ที่ดินตาบอด กับสิทธิในการร้องขอ “ทางจำเป็น”

ที่ดินตาบอด

จะเห็นได้ว่ายังมีผู้ที่ประสบปัญหาในการเข้าออกพื้นที่ของตน เนื่องจากที่ดินผืนนั้นเป็น ที่ดินตาบอด ซึ่งอาจจะเกิดจากการแบ่งขายจากที่ดินเดิมที่เคยติดกับถนนสาธารณะ หรือเกิดจากการซื้อขายที่ดินล้อมรอบเพื่อเป็นการบีบบังคับกลายๆให้ที่ดินตาบอดนั้นมีราคาที่ต่ำลง จึงเป็นเหตุให้มีกฎหมายบังคับใช้ “ทางจำเป็น” เกิดขึ้น เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่มีที่ดินตาบอดได้มากยิ่งขึ้น

 ที่ดินตาบอด

ทางออกสำหรับผู้มี ที่ดินตาบอด

เพื่อไม่ให้เป็นการเอารัดเอาเปรียบจากการกว้านซื้อที่ดินของเหล่านายทุน ที่มีการกว้านซื้อที่ดินโดยรอบเพื่อให้ที่ดินที่ตกเป็นที่ดินตาบอด ไม่สามารถกระทำการสัญจรเดินทางเข้าออกได้ หวังที่จะทำให้ที่ดินราคาตก ทางด้านกฎหมายเองก็ออก ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1349 เพื่อช่วยผู้ที่เจอปัญหาของการมีที่ดินตาบอด โดยที่ มาตรา 1349 มีใจความว่า

“ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้

ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ

ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้

ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้”

กล่าวคือ หากที่ดินที่ท่านได้ถือครองอยู่ ถูกล้อมรอบด้วยที่ดินทางอื่นจนไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ทางกฎหมายแล้วสามารถร้องขอ “ทางจำเป็น” เพื่อให้ที่ดินแปลงที่ถูกล้อมรอบนั้น สามารถเข้าออกทางสาธารณะได้ โดยที่ทางจำเป็นนั้นสามารถเป็นทั้งทางบกและทางน้ำได้เช่นกัน แต่ที่จะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นทางบกสามารถสร้างเป็นถนนขนาดที่พอเหมาะแก่การสัญจรโดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินผืนที่ตัดผ่านน้อยที่สุด หรือทางน้ำ สามารถสามารถสร้างสะพาน หรือใช้เรือเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ด้วยเช่นกัน และทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายต่อเจ้าของที่ดินผืนที่ใช้ตัดผ่านด้วย โดยจะคิดจากขนาดของพื้นที่ที่เสียไปในการใช้ทำเป็นทางสัญจรเข้าออก ว่ามีขนาดมากน้อยแค่ไหน หากตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้เป็นผู้กำหนดค่าตอบแทนตามความเหมาะสม

 

ที่ดินตาบอดที่แบ่งแยก แบ่งโอน มาจากที่ดินเดิม

นอกจากนี้ หากกรณีที่ดินผืนที่เป็นที่ดินตาบอด เป็นการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินเดิมอยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ระบุว่า

“ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน เป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันและไม่ต้องเสียค่าทดแทน”

กล่าวคือ หากมีการแบ่งแยก หรือแบ่งโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่เป็นที่ดินตาบอด เจ้าของที่ดินตาบอดนั้นสามารถขอทางจำเป็นโดยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายทดแทนใดๆจากที่ดินที่ได้แบ่งแยกออกมาก่อนหน้านี้

หลักเกณฑ์การขออนุญาต จัดสรรที่ดิน สำหรับแบ่งขาย

หลักเกณฑ์การขออนุญาต จัดสรรที่ดิน สำหรับแบ่งขาย

 

 

ที่ดิน

ที่ดิน ถูกประกาศขายทอดตลาดไปโดยไม่รู้ตัว ต้องทำยังไง?

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก