สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งโดยวันนี้่เราจะมาดูตลาดภาพรวม อสังหา ฯ ในปีนี้กันค่ะว่าจะเป็นอย่างไร จะไปในทิศทางไหนบ้าง แนวโน้มทางอสังหาริมทรัพย์ไทยในปีนี้จะฟื้นตัวหรือไม่ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราไปชมกันเลยค่ะ
แนวโน้ม อสังหา ฯ ไทย กำลังฟื้นตัวจริงหรือ…?
เมื่องานสัมมนา 3 สมาคมวงการอสังหาริมทรัพย์ ประจำปี 2561 ที่ผ่านมานั้น ทางดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ได้เป็นเกียรติ ขึ้น บรรยายในหัวข้อ
“แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุนของโลกและไทย และผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2561” โดยท่านได้ทำการกล่าวสรุปดังนี้ เศรษฐกิจในประเทศไทยของเรานั้นเซอร์ไพรส์ว่าทำได้ดีขนาดนี้ เพราะว่ามีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คิดว่าเป็นนโยบายอุตสาหกรรม แต่ไม่คิดว่าเป็นนโยบายจีดีพี ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองเมื่อสองปีที่แล้ว จีดีพีจะกลับมาขยายตัว 4% เป็นไปได้จริงหรือ…? ถ้าว่ากันตามตรงก็คงจะใกล้เคียงแล้ว เพราะจากปกติเราตั้งประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจเพื่อที่จะปรับลดลงระหว่างกลางปี แต่ปีที่แล้วค่อนข้างเป็นไปตามประมาณการณ์ที่คาดไว้ รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐปีที่แล้วค่อนข้างไปในทางบวกเพราะมีการกลับมาฟื้นตัวได้เทียบเท่ากับช่วงก่อนมีปัญหาซับไพร์ม ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ปีนี้มีแนวโน้มคาดว่าค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นอีกนั้นอาจจะเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยปัญหาเศรษฐกิจไทยอยู่ที่จะกระจายตัวยังไง โดยเราอาจจะไม่ได้พึ่งภาคส่งออกเพียงอย่างเดียวเพราะว่าในปัจจุบันเราพึ่งตัวเลขเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศอย่างละครึ่ง/ครึ่ง โดยโจทย์ที่เราอยุ่แค่รอการฟื้นตัวจาก “เศรษฐกิจต่างประเทศ” เพราะการฟื้นตัวในไทยนั้นอาจจะดีขึ้นส่งผลให้การบริโภคของไทยเฉลี่ยปีละ 3% แต่ในมุมกลับกันเศรษฐกิจโลกกลับโตช้ากว่า
ทั้งนี้ประเทศไทยมีบริษัทส่งออกเพียง 20,000 ราย เท่าน้ันทั้งที่ประเทศไทยมีบริษัทถึง 3 ล้านราย โดย ในจำนวนนี้เป็นระดับเอสเอมอี 12,000 รายที่ไมได้ประโยชน์จากภาพรวมเท่าไร ทางด้านภาคเกษตรนั้นราคาสินค้าเกษตรก็ตกต่ำ ดังนั้นทางรัฐจะต้องรีบแก้ไขได้ภาพรวมให้โดยเร็วถ้าแก้ได้เร็วจะดีขึ้นเพราะเนื่องมาจากจมีการจ้างงานแรงงานเกษตรขึ้นถึง 32%
ซึ่งในตอนนี้เกิดสภาพปัญหาคือการจ้างงานเกษตรอย่างไร้ประสิทธิภาพและอีก 55% อยู่ในบริษัทขนาดเล็ก ซึ่งภาพใหญ่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้จึงต้องพึ่งให้เอสเอมอีเติบโตได้ดี ด้านในส่วนกำลังซื้อในประเทศ จะแบ่งออกดป็นสองส่วน คือกำลังซื้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กับกำลังซื้อในต่างจังหวัด ทางด้านภาคท่องเที่ยวเป็นตัวช่วยได้ในระดับรายจังหวัด ไม่ได้ช่วยต่างจังหวัดทั้งประเทศ
เพราะจังหวัดท่องเที่ยวมีเพียงไม่เกิน 10 จังหวัด โดยโตจากการใช้จ่ายของต่างชาติที่มีการกระจุกตัวในหัวเมืองหลัก 4 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ ชลบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล“ยกตัวอย่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัดทางผ่าน นักท่องเที่ยวเยอะแต่ได้ฝุ่นเพราะนักท่องเที่ยวนั่งรถผ่าน จึงไม่ช่วยกระจายรายได้ให้จังหวัด”
ทั้งนี้ ผลประกอบการเอสเอมอีแย่ที่สุด ตัวหลักมาจากหนี้เสียของเอสเอมอี ซึ่งรับผลกระทบจากหนี้เสียของผู้บริโภค เป็นเหตุผลที่ทำให้แบงก์เอกชนระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ โดยสองปีที่ผ่านมา วงการแบงก์เรียกว่า credit cycle ซึ่งจุดเสี่ยงสูงสุดเราผ่านมาแล้วในไตรมาส 3/60 จากนี้ไปเริ่มเห็นเป้าหมายการขยายตัวสินเชื่อสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงมองว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหนี้เสียสูงและเริ่มนิ่ง โดยต้องบริหารหนี้เสียไปพร้อมๆ กับบริหารสินเชื่อปล่อยใหม่
