ในการมอบอำนาจต่างๆในการกระทำการเกี่ยวกับ ที่ดิน หากผู้ที่ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่สามารถไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือที่สำนักงานที่ดินที่อำเภอด้วยตัวเองได้ กฎหมายยอมให้สามารถมอบหมายให้ผู้ใดผู้หนึ่งที่เชื่อถือไว้วางใจได้จริงๆไปทำการแทนได้ โดยผู้นั้นต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน ทั้งนี้ควรมอบบัตรประชาชนของผู้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
ควรระวัง และรอบคอบในการมอบอำนาจกระทำการต่างๆเกี่ยวกับ ที่ดิน
เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวังหรือกระทำการให้รัดกุมรอบคอบ มิฉะนั้นอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายได้อย่างร้ายแรง ฉะนั้น จึงควรทำตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัด หนังสือมอบอำนาจควรใช้ตามแบบของกรมที่ดินซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ ที่ดินมีโฉนดแล้ว กับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด หากใช้กระอื่นควรเขียนข้อความตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินเพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง
ข้อแนะนำในการเขียนข้อความตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน มีดังนี้
- ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้าน โรงเรียน ให้ชัดเจน
- ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อ ขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ระบุเข้าไปด้วย
- อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกัน
- ถ้ามีการลบ แก้ไข หรือขีดฆ่า ให้ระบุขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจลงรายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
- อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความ เมื่อกรอกข้อความครบแล้วก็ให้อ่านก่อน หากถูกต้อง จึงค่อยลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ห้ามลงชื่อในกระดาษเปล่าๆ เป็นอันขาด
- มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ต้องมีพระยาน 2 พยานต้องเซ็นชื่อ จะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้มอบอำนาจ ต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยาน และให้บันถึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย
- หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตและสถานกงศุลรับรองด้วย
- ผู้มอบอำนาจที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าผู้มอบอำนาจจะยังมีอายุอยูหรือไม่ และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่ ควรให้ผู้ปกครองท้องที่เชื่อถือได้รับรองก่อน
- ควรพิจารณาบุคคลที่จะรับมอบอำนาจจากท่าน ควรที่จะเป็นบุคคลที่ท่านเองเชื่อถือได้หรือรู้จักชอบพอกันมานาน หรือเป็นญาติพี่น้องกัน อย่ามอบอำนาจให้กับผู้ที่ไม่รู้จักมักค้นกันมาก่อน
- บางเรื่องผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ เป็นผู้แทนทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้โอน และผู้รับโอน ในกรณีเช่นนี้ ผู้มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นตัวแทนอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
- ถ้าไม่จำเป็นจริงๆควรทำธุระกิจต่างๆเกี่ยวกับที่ดินด้วยตนเอง จะเป็นการปลอดภัยและสะดวกกว่า แม้จะเสียเวลาไปบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าศูนย์เสียทรัพย์