วันนี้เรามีเรื่องราวที่หลายๆท่านอาจจะ ยังไม่ทราบโดยเฉพาะคู่รักที่เป็นเพศทางเลือก ที่อยากจะ ซื้อบ้าน หรือซื้อบ้านไปแล้ว ถ้าในอนาคตอาจจะต้องแยกทางกัน จะสามารถแบ่งสิทธ์เป็นเจ้าของบ้านให้ลงตัวทั้ง2ฝ่ายได้ด้วย วิธีอะไรเดี๋ยวเราไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
คู่รักเพศเดียวกัน ซื้อบ้าน จะแบ่งสิทธ์เป็นเจ้าของบ้านคนละครึ่งยังไง
โดยการมีสิทธ์เป็นเจ้าของบ้านจะต้องดูที่ว่า ตอนซื้อบ้าน ได้ซื้อแบบไหน โดยสามารถแบ่งได้เป็น เงินสด กับ เงินกู้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ซื้อบ้านด้วยเงินสด
ถ้าแบบเงินสดโดยการออกคนละครึ่งเลยโดยไม่ผ่านการกู้จากทางธนาคารใดๆ สามารถที่จะ ใส่ชื่อเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ทั้ง 2คน แต่ถ้าจะขายต้องรอ 5 ปี นับแต่วันซื้อมา ดังนั้นวิธีนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเวลาแยกทางกัน แต่วิธีนี้จะมีปัญหาที่ว่า ถ้าในอนาคตอยากขาย แต่แฟนเก่าคนไม่อยากขาย ยุ่งทันทีแน่นอนแต่ถ้าตกลงกันได้ก็จบค่ะดังนั้นควรที่จะ ทำหนังสือสัญญามีลายลักษณ์อักษรตกลงกันเรื่องผลประโยชน์กันล่วงหน้าเพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย นั้นเองคะ
2. กู้เงินซื้อบ้าน-โดยขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะมี 2 ทาง ดังนี้
2.1 ทำเรื่องกู้บ้านคนเดียว และตกลงจะแต่ผ่อนคนละครึ่ง ต้องทำความเข้าใจก่อนคะว่า หากยื่นกู้คนเดียว ผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็จะใส่ชื่อในโฉนดได้เฉพาะผู้ที่ยื่นกู้เท่านั้น ดังนั้นแฟนอีกคนที่ช่วยกันผ่อนกึ่งนึง ดังนั้น การส่งเงินแล้วไม่ได้มีชื่อในโฉนดเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวงแน่นอน และแบบนี้เราจะทำอย่างไรดีละจะให้เป็น สินสมรส ก็ไม่ได้เพราะเป็นเพศทางเลือก
ดังนั้น ทางออกแบบที่ดีที่สุดคือ คุยกันค่ะในเมื่อมันเป็นทรัพย์สินของแฟนคนเดียว ยื่นกู้ก็ยื่นคนเดียวแสดงว่า รายได้เพียงพอที่จะผ่อน ก็ให้แฟนผ่อนในส่วนของบ้านหลังนี้ไป ส่วนอีกคนก็ทำการจ่ายในส่วนอื่นๆแทนไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายต่างๆภายในบ้านหรือ ผ่อนรถ ซื้อของใช้ต่างๆ โดยเป็นชื่อของเราเองแทน
ดังนั้นเวลาแยกทางกันทรัพย์สินจะได้เป็นของใครของมันไปเลย เราก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องหนี้ที่ไม่ใช่ของเราจะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายทีหลังนั้นเองคะ และก็ควรทำพินัยกรรมไว้ด้วยนะค่ะ ว่าจะยกทรัพย์สินอะไรบ้างให้ ในกรณีที่รักกันและช่วยกันผ่อนเพื่อถ้าคู่รักเสียชีวิตบ้านจะได้ตกเป็นของเราบ้าง
2.2 ทำเรื่องกู้ร่วมซื้อบ้าน วิธีนี้ยื่นกู้ซื้อบ้านกับธ.ที่ปล่อยกู้ โดยมีคนนึงเป็นผู้กู้หลัก อีกคนเป็นผู้กู้ร่วม แต่โฉนดต้องใส่ชื่อเจ้าของร่วมทั้งสองคน ทำให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ทั้ง 2คน
อธิบายเพิ่มเติม การกู้ร่วมนั้นกรรมสิทธิ์หลังโฉนดจะมีชื่อตามจำนวนผู้กู้ร่วม ข้อเสียอย่างหนึ่งที่แบงค์พิจารณาคือ ความสัมพันธ์ของผู้กุ้เป็นใคร ถ้าพ่อแม่นั้นแบงค์ไม่ห่วง ถ้าเป็นพี่น้องหรือแฟนนั้นแบงค์จะคิดความเสี่ยงในเรื่องของ การทะเลาะหรือการเลิกรา และกระทบต่อการผ่อนชำระเป็นหลักนั้นเอง
และเมื่อต้องแยกทางกันต้องการขายบ้านหรืออสังหาฯ ที่ครอบครองด้วยกันสามารถทำได้โดยการเซ็นยินยอมจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมของเราและแฟนโดยจะเหมือนกันการซื้อบ้านด้วยเงินสด คือทำหนังสือสัญญามีลายลักษณ์อักษรตกลงกันเรื่องผลประโยชน์กันล่วงหน้าเพื่อความสบายใจของทั้งสองฝ่าย เมื่อขายได้ก็ต้องจ่ายเงินคือให้กับแบงก์ที่ทำเรื่องกู้ โดยหากได้ส่วนต่างเท่าไหร่ก็แบ่งตามสัดส่วนคนละครึ่งหรือตามตกลงในสัญญาแต่ถ้าขายได้แล้วยังไม่พอก็ต้องตกลงกันว่าจะจ่ายเพิ่มคนละเท่าไรนั้นเองค่ะแล้วมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการผ่อนต่อสามารถทำได้ไหม
โดยวิธีนี้จะทำได้ก็จะอยู่ที่ทางธนาคารจะทำการ ประเมินความสามารถของฝ่ายที่ต้องการผ่อนต่อ ถ้าในกรณีที่ธนาคารเห็นว่าผ่อนต่อได้ก็แค่ให้กู้ร่วมอีกฝ่ายเซ็นยินยอม ก็เป็นอันเรียบร้อย เราก็จะได้บ้านหลังนั้นมาผ่อนต่อ แต่ถ้าธนาคารเห็นว่าเรามีคุณสมบัติที่ไม่สามารถผ่อนต่อคนเดียวได้ ก็ยากที่จะถอนชื่อผู้กู้ร่วมออก
ดังนั้นทางออกของปัญหานี้สามารถทำได้โดยการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่นเพื่อเปลี่ยนชื่อกู้ร่วมคะ สุดท้ายถ้าตกลงกันไม่ได้ และต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผ่อนต่อเพียงคนเดียวจนหมด โดยวิธีนี้ถ้าเจอคนที่เลิกกันไปแล้วไม่สนใจไม่ยินยอมที่จะขายหรือช่วยผ่อนต่อ ทำให้เราต้องผ่อนคน เพราะจะขายก็ไม่ได้ เนื่องจากกู้ร่วมจะขายได้ต้องเซ็นยินยอมทั้ง2ฝ่าย
โดยเมื่อเราจำเป็นต้องผ่อนบ้านคนเดียวเมื่อผ่อนไปสักระยะควรทำการ ฟ้องศาล โดยทำการอ้างว่าทำการผ่อนชำระบ้านมาคนเดียวโดยตลอด โดยมีหลักฐานในการหักหนี้จากธนาคารทุกเดือน ดังนั้นทำให้ฝ่ายเราที่มีสิทธิเหนือกว่าในการนำสืบถึงการผ่อนชำระราคาบ้านโดยลำพังต่อศาลได้ เพื่อที่จะให้ศาลเพิกถอนชื่อเจ้าของร่วมออกจากโฉนด ทำให้เรามีสิทธิ์ความเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวคะ
สรุป ถ้าซื้อด้วยเงินสดคงเป็นทางออกที่ยุ่งยากน้อยที่สุด ค่ะและควรที่จะ ทำหนังสือสัญญามีลายลักษณ์อักษรตกลงกันให้ชัดเจนไปเลยแค่ถ้าไม่มีเงินสด การทำเลือกกู้อาจจะต้องทำการไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่เเน่นอนค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า