ชาวกทม.-ปทุม เฮ จ่อผุดถนนลอยฟ้าเชื่อมรังสิต-องค์รักษ์แก้รถติด

ถนนลอยฟ้า

กทม. มอบของขวัญปีใหม่ เอาใจ ชาวกทม.-ปทุม เตรียม เปิดหวูดรถไฟฟ้า 2 สาย จ่อผุด ถนนลอยฟ้า เชื่อมรังสิต-องค์รักษ์ แก้รถติด

รถไฟฟ้า

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และรัฐบาลได้มอบของขวัญปีใหม่ 2562 ให้กับประชาชน โดยได้เปิดใช้โครงการข่ายใหม่เพื่อช่วยปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และ จ.ปทุมธานี

 

เปิดใหม่ 2 โครงข่ายสะพาน-ถนน

ถนนลอยฟ้า

คือ ถนนตัดใหม่ต่อเชื่อมพหลโยธินกับลำลูกกา ระยะทาง 2.4 กม. สร้างอยู่ใต้โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะช่วยย่นระยะทางจากเดิมต้องอ้อมไปกลับรถที่ธูปะเตมีย์ แล้วเลี้ยวเข้าถนนลำลูก แต่ถนนสายใหม่นี้จะเป็นทางลัดใช้เวลาเดินทางประมาณ 2-3 นาทีเท่านั้น คาดว่าจะมีปริมาณการจราจรอยู่ที่ 20,000 คันต่อวัน

อีกจุดคือเปิดใช้สะพานลอยรถยนต์ข้ามแยกเกษตร ในแนวถนนพหลโยธินซึ่งสร้างอยู่ใต้โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนขยายสายนี้เช่นกันที่เปิดใช้ไปแล้ว จะช่วยลดความแออัดแยกเกษตรได้เป็นอย่างดี ในปี 2562 ภายในเดือน ก.พ.จะเปิดใช้สะพานลอยข้ามแยกเสนาและแยกรัชโยธินตามลำดับ

ปัจจุบันระบบการจราจรด้านเหนือ จ.นนทบุรี และปทุมธานี มีความคล่องตัวเป็นอย่างมาก ซึ่ง จ.ปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ ที่ผ่านมาได้เปิดใช้ถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่ต่อเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก ในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนพื้นที่ย่ายลำลูกกา คูคต รังสิต จะมีถนนเชื่อมพหลโยธิน-ลำลูกกาเปิดใช้ ส่วนสุดท้ายจะแก้ความแออัดบนถนนรังสิต-นครนายก ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.) มีแผนก่อสร้างโครงการถนนลอยฟ้า จากรังสิต-องครักษ์ สร้างบนเกาะกลางถนนเดิมสูงขึ้นมาอีก 1 ชั้น

ทั้งนี้มีการหารือกันถ้าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินการได้เร็วจะมอบให้ กทพ.เป็นผู้ดำเนินการ จะใช้เงินที่เหลือจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFF) มาก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จจะทำให้กรุงเทพฯโซนเหนือ โซนตะวันตกและตะวันออก ปัญหาการจราจรจะคลี่คลาย

 

แนวเส้นทางถนนใหม่หมื่นล้าน

ถนนลอยฟ้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม สำหรับโครงการถนนลอยฟ้าหรือทางยกระดับช่วงรังสิต-องค์รักษ์ ทางกรมทางหลวง ได้ศึกษาศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเสร็จแล้ว ระยะทางประมาณ 20 กม. แนวเส้นทางโครงการจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณ กม.2+300 ของทางหลวงหมายเลข 3100 มีรูปแบบเป็นทางยกระดับและกำหนดจุดขึ้น-ลงไว้ 2 แห่ง คือ บริเวณ กม.2+300 ของทางหลวงหมายเลข 3100 และบริเวณ กม.3+322.134 ของทางหลวงหมายเลข 346

จากนั้นแนวเส้นทางที่มาจากทางขึ้น-ลงทั้ง 2 แห่ง จะมาบรรจบกันที่ กม.2+626.319 ของทางหลวงหมายเลข 3100 โดยแนวเส้นทางจะวางตัวขนานกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งทิศเหนือและแนวจะเลี้ยวลงสู่ทิศใต้สู่คันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งใต้ขนานแนวคันป้องกันน้ำท่วมของกรมโยธาธิการและผังเมือง จากนั้นแนวจะเลี้ยวซ้ายมุ่งตรงสู่ทิศตะวันออก ข้ามทางรถไฟสายเหนือซึ่งเป็นบริเวณตอนใต้ของประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ และจะขนานตามแนวคลองรังสิตประยูรศักดิ์ฝั่งใต้ บริเวณ กม.3+400 ตัดข้ามถนนพหลโยธิน โดยแนวจะเลี้ยวซ้ายข้ามคลองรังสิตประยูรศักดิ์เพื่อที่จะไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 305กม.4+338.70 รวมระยะทาง 5.238 กม. แนวช่วง กม.1+148.600-กม.4+338.700 ระยะทาง 3.190 กม. จะเป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีการเวนคืนที่ดินใหม่

โดยการก่อสร้างจะเป็นเพียงการก่อสร้างตอม่อบนคันคลองผิวจราจรจะลอยอยู่เหนือคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์และแนวเส้นทางที่มาบรรจบทางหลวงหมายเลข 305 แนวเส้นทางจะวางตัวอยู่บริเวณเกาะกลางของทางหลวงหมายเลข 305 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการ กม.18+200 ของทางหลวงหมายเลข 305 ระยะทางรวมทั้งสิ้น 20.300 กม. รูปแบบเป็นทางยกระดับขนาด 4-6 ช่องจราจร ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ค่าก่อสร้าง 10,740 ล้านบาท และค่าเวนคืน 320 ล้านบาท

ปัญหารถติด

ประยุทธ์ สั่งแก้ ปัญหารถติด เตรียมสร้าง สะพาน-อุโมงค์ทางลอด ทั่วกรุงยึดโมเดลสี่แยกรัชโยธินเป็นต้นแบบ

ปัญหารถติด

มาแล้ว  ทางด่วนใต้ดินเส้นแรกในไทย  ถนนนราธิวาส-สำโรง เดินแก้ ปัญหารถติด

 

ที่มา  prachachat.net

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก