ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อนและหลังน้ำท่วม

น้ำท่วม

ณ เวลานี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับพี่น้องชาวไทยในแถบภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้ประสบอุทกภัย หรือ น้ำท่วม กันอย่างแสนสาหัส วันนี้เราจึงนำ ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อนและหลังน้ำท่วม เพื่อเป็นการป้องกันความปลอดภัยให้กับทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ประสบภัย

 

ข้อควรปฏิบัติ สำหรับการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านก่อน น้ำท่วม

  1. นำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ขึ้นสู่ที่สูง หรือ ยกเหนือระดับน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  2. ตัดวงจรไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วอันจะก่อให้เกิดอัตรายต่อชีวิต

 

ข้อควรปฏิบัติการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านหลังน้ำท่วม

ภายหลังน้ำท่วม อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แช่อยู่ในน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ก่อนน้ำท่วม เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปั๊มน้ำ ตู้เย็น เต้ารับ สวิตซ์ไฟ ฯลฯ เพื่อความปลอดภัย ก่อนนํามาใช้งานต้องตรวจสอบ สภาพความสมบูรณ์โดยช่างไฟฟ้าที่ชํานาญเท่านั้น ควรตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าตามลําดับ ดังนี้

  1. แผงเมนสวิตซ์ โดยการดับไฟฟ้าปลดคัทเอาท์และถอดฟิวส์หรือปลด (OFF) เซอร์กิตเบรกเกอร์ ก่อนตรวจสภาพสายไฟฟ้า คัตเอาท์ ฟิวส์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ สายต่อลงดิน
  2. ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ตรวจสภาพสายไฟฟ้า ไฟฟ้าแสงสว่าง เต้ารับ เต้าเสียบ สายพ่วง อุปกรณ์เครื่องเสียง วิทยุโทรทัศน์
  3. ห้องครัว ตรวจสภาพสายไฟฟ้า ไฟฟ้าแสงสว่าง เต้ารับ เต้าเสียบ สายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
  4. ภายในครัว
  5. ห้องนอน ตรวจสายไฟฟ้า ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เต้ารับ เต้าเสียบ สวิตซ์
  6. ห้องน้ำตรวจไฟฟ้าแสงสว่าง สวิตซ์ เต้ารับ เครื่องทําน้ำอุ่น และระบบป้องกันกระแสรั่วลงดิน
  7. ห้องเก็บของ ตรวจไฟฟ้าแสงสว่าง สวิตซ์ เต้ารับ
  8. ไฟฟ้านอกบ้าน ตรวจไฟฟ้าแสงสว่าง สวิตซ์ เต้ารับชนิดป้องกันน้ำ

 

การตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์แต่ละส่วน

  1. แผงเมนสวิตซ์: คัทเอาท์ คาร์ทริดจ์ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์มีสภาพสมบูรณ์ไม่แตกร้าวไม่เปียกชื้น สายต่อลงดินมีสภาพสมบูรณ์ไม่ชํารุดหรือหลุดจากหลักดิน ขั้วต่อต่างๆ ต้องแน่น
  2. สายไฟฟ้า : สายไฟฟ้ามีสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกร้าว ไม่บวม และไม่เปียกชื้น ไม่ถูกรัดหรือบาดกับโลหะ การเดินสายไฟ สายต่อพ่วงโคมไฟ สายวิทยุโทรทัศน์ไม่วางกีดขวางทางเดิน สายดินเครื่องทําน้ำอุ่นมีสภาพปกติ
  3. เต้ารับและสวิตซ์ชนิดติดตั้งบนผนัง/เคลื่อนที่ได้: มีสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกร้าว ไม่เปียกชื้น และแห้งสนิท ไม่มีน้ำขังในรูปลั๊ก
  4. เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า : หลอดไฟฟ้าสภาพปกติ ไม่ขาด พร้อมใช้งาน อุปกรณ์และ เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์แห้ง ไม่เปียกชื้น เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วของเครื่องทําน้ำอุ่นใช้งานได้ปกติ ทดลองกดปุ่มตรวจสอบไฟรั่วที่เครื่อง

 

โดยหากท่านไม่แน่ใจ ท่านสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง หมายเลข 1130 หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1129 เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง

 

ข้อมูลอ้างอิง : สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

น้ำท่วม

10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วม ขังซ้ำซาก

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก