จากการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาด ที่อยู่อาศัย ในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2560 ที่มาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ โครงการรถไฟฟ้า แต่ปี2019ภาพรวมที่อยู่อาศัยอาจจะมีผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยจากสาเหตุมาตรการควบคุมสินเชื่อได้
สถานการณ์ ที่อยู่อาศัย ในปี 2019 ยังสดใสหรือไม่?
จากสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในปีนี้ ในเขต กรุงเทพและปริมณฑล มีอุปสงค์และอุปทานปรับตัวดีขึ้นและยังรวมไปถึงมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ ที่ดีเหล่านักลงทุกขยายตัวต่อเนื่อง เพราะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวของจำนวนหน่วย 5% มูลค่ารวมเพิ่มขึ้น 14.6% ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ เพิ่มขึ้น 13.3% ด้านอุปทานเองก็มีการเพิ่มขึ้นของหน่วยอยู่อาศัย เปิดขายใหม่ 28.5% มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 32.6%
ด้านตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดภูมิภาค อุปสงค์และอุปทานปรับก็มีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่เเล้ว โดยมีการโอน กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 7.8% การโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 9.8% โดยจังหวัดที่มียอดโอนมากที่สุดตกเป็นพื้นที่ ในจังหวัดEEC ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง แต่ด้านอุปทานการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวลดลง 5.1% ด้านอาคารชุดก็ลดลง 67.9% จากสาเหตุที่ยังมีมีอุปทาน ที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ด้านแนวราบพื้นขึ้นสวนทาง 5.6% โดยสรุปภาพรวมนั้นทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ทั้งภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว การลงทุนของภาครัฐ หลากหลายโครงการ โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ทำให้ปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ส่วนสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในปี 2019 คาดการณ์ว่าสถานการณ์ ต้นปีอาจจะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพราะว่า มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.2562 อาจจะทำให้ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีการเร่งตัวก่อนที่จะมีมาตรการบังคับใช้ได้ แต่หลังจากที่ทาง มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีผลบังคับใช้แล้วจะกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และในพื้นที่ภูมิภาค อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่ชะลอตัวทั้งอุปสงค์และอุปทาน ในปี 2019