ทำไมฤดูหนาว = ฤดูฝุ่น? เจอกันทุกปีอย่างนี้ควรทำอย่างไร

หลังจากที่สามเดือนที่เราต้องเผชิญกับน้ำและอุทกภัยในหลายพื้นที่ผ่านพ้นไปเราก็เข้าสู่ฤดูแห่งภัยฝุ่นอย่างฤดูหนาวต่ออีกราวห้าเดือน ฝุ่น pm 2.5 วนเวียนเหมือนเป็นวัฏจักรอยู่กับเรามาหลายปีแล้วไม่ถือเป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เมื่อรวมเข้ากับโรคระบาดทำร้ายปอดอย่าง Covid-19 แล้วนี่นับเป็นความเลวร้ายคูณสองสำหรับเราเลยทีเดียว

ว่าแต่ ทำไมเราต้องเจอกันในทุกฤดูหนาว

ทำไมฝุ่นกลับมาในทุกฤดูหนาว

ความจริงแล้วฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง pm 2.5 ไม่ได้หายไปไหนเลย บนชั้นบรรยากาศอันกว้างใหญ่ยังคงล่องลอยอยู่บนนั้นและสามารถล่องลอยอยู่ได้นานมากกว่า 20 ปีเลยทีเดียว เพียงแต่เมื่อถึงช่วงเวลาที่ความกดอากาศสูงจากทางตอนเหนือเคลื่อนตัวลงมาปกคลุมพื้นที่ของประเทศไทยทำให้พื้นดินคลายความร้อนขึ้นไปด้านบน เหนือพื้นดินมีอุณหภูมิเย็นกว่า แต่ว่าเหนืออากาศร้อนที่ลอยขึ้นไปด้านบนยังมีความกดอากาศกดเอาไว้อีกทีหนึ่งทำให้เกิดเป็นกรงขังฝุ่นควันไม่ให้ลอยออกไป ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน

https://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/4761-winter-and-pm25.html
https://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/4761-winter-and-pm25.html

ซึ่งฝุ่น pm 2.5 ที่เราจะได้รับกันก็เป็นจากกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดฝุ่นเช่น ฝุ่นควันจากยานพาหนะ ไฟไหม้ป่า หรือมลพิษจากโรงงาน ที่เดิมทีจะลอยขึ้นไปแต่เพราะความกดอากาศที่ดันเอาไว้จนเกิดเป็น “อากาศปิด” ทำให้ลอยออกไปไม่ได้นั่นเอง

วิธีรับมือกับ pm 2.5

มีกิจกรรมในสังคมเมืองหลายอย่างที่สร้างฝุ่น pm 2.5 ขึ้นมาและเรายังไม่สามารถหาวิธีทดแทนหรือแก้ไขได้เร็ววัน เพราะการแก้ไขที่ได้ผลชะงักอย่างแท้จริงจะต้องเป็นการแก้ไขระยะยาวที่ปรับกันทั้งสังคม ดังนั้นในเวลานี้จึงต้องพยายามปกป้องดูแลตัวเองเท่าที่ทำได้กันไปก่อน ซึ่งดอทก็ได้รวบรวมสิ่งที่เราควรทำเมื่อเผชิญกับ pm 2.5 ว่าจะต้องรับมืออย่างไรบ้าง

สวมหน้ากากที่ถูกต้องเมื่อออกจากบ้านหรืออาคาร

young Asian woman wearing Surgical face mask against Novel coronช่วงนี้ปอดของเราอยู่ในความเสี่ยงสูงอย่างมากเพราะไม่เพียงฝุ่น pm 2.5 ที่กำลังกลับมาเรายังมี Covid-19 ที่ยังไม่จากไปอีกอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้นหน้ากากที่สามารถใส่ได้จึงต้องถูกจำกัดวงลง เรามาดูกันว่าอะไรที่สามารถใส่ได้บ้าง

หน้ากาก N95

เป็นหน้ากากที่ดีที่สุดในการป้องกันฝุ่นละออง pm 2.5 และ pm 10 ที่กำลังกลับมาได้ไม่น้อยกว่า 95% และยังสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ด้วย ประสิทธิภาพในการป้องกันนับว่าสูงกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปมากทีเดียว

หน้ากาก FFP1

หน้ากาก FFP1 มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ N95 คือสามารถดักจับอนุภาคขนาดเล็กอย่าง pm 2.5และ pm 10 ได้ไม่น้อยกว่า 94% แต่มีคุณสมบัติมากกว่าตรงที่สามารถป้องกันสารเคมี ฟูมโลหะได้ด้วย

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ปกติใช้สำหรับการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสจากคนสู่คนได้ 99% สามารถป้องกันฝุ่นและเกสรดอกไม้ได้แต่ในแง่ของการกันฝุ่นละออง pm 2.5 สามารถกันได้เพียง 66.37% หากใส่สองชั้นจะมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 89.75% สามารถใช้ทดแทนแก้ขัดกันได้

ละเว้นการออกนอกอาคาร

ถึงแม้เราจะมีหน้ากากอนามัยแต่ฝุ่น pm 2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอื่นได้หรือจะติดตัวเราเข้าสู่อาคารก็ได้เช่นกัน ดังนั้นหากเป็นไปได้ช่วงที่มีฝุ่น pm 2.5 ให้เลี่ยงการออกไปเดินที่โล่งแจ้งหรือการออกกำลังกายข้างนอกไปก่อน

ไม่เปิดหน้าต่างห้องบ่อย

145082326_mช่วงที่มีฝุ่น pm 2.5 ล่องลอยอยู่ใกล้ชิดแบบนี้การเปิดหน้าต่างระบายอากาศให้กับห้องเป็นเรื่องที่ควรระวังอย่างมาก เพราะจะกลายเป็นการเปิดรับฝุ่นเข้ามาแทน ช่วงเวลาที่แนะนำให้เปิดจะเป็นช่วงเวลาเที่ยงที่ฝุ่นจะลอยตัวขึ้นสูง แต่ไม่แนะนำให้เปิดบ่อยมากนัก เป็นไปได้เราใช้เครื่องฟอกอากาศหรือต้นไม้ฟอกอากาศแทนกันไปก่อน

ในช่วงเวลาที่ฝุ่น pm 2.5 กลับมาเสริมทัพทำลายปอดกับ covid-19 แบบนี้เราต้องคอยระมัดระวังสวมหน้ากากให้ถูกต้องเพราะหลายคนอาจจะชินกับการใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์จนลืมเปลี่ยนประเภทหน้ากากเป็นหน้ากาก N95 ยิ่งกับคนที่เคยเป็นcovid-19 ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับปอดของคุณได้มากกว่าคนอื่นขึ้นไปอีก ลำพังเพียงผลกระทบของ covid-19 ก็มากแล้วช่วงนี้จึงต้องคอยระวังรักษาสุขภาพกันให้ดีนะครับ

ข้อมูลจาก https://www.nsm.or.th/other-service/664-online-science/knowledge-inventory/sci-article/sci-article-science-museum/4761-winter-and-pm25.html 

https://www.bangkokbiznews.com/business/967950