DotProperty.co.th

ต้นแบบเกาะลอยน้ำแห่งแรก เพื่อโลกและเพื่อเรา ณ ปูซาน เกาหลีใต้

วิกฤตสภาพอากาศกลายเป็นวาระเร่งด่วนที่เราต้องร่วมกันแก้ไขเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าร้ายแรงเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์กันเอาไว้อย่างมาก ยิ่งจำนวนประชากรลดลงน้อยลงไม่สัมพันธ์กับทรัพยากรของโลกที่มีอยู่ ทั่วโลกจึงร่วมกันหาทางออกอย่างเร่งด่วน

หนึ่งในปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้าคือการหายไปของชายฝั่งทะเล เพราะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายส่งผลให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นกินพื้นที่ชายฝั่งทะเล ผู้คนมากมายจะไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน นั่นก็คือเมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City

เมืองลอยน้ำ หรือ Oceanix City เกิดจากแนวคิดของ bjarke ingels group หรือ BIG ร่วมมือกับ UN-Habitat นักพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน, บริษัทเอกชน Oceanix, สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์และ The Explorers Club สร้างเมืองลอยน้ำให้เป็นจริงในปูซาน เกาหลีใต้

เมืองลอยน้ำออกแบบขึ้นเพื่อแก้ปัญหา

เมืองลอยน้ำเกิดจากการแก้ปัญหาเรื่องของพื้นที่อยู่อาศัยที่ลดน้อยลงและการรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ขณะเดียวกันเราก็ต้องการวิธีที่จะใช้ชีวิตโดยลดภาระให้โลกมากที่สุดด้วยเช่นกัน เรามาดูวิธีแก้ปัญหาของเมืองลอยน้ำกันครับ

การขาดแคลนพื้นที่อยู่อาศัย

เมืองลอยน้ำแห่งนี้สร้างเป็นทรงหกเหลี่ยมแยกเป็นเกาะเล็กๆ และออกแบบมาให้รองรับคนเกาะละ 1,650 คน ทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้ว่าจะรองรับคนได้ประมาณ 10,000 คน โดยสามารถขยายออกได้อีกในอนาคต

รองรับความแปรปรวนของสภาพอากาศ

เมื่อสร้างขึ้นมารองรับคนจำนวนมากถึง 10,000 คนและยังลอยอยู่ในมหาสมุทรอีกด้วยจึงต้องมีความแข็งแรงมากพอที่จะเผชิญกับพายุทั้งเฮอริเคนซึ่งสามารถทนได้ถึงระดับ 5 น้ำท่วมและสึนามิ และยังสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วย

คุณสมบัติของเกาะลอยน้ำ

ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองลอยน้ำคุณสมบัติที่มีอยู่ย่อมไม่ธรรมดาเพราะ BIG ได้ออกแบบให้เมืองลอยน้ำสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในวิถีของความยั่งยืนจึงมีคุณสมบัติดังนี้

แข็งแรงทนทานและเคลื่อนย้ายได้

ฐานของเมืองลอยน้ำสร้างมาจาก Biorock ซึ่งแข็งแรงทนทานอย่างมากหากเทียบกับคอนกรีตทั่วไปแล้วยังแข็งแรงกว่าถึง 3 เท่าเลยทีเดียว ส่วนของอาคารบนเกาะสร้างจากวัสดุยั่งยืนจากธรรมชาติ เมื่อต้องการจอดอยู่ที่ใดจะทอดสมอลง หากเกิดภัยพิบัติขึ้นก็สามารถเคลื่อนย้ายหนีได้

สร้างอาหารและน้ำดื่มได้บนเกาะ

เมืองลอยน้ำมีแนวคิดของเมืองยั่งยืนเป็นส่วนประกอบดังนั้นจึงมีการจัดวางพื้นที่เพื่อการเกษตรเป็นที่ว่างเอาไว้เกาะละ 3,000 ตารางเมตร และยังมีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถเก็บอาหารทะเลหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารเอาไว้ด้วยเรียกว่าเป็นการผสานวิถีชีวิตของคนชายฝั่งเอาไว้ด้วยนั่นเอง

นอกจากปัจจัยสำคัญอย่างอาหารแล้วยังมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเช่นกังหันลม กังหันน้ำและแผงโซลาร์เซลล์เอาไว้ด้วยเพื่อให้เกาะสามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเองทั้งหมด

เดินตามแนวคิดวิถียั่งยืน

เพื่อให้เป้นเมืองที่มีวิถียั่งยืนไม่สร้างภาระให้กับโลกอีกเมืองลอยน้ำจึงถูกออกแบบให้ไม่มีการวิ่งยานพาหนะบนนั้นแต่จะมีบริการยานพาหนะไร้คนขับหรือโดรนส่งอาหารให้ใช้บริการแทนและในเรื่องของการจัดการขยะก็ถูกออกแบบให้ใช้ท่อลมในการส่งขยะไปยังศูนย์คัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ต่อไปด้วย

หากแนวคิดนี้สามารถพัฒนาต่อได้ย่อมเป็นการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและการอยู่รอดของมนุษย์ครั้งสำคัญอย่างแน่นอน เพราะจากการคาดการณ์แล้วในอนาคตเนื้อที่ของแผ่นดินจะลดน้อยลง และเรายังต้องเจอกับพายุหรือภัยธรรมชาติที่รุนแรงอยู่ทุกปี ทำให้เมืองลอยน้ำเป็นหนทางแก้ปัญหาที่ครอบคลุมได้เกือบทุกปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญในอนาคต แม้จะไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืนที่สุดก็ตาม

ที่มา https://www.dezeen.com/2019/04/04/oceanix-city-floating-big-mit-united-nations/ 

https://www.designboom.com/architecture/bjarke-ingels-big-floating-city-oceanix-04-04-2019/ 

ที่มารูปภาพ https://www.azuremagazine.com/article/big-oceanix-city-bjarke-ingels/