ปี 2561 แนวโน้มสินเชื่อน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้น ปีที่แล้วขยาย 4% ปีนี้มองไว้ที่โต 5-6% แต่กังวลสุดคือกลุ่มเอสเอมอี , โดยสินเชื่อคอร์ปอเรตขยายตัวดีในกลุ่มผู้ส่งออกในด้านดอกเบี้ย ปีนี้มีโอกาสขาขึ้นได้ แม้กนง.สามารถยืดได้ถึงปลายปี เราเห็นสัญญาณการกระจายตัวเศรษฐกิจมากเท่าไหร่ ในช่วงครึ่งปีแรกจะเป็นตัวบอกได้ดี เช่น ประเมินโต 3% แต่ทำได้ 3.2% เท่ากับส่งสัญญาณชัดเจน
ทั้งนี้ ปัญหาหลักของเศรษฐกิจไทยคือธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ, ตลาดพันธบัตรยังสามารถดูดซับได้อยู่ แม้หนี้เสียของพันธบัตรระยะสั้น (ตั๋วบีอี) แต่เราก็ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลไทยเจ๊ง ไม่เคยมีการผิดนัดชำระหนี้ ในขณะที่ 17,000 ล้านบาทของบีอี เทียบกับตลาดพันธบัตรเอกชนมีสัดส่วนเพียง 0.4% เท่านั้น เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลปล่อยไป 10 ล้านล้านบาท มีหนี้เสีย 3%
สรุปสั้นๆ ตลาดอสังหาฯ ปีนี้คาดหวังว่าดีขึ้น แต่ไม่ใช่ปีที่ร้อนแรง อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ตลาดโตเหนือจีดีพีอยู่ที่ 5% , ราคาที่ดินปรับขึ้นเร็วมาก ขึ้นเร็วก่อนโครงการจะเริ่มลงทุนด้วยซ้ำ , ค่าแรงที่ปรับขึ้นกระทบต่อต้นทุนโครงการด้วย, คอนโดแนวรถไฟฟ้ายังไปได้ดี, แนวราบยังขายได้ในกลุ่มเซกเมนต์กำลังซื้อสูง ขณะที่ตลาดล่างยังไม่ฟื้น-ต่างจังหวัดยังไม่ดี
“ภาคอสังหาฯ ปีนี้ไม่ใช่ปีที่ร้อนแรง แต่เป็นปีที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน”
ชี้อสังหาฯสดใสไม่ล้น
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC กล่าวว่าประเมินปี 2561 อสังหาฯจะเติบโตไปตามจีดีพีประเทศ คือเติบโตเกิน 4% ดัชนีชี้วัดอสังหาฯ จากที่ ธอส.เก็บข้อมูลชุดแรกหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งฐานข้อมูลที่สำคัญอย่างมากจะสะท้อนตลาดอย่างแท้จริง จากตัวเลขถึงไตรมาส 3 ปี 2559-2560 จะเห็นว่าช่วงท้ายปี 2559 ซึมถึงไตรมาสแรกปี 2560 ในปี 2560 มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ต่ำกว่าปีที่แล้วหแต่ยังเติบโต 6.1% ปีหน้าจะดีขึ้น
ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในปี 2561 จะเติบโตถึง 12% ขณะเดียวกันถ้าดูเรื่องสินเชื่อปล่อยใหม่ที่เกิดขึ้น ในปี 2559 อยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท ในปี 2560 ถึงไตรมาส 3 อยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท ถึงสิ้นปีนี้คาดว่าจะเป็น 6.2 แสนล้านบาท คาดว่าถึงสิ้นปี 2561 จะทะลุ 6 แสนล้านบาท ด้านซัพพลายและดีมานด์ทั้งประเทศโตกว่า 6% เติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น คาดว่าปี 2561 จะมีการจดทะเบียนจะเติบโตถึง 17% เพราะมีบ้านและคอนโดฯพร้อมโอนมากขึ้น โดยพื้นที่เขต กทม.และปริมณฑล จะเห็นการเติบโต 8.6% ใน กทม.จะมีการเติบโตของอสังหาฯดีกว่าในภูมิภาค มีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์จะเติบโต 15% สินเชื่อเติบโต 3.9% ส่วนภูมิภาคปีหน้าโตต่ำ โตแค่ 2.1%
“ปีหน้าซัพพลายในตลาดทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิดโอเวอร์ซัพพลาย ถึงสิ้นปีคาดว่าจะอยู่ 276,100 หน่วย กทม.และปริมณฑล แนวราบและคอนโดฯใกล้เคียงกัน ภูมิภาคจะมีคอนโดฯในเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ขณะที่แนวราบจะมากกว่า การขายคอนโดฯจะเร็วอยู่ที่ 8 เดือน แนวราบอยู่ที่ 10-13 เดือน ดูแล้วภาคอสังหาฯจะสดใสในปีหน้า”
ที่มา : prachachat
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่