั้งหมด ในส่วนประเทศญี่ปุ่น ก็มีการคุยกันบ่อยครั้งและให้ความสนใจในทุกประเภทงานของทางกลุ่ม ซี.พี. เราด้วย

 

แผนการพัฒนาเมืองใหม่

โดยตอนนี้เรายังมีพื้นที่ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 100 ไร่ สามารถนำไปพัฒนากิจการอื่น ๆ รองรับกับนิคมอุตสาหกรรม เช่น พื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์การเรียนรู้ รวมถึงอาจจะซื้อที่ดินเพิ่มได้ในอนาคต โดยในด้าน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นอะไรที่น่าสนใจเพราะว่าเราอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตระยอง ทำให้อนาคตสามารถที่จะแชร์ความรู้เทคโนโลยีจากจีนได้ เพราะจีนมีเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดในระดับโลก นั้นเอง นอกจากนี้เรายังมีแผนที่จะพัฒนาเมืองใหม่เพื่อมารองรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภา ณ.เวลานี้ ซี.พี.แลนด์ยังไม่มีแผนลงทุนอะไร แต่ในอนาคตน่าจะมีแผนพัฒนาอยู่อย่างแน่นอน

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก