DotProperty.co.th

ทราบกันเสี่ยง…ข้อควรระวังในการประมูลบ้านและคอนโดจากกรมบังคับคดี

ทราบกันเสี่ยง01

เป็นที่ทราบกันดีว่าการซื้อบ้านหรือคอนโดขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดีนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านและคอนโดNPA ของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตามหากเราทราบข้อควรระวัง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญในการลงทุนกับการประมูลอสังหาริมทรัพย์ จากกรมบังคับคดีได้ เหล่านักลงทุนและว่าที่เจ้าของบ้านมือใหม่จะต้องระวังในเรื่องต่อไปนี้

ทราบกันเสี่ยง02

1. ในวันประมูลหากเจ้าของทรัพย์สินเดิมหรือจำเลยไม่มาเข้าร่วมการประมูลในวันประมูลไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม
โดยปราศจากการชี้แจงเหตุผลหรือการแจ้งยินยอมให้เกิดการประมูล การประมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้ แม้จะมีการนัดและผู้ประมูลมากัน
พร้อมก็ไม่สามารถเริ่มประมูลได้
2. เจ้าของทรัพย์สินเดิมในฐานะลูกหนี้ หรือจำเลยสามรถฟ้องคัดค้านราคาได้ 1 ครั้งตามกระบวนการทางกฎหมายซึ่
งอาจส่งผลให้การประมูลเป็นโมฆะ
3. ผู้ลงทุนจะต้องคำนวณต้นทุนราคาที่เหมาะสมไว้ในใจให้ดี เพราะหลายครั้งผู้รับจำนอง หรือทางสถาบันการเงิน
ที่เป็นโจทก์ของทรัพย์สินดังกล่าวจะทำการสู้ราคาจนกว่าจะได้ราคาที่สูงอย่างที่ประเมินไว้ ซึ่งหลายครั้งการสู้ราคานี้ทำให้บ้านและ
คอนโดนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ผู้ลงทุนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย

ทราบกันเสี่ยง03

4. ปัญหาเรื่องการฟ้องขับไล่ เป็นปัญหาที่จะต้องคำนึงและระวังมากที่สุด และนับเป็นเรื่องที่สร้างปัญหา
ให้แก่ผู้ลงทุนในNPAที่ขายทอดตลาดมากเป็นอันดับต้นๆ แม้กรมบังคับคดีจะให้อำนาจศาลส่งการให้ผู้อาศัยเดิม
เป็นผู้บุกรุกสามารถออกจากบ้านได้ทันที แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะเป็นยังไง
ใช้เวลาเท่าไหร่ผู้อาศัยเดิมจึงจะออกจากบ้าน และปัญหานี้ยังส่งผลให้การขอสินเชื่อจากธนาคารมีปัญหาเพราะทางสถาบันการเงิน
จะเข้าประเมินทรัพย์สินไม่ได้หากผู้อยู่อาศัยไม่อนุญาต ส่งผลให้การปล่อยกู้อาจไม่สำเร็จ มีผลให้อาจไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือ
ให้แก่กรมบังคับคดีในระยะเวลาที่กำหนดทำให้เสี่ยงที่จะไม่ได้บ้านและคอนโดนั้นและยังต้องเสียค่าประกัน และค่าใช้จ่ายอื่นๆให้แก่
กรมบังคับคดีด้วย

ทราบกันเสี่ยง04