DotProperty.co.th

วิธีคิด การประเมินราคาบ้านและที่ดิน จากต้นทุนแบบง่ายๆ

สำหรับวิธีการการ ประเมินราคาบ้าน ที่ได้รับความนิยมสูงตามหลักสากล ที่นิยมอีก1วิธีคือการนำราคาต้นทุนจริงๆของบ้านและที่ดินมาทำการประเมิณ นอกจากนี้ยังสามารถประเมินร่วมกับวิธีอื่นได้อีก ทั้ง การประเมินจากรายได้และการประเมินจากราคาตลาด

 

การ ประเมินราคาบ้าน และที่ดิน จากต้นทุนแบบง่ายๆ

โดยแนวคิด การประเมินราคาบ้าน จากต้นทุนคือ ราคาของสินทรัพย์จะมีราคาเท่ากับราคาต้นทุน แต่จะมีการหักค่าเสื่อมราคาอีกนิดหน่อย สำหรับวิธีการประเมินจากต้นทุนนั้น นิยมใช้วางแผนสิ่งปลูกสร้างในเมือง เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ซับซ้อนมากนัก และยังสามารถนำมาคิดราคาสินทรัพย์จำนวนมากๆได้ นอกจากนี้ยังเหมาะกับการประเมินสินทรัพย์ที่มีการซื้อขายน้อยรายที่อาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบกับราคาบ้านได้ โดยขั้นตอนการประเมินราคาบ้าน จากต้นทุนมีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1.คำนวนหาราคาของสิ่งปลูกสร้างใหม่  2.คำนวนหาค่าเสื่อมราคาแล้วนำมาหักออกจากราคาคำนวนสิ่งปลูกสร้างใหม่ 3.รวมมูลค่าของที่ดินและสิ่งอื่นๆ (ในที่นี้หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ดินกับที่ดิน) ก็จะได้ราคาประเมินของทรัพย์สินนั้นๆ

 

3 วิธีการคำนวนหาราคาทดแทนใหม่หรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ ที่นิยมใช้

1.วิธีสำรวจปริมาณ

จะเป็นวิธีการหาค่าทดแทนที่ละเอียดและนิยมใช้กันในหมูผู้รับเหมา ในการคำนวนหาปริมาณวัตถุ เพื่อทำการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องผ่านการคำนวนค่าใช้จ่ายก่อน 3 อย่างนี้ซ่ะก่อนและเอามารวมกันจึงจะได้ราคาทดแทนใหม่ของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ค่าใช้จ่าย 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือ ค่าใช้จ่าย ทางตรง ค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เราจะมาดูกันว่าในเขาหมายถึงอะไรกันบ้างไปรับชมกันเลยครับ

ค่าใช้จ่ายทางตรง

1.1 ค่าวัสดุ ผู้รับเหมาจะคำนวนหาค่าวัสดุจากปริมาณของวัสดุจากแบบแปลน
1.2 ค่าแรงงาน จะต้องคำนวน ณ สถานที่ที่ทำการประเมิน
1.3 ค่าเช่าและซื้อเครื่องมือก่อสร้าง

ส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อม จะไม่ได้เกี่ยวกับการก่อสร้างโดยตรง แต่เป็นในลักษณะทางอ้อม เช่น ค่าวิศวกรคุมงาน ค่าประกันภัย ค่ารักษาความปลอดภัย เป็นต้น

 

2.คำนวณค่าทดแทนเป็นหน่วย

เช่น พื้นจะใช้การคำนวณหาตรางเมตรของพื้นที่ทั้งหมด ที่มีลักษณะสิ่งก่อสร้างเหมือนกัน แล้วนำมาคิดว่า ใน 1 ตาราเมตรนั้น จะใช้คอนกรีตและค่าแรงเท่าไหร่ แล้วนำมาคูณเข้ากับตารางเมตรทั้งหมดก็จะได้ราคาพื้นที่ทั้งหมด ในส่วนอื่นก็สามารถใชได้เช่นกัน เมื่อนำราคาทั้งหมดจากการคำนวนมารวมกันก็จะได้ราคาต้นทุนของทรัพย์สินนั้น

3.วิธีการเปรียบเทียบ

วิธีนี้จะต้องใช้ผู้ประเมินราคาที่มีความสามารถพอสมควรที่จะประเมินราคาสิ่งก่อสร้างหลังอื่นที่มีลักษณะคล้ายๆกัน เพื่อนำมาเป็นเกณฑ์ของราคาสิ่งปลูกสร้างของเรา เพื่องบจะได้ไม่บานปลาย

 

ขั้นตอนและสูตรคำนวนค่าเสื่อมราคาแบบง่ายๆ

สำหรับสูตรการหาราคาของสิ่งปลูกสร้างใหม่จะต้องคำนวนหาค่าเสื่อมราคาเพื่อที่จะนำไปหักออกจากราคาของสิ่งปลูการ้างให้ของเรา ค่าเสื่อราคาที่มีความเกี่ยวข้องจะมีด้วยกันอยู่ 3 แบบ คือ

  1. ค่าเสื่อมราคาทางกายภาพ หมายถึงค่าเสื่อราคาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามการใช้งานและตามอายุของทรัพย์สิน
  2. ค่าเสื่อราคาด้านการใช้งาน จะเกิดการความล้าสมัยของบ้าน
  3. ค่าเสื่อมราคาภายนอก เกิดจากบ้านและที่ดินใช้ประโยชน์ได้ลดลง

 

ตัวอย่างการประเมินจากราคาต้นทุน

Ex.1 (แบบง่ายๆ) ต้องการประเมินราคา ตึกแถว 2 ชั้นกว่าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร ปลูกมาแล้ว 4 ปี

ขั้นแรก ให้ประมาณต้นทุนการก่อสร้างอาคารใหม่ในแบบเดียวกัน   600,000 บาท

ขั้นที่ 2 ประมาณค่าเสื่อราคาของอาคาร              -20,000 บาท

ขั้นที่ 3 ราคาที่ควรเป็นของอาคาร        600,000-20,000 = 580,000 บาท

ขั้นที่ 4 ประมาณราคาที่ดิน   150,000 บาท

ขั้นสุดท้าย หาราคาประเมิน 580,000+150,000 = 730,000 บาท

 

Ex.2 (แบบยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง) บ้านอยู่อาศัยหลังหนึ่งมีอายุ 5 ปี สภาพดี  เป็นบ้านเดี่ยว 250 ตร.ม. มีที่จอดรถ 2 คัน ขนาดโรงรถ 60 ตารางเมตร บ้านมีดาดฟ้า สระว่ายน้ำ มีชุดครัวพร้อม จากการสำรวจที่ดินว่างพื้นที่เท่าๆกัน ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ เพิ่งขายไปได้ 2,000,000 บาท

มูลค่าสร้างบ้านใหม่ (250 ตร.ม. x 5,000 บาท/ตร.ม.ซึ่งเป็นต้นทุนสร้างใหม่)   1,250,000 บาท

ค่าปรับปรุงบ้าน     350,000 บาท

ดาดฟ้า สระน้ำ      600,000 บาท

โรงรถ (60 ตร.ม. x 3,000 ตร.ม. ซึ่งเป็นทุนสร้างใหม่)        180,000 บาท

รวม                   2,380,000 บาท

 

หักค่าเสื่อมทางกายภาพ ประมาณ 8% 195,000 บาท

หักค่าเสื่อมทางการใช้งาน ประมาณ 3% 97,000 บาท

หักมูลค่าทรัพย์สินหลังหักค่าเสื่อมราคาแล้ว 2,088,000 บาท

 

ปรับปรุงทำเล

ทางเดิน ทางรถ สภาพภูมิทัศน์              550,000 บาท

มูลค่าที่ดิน                                      2,000,000 บาท

ผลจากการประเมินต้นทุน                    4,638,000 บาท

 

ข้อดีของการประเมินจากต้นทุน

  1. ในกรณีที่ในตลาดมีข้อมูลไม่เพียงพอ
  2. สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การประกันภัย ฯลฯ
  3. ในกรณีที่การก่อสร้างมีวัตถุประสงค์เจาะจง ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบราคาตลาดหรือวิธีคำนวนจากรายได้ได้

ข้อเสียของการประเมินจากต้นทุน

  1. มูลค่าของทรัพย์สินจะขึ้นอยู่กับความละเอียดจากราคาทดแทน
  2. ค่าเสื่อมราคาจะมีผลต่อการประเมินราคา
  3. ไม่ได้คำนึงถึงตลาด

ส่อง ราคาประเมินที่ดิน ใหม่ทั่วไทย  สูงสุด พระราม 1 ตร.ว. ละ 1 ล้าน  ต่ำสุด ลพบุรี 20 บาท

 

วิธีคิดค่าเสื่อมราคา บ้านและคอนโด แบบเข้าใจง่าย  สำหรับคนซื้อและคนขาย

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก