สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยวันนี้เราจะขอพูดเรื่องการโปะ บ้าน ที่หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบ เพื่อถ้าหลายๆท่านที่ไม่อยากเสียค่าดอกเบี้ยจ่ายสูงเกือบเท่ากับวงเงินกู้ ดังนั้นการเลือกที่จะโปะหนี้บ้านในเวลาที่ได้เงินก้อนมา จึงเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยใช่ไหนละค่ะ เพราะจะยิ่งช่วยให้เรานั้นประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคารอีกมาก
เรามาดูกันว่า เมื่อเราคิดจะโปะ บ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
- การโปะบ้านนั้น ยิ่งโปะบ้านเรายิ่งมีกรรมสิทธิของบ้านหลังนั้นมากขึ้น เพราะว่า บ้านคือ สินทรัพย์ถาวร ที่ดีที่สุด การโปะเงินต้น 1 บาท = คุณมี กรรมสิทธิ ความเป็นเจ้าของมากเท่านั้น ยิ่งโปะเงินต้นได้มาก คุณยิ่งมี กรรมสิทธิ ในบ้านมากตาม ยิ่งใครมีบ้านทำเลที่ดีนั้นอาจจะทำให้เราขายบ้านหลังนั้นได้กำไรมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย
- โปะบ้านไม่ได้เสียค่าธรรมเนียม สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าถ้าเรานำเงินไป โปะหรือปิดบ้านต้องเสียค่าธรรมเนียมนั้นจริงๆแล้วเราสามารถที่จะจ่ายค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือน ได้มากกว่าที่ธนาคารกำหนด เช่นในแต่ละเดือน ต้องจ่ายค่าบ้าน 20,000 แต่ในเดือนนั้นเราสามารถ จ่ายเพิ่มเป็น 40,000 บาทได้ด้วย แต่เพื่อไม่ประมาทก็ควรจะตรวจสอบในสัญญาเงินกู้บ้าน หรือสอบถามโดยตรงกับธนาคารเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดได้ค่ะ
- เปลี่ยนจากการนำเงินไปโปะบ้านมานำเงินไปลงทุนอาจจะได้ผลที่ดีกว่าจริงหรือ? เชื่อว่าหลายๆท่านคิดว่าทำไมเราไม่นำเงินไปลงทุนละ นั่นอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็ได้ แน่นอนว่าการนำเงินไปลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนดีกว่าการที่เรานำเงินมาโปะบ้านแน่นอนแต่ต้องอย่าลืมด้วยนะค่ะว่าการลงทุนทุกๆอย่างก็มีความเสี่ยงสูงตามมาด้วยเช่นกัน อย่างเช่น หุ้นหรือกองทุนหุ้น ที่มีความเสี่ยงสูงก็มีโอกาสที่จะกำไรหรือขาดทุน ต่างกับการที่เราเลือกนำเงินก้อนไปโปะบ้านเพราะนั่นไม่มีความเสี่ยง และยังช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้อย่างแน่นอนอีกด้วยค่ะ
- ควรสำรองเงินไว้สำหรับเลี้ยงชีพ ตามสูตร รายจ่าย+จ่ายหนี้ 6-12 เดือนก่อน นั่นคือมีครบแล้วค่อยเอาเงินไปโปะบ้าน เพราะว่าการที่เราเอาเงินสดไปโปะบ้านเลยอาจจะมีความเสี่ยง เช่น คนที่รักเข้าโรงพยาบาล รถเสียต้องซ่อม หรือเราอาจจะพบเจออุบัติเหตุ นั่นคือความเสี่ยงที่เราอาจจะต้องเจอในชิวีต เพราะว่าต่อให้เราจ่ายเเบงก์ตามกำหนดหรือเป็นลูกหนี้ที่ดีแต่ถ้าเดือนไหนที่คุณไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ทันตามกำหนดเวลาของเเบงก์ แบงก์จะเกิดดอกเบี้ยบ้านที่คุณจ่ายเงินช้าทันทีโดยที่ทางเเบงก์จะไม่สนใจว่าคุณเป็นลูกหนี้ดีมาแล้วกี่ปีก็ตาม