สวัสดีคะวันนี้เรามาพบกันอีกครั้ง โดยครั้งนี้เราจะพูดถึง เมื่อ แนวโน้ม ดอกเบี้ยบ้าน สูงขึ้น เราจะรับมืออย่างไรดี โดยเหตุที่ ดอกเบี้ยขยับปรับขึ้นนั้นส่งผลกระทบ ทุกๆคนหลายชนชั้นไม่ว่าจะเป็น พนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า จนถึงนักธุรกิจ ที่ไม่ว่าจะกู้เงินมาเพื่อ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต จนรวมไปถึงท่านที่กู้มาทำธุรกิจต่าง พากันได้รับภาระผ่อนค่างวดสูงขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ที่รายได้เท่าเดิมแต่รายจ่ายสูงขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจะขอนำเสนอแนวทางต่อสู้กับ แนวโน้มดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยคะ
ดอกเบี้ยบ้าน ปรับขึ้นใหม่ รับมือไม่ยากกว่าที่คิด
หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์หลายๆแห่งทยอยปรับดอกเบี้ยกู้บ้านขยับเป็น 0.05-0.25% หรือหลายๆธนาคารก็เปลี่ยนแพ็กเกจการอนุมัติสินเชื่อ จากเดิม จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว 3-5 ปี
ก็เริ่มที่จะปล่อยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวแล้ว นี้คือสัญญาณที่บอกว่าลูกหนี้จะต้องเสียเงินผ่อนมากขึ้นตามแนวโน้มดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนรถยนต์ก็โดนด้วยเช่นกันปรับเป็น 0.5-1% ด้านลูกหนี้บัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคลอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตยังคงที่ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคุมเพดานกำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตไม่เกิน 18% และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกิน 28% ทีนี้เราจะขอยกตัวอย่าง ในกรณีที่กู้บ้าน ภาพรวมเมื่อมี การขึ้นดอกเบี้ยทุก 1% จะมีผลทำให้ค่างวดผ่อนสินเชื่อเพิ่มขึ้น 7% ตัวอย่างเช่นเมื่อกู้เงินมา 1 ล้าน นั้นจะทำให้เราต้องเสียเงินผ่อนเพิ่มอีกเดือนละ 700 บาทต่อเดือน และนอกจากนี้สินเชื่อบ้านอีกกว่า 70% จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวนั้นเอง
แนวทางรับมือ ดอกเบี้ยขยับขึ้น
1.จากช่วงก่อนปรับอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะมีการแข่งขันสูงนิยม ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก 0-1.99% หรือ ดอกเบี้ยคงที่ 3-5 ปี อยู่ที่ 3.5-5.5% แบบอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได เมื่อหมดโปรโมชั่น ก็จะถูกปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็นดอกเบี้ยลอยตัว นั้นจะทำให้ผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ MRR 7.12-8.50% แนวทางแก้ปัญหานั้นเมื่อหมดโปรโมชั่นก็ควรไปธนาคารเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เปลี่ยนมาเป็นดอกเบี้ยใหม่ที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่าในธนาคารเดิมที่เรากู้ หรือ จะ รีไฟแนนซ์ กับธนาคารแห่งใหม่ที่ให้สัญญาเงินกู้ที่ถูกลงกว่าเดิม ข้อดีสำหรับในการรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมคือง่ายในการทำสัญญาใหม่แต่อาจจะได้โปรโมชั่นที่น้อยกว่าธนาคารอื่น กลับกันถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น ก็จะต้องคำนึงถึงความยุ่งยากในการขอสินเชื่อใหม่ตั้งแต่ต้นแต่จะให้โปรโมชั่นที่ดีกว่าธนาคารเดิม เพิ่มเติมหลักการที่ดีในการดูสิ นเชื่อไม่ควรดูโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำในระยะเวลาสั้นๆ ควรจะดูที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีหรือดอกเบี้ยระยะยาว นอกจากจะไม่ต้องห่วงเรื่อง อัตราดอกเบี้ยลอยตัว และไม่ต้องกังวลเมื่อเวลาดอกเบี้ยมี การเปลี่ยนแปลงขึ้นลง สุดท้ายแล้วยังไงเราก็หนี้ ดอกเบี้ยปรับขึ้นไม่ได้อยู่ดีคะ
2.ส่วนอีกวิธีคืดการ โปะหนี้ โดยวิธีนี้ถ้าเรามีเงินก้อนในมือเราแนะนำให้เอามาโปะหนี้จะดีที่สุดแต่ถ้าใครที่ไม่มีเงินก้อน เราแนะนำให้จ่ายมากกว่าเดิมในแต่ละเดือนเพื่อช่วยลดเงินต้น เพียงจ่ายเพิ่มแค่ 10% จากการผ่อนชำระเดิม
ก็สามารถช่วยย่นระยะเวลาการผ่อนให้หมดหนี้เร็วขึ้นได้หลายปีแล้วคะ และยังลดภาระดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกอีกด้วยตามตัวอย่างสูตรการปลดหนี้บ้านแบบง่ายๆดังนี้
ยอดกู้ 1 ล้าน ระยะผ่อน 25ปี ดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งหมด 721,000 บาท
เทคนิกปลดหนี้แบบผ่อนมากกว่ายอดขั้นต่ำที่กำหนด 10 % ระยะผ่อนเหลือ 20 ปี ดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งหมด 574,000 บาท ลดลง 18%
เทคนิกปลดหนี้แบบ เพิ่มยอดเงินอีก 4 เท่าของยอดปกติ (รวมเป็น x5) ระยะผ่อนลดลง 15 ปี ดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งหมด 425,000 บาท ลดลง 40%
เทคนิกปลดหนี้แบบ ผสมทั้งสองแบบแรก ระยะผ่อนเหลือ 11 ปี เท่านั้น ดอกเบี้ยที่จ่ายทั้งหมด 375,000 บาท ลดลง 46%
สรุปแนวทาง การรับมือดอกเบี้ยบ้านปรับขึ้น ที่เราอยากแนะนำคือ การโปะหนี้ประเภทลดต้นลดดอกเพราะดอกเบี้ยลดลงอย่างชัดเจนนอกจากนี้ยังช่วยให้เราผ่อนย้านในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วยคะ เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนะคะและพบกันใหม่ครั้งหน้า