DotProperty.co.th

ทำความรู้จัก REIT หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

จากครั้งที่แล้วเราได้พาไปทำความรู้จัก ทรัสต์(Trust) กันแล้ว คราวนี้เรามาต่อกันที่ REIT (Real Estate Investment Trust) ซึ่งเป็นกองทรัพย์สินที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีลักษณะเป็นกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเหมือนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์โดยกองทรัพย์สินที่ต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ถือกรรมสิทธิ์โดยทรัสตี (Trustee) ซึ่งทรัสตีมีอำนาจดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินในกองทรัสต์รวมทั้งดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์(REIT manager) เพื่อประโยชน์ของผู้ถือใบทรัสต์ โดยผู้ถือใบทรัสต์จะเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินของกองทรัสต์ โดย REIT จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

ประโยชน์ของ REIT

หากจะบอกว่าประโยชน์ของ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง เราก็ต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นั่นก็คือ เจ้าของทรัพย์สิน,ผู้ลงทุนทั่วไป และกองทรัสต์ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีดังนี้

 

เจ้าของทรัพย์

ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สามารถนำอสังหาริมทรัพย์สามารถนำอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้แล้วมาลงทุนเพื่อนำเงินไปใช้ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ เพื่อนำเงินส่วนนั้นไปใช้ในการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์รายใหม่ต่อไป

ผู้ร่วมลงทุนทั่วไป

กองทรัสต์

 

โครงสร้างและขั้นตอนการจัดตั้ง

ในการจัดตั้งนั้น ผู้จัดการกองทรัสต์ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหน่วยทรัสต์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้จัดการกองทรัสต์จะเสนอขายหน่วยทรัสต์ผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) โดยผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จะโอนเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหน่วยทรัสต์ให้แก่ทรัสตีเพื่อนำเงินดังกล่าวที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อันจะเห็นได้ชัดจากแผนภาพด้านล่างนี้

 

ผู้จัดการกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

คุณสมบัติ

  1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)ที่มีความพร้อมด้านบุคลากรและระบบงาน
  2. บริษัทที่เป็นนิติบุคคลไทย

– มีทุนชำ ระแล้ว 10 ล้านบาท

– ประกอบธุรกิจหลักเป็น RM/หากมีธุรกิจอื่นต้องมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

– มีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด

– มีกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

หน้าที่และความรับผิดชอบ

 

Trustee (ทรัสตี)

คุณสมบัติ

  1. สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตีในปัจจุบัน
  2. บริษัทที่สถาบันการเงินถือหุ้น ≥ 99% และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นทรัสตี (เฉพาะREIT)

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ที่มา : เว็บไซต์ SET และ whareit.com

หากสงสัยว่ากองทรัสคืออะไร อ่านบทความเกี่ยวกับทรัสต์ได้ที่

ทรัสต์ คืออะไร เกี่ยวอะไรกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก