เก็บเงินอย่างไร? จึงจะซื้อ บ้าน ในราคาเกิน 3 ล้าน ได้

สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง ในวันนี้เรามาเเนะนำวิธีที่จะช่วยเก็บเงินอย่างไรถึงจะซื้อ บ้าน ในราคาเกิน 3 ล้าน ได้ โดยการเก็บเงินซื้อบ้านหรือคอนโดเป็นวิธีแรกๆที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเก็บเงินซื้อบ้านกัน แต่ว่าจะเก็บอย่างไรละถึงจะสามารถซื้อบ้านแฝดในราคาเกิน 3 ล้าน  ได้ละ เรามาหาคำตอบกันค่ะ ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่า โครงการบ้านแต่ละโครงการนั้นเรามีขั้นตอนต้องจ่ายและเสียเงินไปอย่างไรบ้าง มาลองแจกแจงดูกันก่อน เผื่อใครยังไม่ทราบค่ะ

บ้านส่วนที่ต้องจ่ายให้กับ บ้าน แต่ละโครงการ แยกราคาออกเป็นส่วนๆได้ดังนี้

ราคาบ้าน 4,000,000 บาท
เงินจอง 30,000 บาท
เงินทำสัญญา 90,000 บาท
เงินดาวน์ 300,000 บาท
ยอดโอนกรรมสิทธิ์ 3,580,000 บาท (คนที่กู้กับธนาคารก็จะผ่อนกับธนาคาร)
ค่าส่วนกลางเก็บล่วงหน้า 3 ปี
(ตร.ว.ละ 30 บาท)
37,800 บาท
ค่ากองทุน (ตร.ว.ละ 300 บาท) 10,500 บาท
ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% 40,000 บาท
ค่าจดจำนองวงเงินกู้ 34,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายในวันโอน 122,300 บาท

 

จากที่เราได้แจกแจงไปข้างต้นนั้น หลายๆท่านอาจจะคิดว่าแล้วเมื่อไหร่เราจะเก็บเงินได้ละนี่!!! เพราะว่าเราจะต้องจ่ายอีกแสนกว่าบาทในวันโอนบ้าน จากบ้านหลังละ 4 ล้าน แต่จ่ายจริงถึง 4.122 ล้าน เลยทีเดียว….. แต่ถ้าเรามองดีๆเงิน 4 ล้านกว่าบาทนี้ ก็ไม่ได้จำเป็นต้องจ่ายทันทีนะคะ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราก็จะสามารถเตรียมเงินและวางแผนให้ดีว่าเราจะต้องใช้เงินก้อนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

แต่ถ้าในกรณีที่เรากำลังจะซื้อบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ ยังไม่สามารถเข้าไปอยู่ได้โดยทันที่ จากที่เจ้าของโครงการบอกว่าจะเสร็จในอีก 1 ปีข้างหน้า นั่นจะทำให้เราต้องมาวางแผนการเงินก่อนที่จะถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ว่าต้องจ่ายเงินอย่างไรบ้าง เราจะขอแยกเป็นข้อๆให้ทุกๆคนได้อ่านกันค่ะ

บ้าน

  • เงินจอง

โดยในส่วนมากแล้วจะมีมูลค่าที่จะไม่เกิน 1 % ของราคาตัวบ้านในกรณีตัวอย่างคือ 40,000 บาท ซึ่งเราจะต้องทำการจ่ายทันทีเหมือนเป็นการจองบ้านหลังนั้นไว้ก่อน แต่เราอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้นเต็มตัว เพราะโครงการต้องไปเตรียมทำสัญญาซื้อขายก่อน เพราะถ้าหากเราเปลี่ยนใจไม่เอาบ้านหลังนี้ขึ้นมาเจ้าของโครงการบางโครงการอาจจะริบเงินจองเราไปได้ หรือบางกรณีถ้าเราทำเรื่องขอกู้แต่ธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้บางโครงการก็อาจจะคืนเงินให้เราค่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องตรวจเช็คให้ดีก่อนจองกันนะคะ

  • เงินทำสัญญา

โดยปกติจะมีมูลค่าตั้งแต่ 1% ไปถึง 5% ของราคาขาย แต่ถ้าบางโครงการเป็นโครงการที่หรูหราราคาแพงมากๆเราอาจจะต้องจ่ายเงินค่าทำสัญญาถึง 7-10 % เลยทีเดียวค่ะ ฉะนั้นเงินทำสัญญาจึงมีมูลค่ามากกว่าเงินจอง แต่ในปัจจุบันเราก็สามารถที่จะรูดบัตรเครดิตได้ โดยการตกลงที่จะทำสัญญาซื้อขายเราต้องดูข้อตกลงให้ชัดเจนว่า ห้องชุดเท่าไหร่ พื้นที่ตรงตามที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่โดนเจ้าของโครงการแอบลักไก่ค่ะ

  • เงินผ่อนดาวน์

ส่วนใหญ่โครงการจะมีการปรับให้มีรูปแบบเงื่อนไขสำหรับการผ่อนชำระเงินดาวน์เป็นงวดๆได้ เช่น ชำระเงินดาวน์งวดละ 15,000-20,000 บาทจำนวน 20 งวด โดยส่วนมากจะไม่มีอัตราดอกเบี้ยใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นผลดีมากๆ สำหรับท่านใดที่ไม่มีเงินดาวน์ นอกจากนี้บางโครงการอาจจะมีข้อเสนอพิเศษ อีกมากมายเลยด้วยซ้ำค่ะ ดีไม่ดีอาจจะได้ส่วนลดอีกจำนวนมาก

  • ค่าส่วนกลาง

เนื่องจากบ้านจัดสรรโดยส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ส่วนกลาง ดังนั้นทางเจ้าของโครงการเลยจัดตั้งนิติบุคคลเป็นผู้ดูแล ไม่ว่าจะเรื่อง ท่อน้ำประปา ถนน ผนังอาคาร ลูกบ้าน แม่บ้าน สโมสรและอีกหลายๆอย่าง จะจัดเป็นค่าส่วนกลาง ดังนั้นทางโครงการบ้านจึงจำเป็นต้องเก็บเงินค่าส่วนกลาง โดยปกติจะเก็บเป็นรายปี โดยวิธีการจัดเก็บจะมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ บ้านที่มีพื้นที่ 30 ตารางเมตร ค่าส่วนกลาง 30 บาท ดังนั้น ให้เราเอา 30 บาทไปxพื้นที่ 30 ตารางเมตร ดังนั้นเราจะต้องจ่าย 900 บาท ในวันโอนกรรมสิทธิ์ค่ะ

  • ค่าจดจำนอง

ธนาคารจะเรียกเก็บในส่วนของวงเงินกู้ซื้อบ้าน โดยจะมีอัตราส่วนคือ 1% ของวงเงินสำหรับกู้ จากตัวอย่าง 34,000 บาท เมื่อจะกู้ธนาคาร 3,580,000 บาท

บ้าน

สรุปง่ายๆจากที่เราแนะนำว่า จะเก็บเงินอย่างไรถึงจะซื้อบ้านในราคาเกิน 3 ล้านได้

เราควรจะเก็บเงินก้อน โดยแบ่งเป็น 2 กอง กองแรก ไว้สำหรับค่าเงินจองกับส่วนทำสัญญา เป็นจำนวนเงิน 120,000 บาท จากนั้นก็เตรียมผ่อนดาวน์ระยะเวลาประมาณ 20 เดือน จำนวนเดือนละ 15,000-20,000 บาท กองที่ 2 สำหรับใช้จ่ายในวันโอนในจำนวนเงิน 122,300 บาท ทำเรื่องขอกู้จากธนาคารให้ได้ในวงเงิน 3,580,000 บาท ซึ่งมีวิธีที่ง่ายที่สุดคือการ กู้ร่วม

 

สุดท้ายถ้าคนที่จะย้ายเขาไปอยู่อาจจะต้องเอาไว้เป็นค่าตกแต่งเพิ่มเติมในกรณีที่บ้านไม่มีเฟอร์นิเจอร์มาให้ค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ เมื่อเรารู้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรากล่าวไปแล้ว เราจะต้องคิดและวางแผนให้รัดกุมรับรองเลยว่าบ้านหลังแรกจะไม่ไกลเกินเอื้อม

 

สนใจข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมจาก Dotproperty คลิ๊ก …