ทุ่ม 6 หมื่น เปลี่ยน เมืองหลว งเป็นมหานครไร้สายไฟฟ้าพร้อมสร้างอุโมงค์ยักษ์กันน้ำท่วมกรุง…!!!
กัดฟันทุ่ม 6 หมื่นล้าน
นาย กีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการขับเคลื่อนแผนงานแผนเงินลงทุน โดยเฉพาะมหานครอัจฉริยะ smart metro grid ที่จะเป็นภารกิจสำคัญในปีนี้ โดยเป็นโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 215 กม. เงินลงทุนประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จไปแล้ว 46.6 กม. เช่น ถ.สุขุมวิทบางช่วง ถ.พหลโยธินบางช่วง และ ถ.พญาไท เป็นต้น
อยู่ระหว่างดำเนินการ 169 กม. ตั้งเป้าจะเซ็นสัญญางานที่เหลือให้ได้ทั้งหมดภายในปีนี้ รวมมูลค่างาน 20,000-30,000 ล้านบาท เช่น ช่วง ถ.พระราม 4-ถ.อังรีดูนังต์, ถ.สาทร-ถ.เจริญราษฎร์, ถ.พหลโยธินช่วงห้าแยกลาดพร้าว-ถ.รัชดาภิเษก และช่วงแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)
“ปีนี้ถนนที่จะดำเนินการแล้วเสร็จมี ถ.พิษณุโลก-นครสวรรค์ ช่วงแยกนางเลิ้ง-แยกเทวกรรม และ ถ.เพชรบุรี แยกยมราช-แยกอุรุพงษ์ รวมระยะทาง 0.3 กม. และ ถ.นานา ช่วง ถ.สุขุมวิท-คลองแสนแสบ รวมระยะทาง 0.75 กม. จะรื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้”
ส่วนโครงการ ถ.สาธุประดิษฐ์ และ ถ.สว่างอารมณ์ รวมระยะทาง 2 กม. และโครงการ ถ.วิทยุ รวมระยะทาง 2.1 กม. กำหนดรื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.นี้
นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์สายส่งไฟฟ้าใต้ดินไปยังพื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ในช่วงถนนชิดลม -ถนนสารสินตลอดแนว และถนนเพลินจิตจากสี่แยกชิดลม-สี่แยกเพลินจิต ระยะทาง 1.3 กม. เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ยักษ์ขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร อยู่ลึกประมาณ 40 เมตร มีความยาวของอุโมงค์ 1,800 เมตร จะเป็นอุโมงค์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าแล้ว 40% จะเสร็จปลายปี 2563
“ยังลงทุน 1,000 ล้านบาทก่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าต้นทางบริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อใช้งานรองรับการใช้งานที่มีทั้งระบบรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงด้วย ปัจจุบันคืบหน้า 60-70% จะแล้วเสร็จพร้อมกับกำหนดเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อภายในเดือน ม.ค. 2564”
ผู้ว่าการ กฟน.ยังอัพเดตการเดินหน้าติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันมีอยู่ 12 สถานี และขยายเพิ่มเติมเป็น 21 สถานีภายในปี 2562 พร้อมให้บริการออกแบบและติดตั้งเครื่องชาร์จไฟยานยนต์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยของลูกค้าโดยผู้เชี่ยวชาญ และสนับสนุนกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นในประเทศ
เช่น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น Nissan MG รวมทั้งกระทรวงพลังงาน เพื่อเดินหน้าสู่ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาล ที่ตั้งเป้าในปี 2579 จะมีทั้งหมด 1.2 ล้านคัน
ที่มา prachachat
นับถอยหลัง 29 ส.ค.นี้ พบกับ บ้านมือสอง ราคาถูกจาก ธอส. เริ่มต้น 5 แสนบาท
ทุ่ม 1.5 พันล้าน ยกเครื่องใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต แก้ปัญหาน้ำท่วม