คนซื้อคอนโดยิ้ม รัฐเตรียมออกมาตรการคุ้มครองคนซื้อคอนโด กันผู้ขายเชิดเงิน

ซื้อคอนโด

คลังพร้อมเสนอแนวคิด ออกกฎหมาย เอสโครว์ใหม่มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ซื้อคอนโด ที่ได้แต่ใบจองสุดท้ายโดนผู้ขายเชิดเงินกินนิ่ม

ซื้อคอนโด มั่นใจยิ่งขึ้น กับมาตรการคุ้มครองคนซื้อคอนโดกันผู้ขายเชิดเงินกินนิ่ม

เมื่อเร็วๆนี้ทาง ฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้ให้ความเห็นว่า  เอสโครว์แอ็กเคานต์หรือพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของ คู่สัญญา พ.ศ. 2551 นั้นมีช่องโหว่ทำให้เป็นอุปสรรคค่อนข้างมาก ทำให้ทางภาครัฐมีแนวคิดที่จะแก้ไขปรับปรุง เพื่อที่อนาคตจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะในจุดที่เกี่ยวกับการขยายขอบเขตการทำธุรกรรมไปสู่ธุรกรรมการซื้อขายห้องชุด ที่จะเป็นผลให้การทำสัญญาภายใต้กฎหมายนี้มีเพิ่มมากขึ้น จากที่ในตอนนี้ยังมีธุรกรรมน้อยมากโดย กฎหมายที่แก้ไขใหม่ อาจจจะยังไมาสามารถบังคับให้ทุกธุรกรรมที่เข้าข่ายจะต้องใช้เอสโครว์แอ็กเคานต์ทั้งหมด

 

ตลอด 10 ปี ที่กฎหมายเอสโครว์แอ็กเคานต์  ไม่คุ้มครองธุรกรรมซื้อขายอาคารชุด

ซื้อคอนโดนายอรรถพล อรรถวรเดช รอง ผู้อำนวยการ สศค.  ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ตลอด 10 ปี ที่กฎหมายเอสโครว์แอ็กเคานต์บังคับใช้มา นั้น ยังมีการทำสัญญาภายใต้ธุรกรรมที่อยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้น้อยมากนั้นคือ มีทั้งหมดแค่ 43 สัญญา  หรือคิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินภายใต้สัญญาเอสโครว์เพียง 396,755.61 ล้านบาท จากตาราง และภาพรวมก็เป็นของทางด้านการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับตลาดทุนเป็นหลัก แต่กลับกันในภาคส่วนธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์มีไม่มาก นั้นก็เพราะว่า ไม่ครอบคลุมถึงธุรกรรมซื้อขายอาคารชุด โดยหากถ้ามีการปรับแก้แล้วจะทำให้ ธุรกรรมซื้อขายคอนโดมิเนียมก็จะมาทำสัญญากันมากขึ้นเพราะสัญญานี้จะทำให้ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ซื้อคอนโดฯ ที่จะไม่ได้แค่ใบจองอย่างเดียวอีกต่อไป

 

กฎหมายนี้ หากออกมาแล้วจะดีกว่าเดิมอย่างไร

ซื้อคอนโดโดยหาก กฎหมาย เอสโครว์ มีการแก้ไขใหม่นั้นจะช่วยให้ประชาชนที่ไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่จ่ายเงินดาวน์ไปแล้ว ทางโครงก็การให้แต่ใบจองและหากโชคร้ายอาจจะเจอกับปัญหาว่าโครงการสร้างไม่เสร็จเจ้าของโครงการหนีบ้างหรือเจอโครงการแบบจับเสือมือเปล่าที่จะเอาเงินดาวน์ของผู้จองหลายๆคนมาไว้กับคนกลาง หรือเรียกว่า เอสโครว์เอเย่นต์ก่อน แล้วเมื่อโครงการสร้างเสร็จก็ค่อยโอนเงินดาวน์ให้โครงการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ แต่ที่สมัยนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทำให้เราอาจจะพบเจอกับประเภทสร้างไม่เสร็จแล้วหนีน้อยมาก ทำให้นี้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ คนส่วนใหญ่ไม่นิยมหรือให้ความใส่ใจมีการทำธุรกรรมกันกันเท่าที่ควร บวกกับที่รูปแบบกฎหมายก็ไม่ ครอบคลุมถึงคอนโดมิเนียมด้วย ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ กรณีโฉนดที่ดิน ไม่รวม สัญญาเช่าซื้อเป็นหลักนั้นเอง โดนหากถ้ากฎหมายเอสโครว์เอเย่นต์ใหม่ สามารถปรับปรุงหน้าที่ของผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาให้สามารถดูแลรักษาเฉพาะเงิน ทรัพย์สิน หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ตามความต้องการของคู่สัญญา เพราะในตอนนี้ สัญญาเดิมต้องดูแลรักษาทั้งหมด ซึ่งไม่สอดคล้องกับการดำเนินการของภาคธุรกิจ “เดิมเอสโครว์เอเย่นต์ต้องดูแลหมด ทั้งเงิน ทั้งทรัพย์สิน อย่างซื้อขายที่ดิน ก็ต้องให้โอนที่ดินมาไว้กับเอเย่นต์ด้วย คือเอาโฉนดมาดูแลด้วยจนกว่าคู่สัญญาจะจ่ายเงินซื้อขายกันครบ แต่ของใหม่ให้ดูแลเงินอย่างเดียวก็ได้ อย่างจะซื้อหุ้นเดิมต้องโอนพวกหลักฐานใบหุ้นมาให้ดูแลด้วย หลังจากนี้ก็โอนเฉพาะเงินก็พอ หรือจะดูแลเฉพาะทรัพย์สินอย่างเดียวก็ได้ ในกรณีคู่สัญญาไม่เชื่อใจกันก็เอามาไว้ที่เอเย่นต์”