กรุงเทพมหานครโดย สำนักการวางผัง และพัฒนาเมือง จัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนต่อร่าง ผังเมือง รวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน
ผังเมือง ใหม่ เน้นพัฒนาที่ดินแถวแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเปิดการประชุมถึงภาพรวมในการพัฒนาผังเมืองครั้งนี้ว่า มีการปรับปรุงในหลายด้านที่ ตอบโจทย์ประชาชน มีการให้สิทธิต่างๆ ทั้งด้านการรองรับผู้สูงอายุ การใช้ประโยชน์พื้นที่โล่ง รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่แถบชานเมือง การเพิ่มพื้นที่ สีเขียวของเมืองที่ยังกระจัดกระจาย ก็จะเปิดโอกาสให้รวมกันเกิดเป็นสวนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีความยั่งยืนกว่าสวนตามอาคารต่างๆ
รวมไปถึงการกำหนดกรอบแนวทางพัฒนาขยายถนนในอนาคต การพัฒนาเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีแดงมีเพียง 5-6% แต่จะเกิดพื้นที่ย่านธุรกิจใหม่ ที่รัชดา พระราม 9 และพัฒนาพื้นที่ด้านนอกเป็นชุมชนชานเมือง ขณะที่ พื้นที่สีเขียว และเขียวลาย รวมกันมี 55% โดยมีการพัฒนาระบบระบายน้ำของเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ในผังเมืองใหม่จะส่งเสริมพัฒนาแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก โดยเฉพาะใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางธุรกิจ จะเห็นการพัฒนาพื้นที่แนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ทั้งสายสีชมพู (แครายมีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ) เช่น เขตลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม คันนายาว สวนหลวง ศรีนครินทร์ ปรับจากสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นสีส้ม (ที่อยู่ อาศัยหนาแน่นปานกลาง)
และมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกันเป็นสถานีร่วมรัศมี 800 เมตร ของรถไฟฟ้า 10 สาย ประมาณ 50 สถานีร่วม พื้นที่ ปลายทางรถไฟฟ้าจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ ชุมชน (ซับเซ็นเตอร์) อาทิ มีนบุรี ศรีนครินทร์ ลาดกระบัง บางนา บางขุนเทียน บางแค ตลิ่งชัน และสะพานใหม่ โดยบางซื่อเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ย่านมักกะสันเป็นเกตเวย์อีอีซี ขณะที่ตากสิน-วงเวียนใหญ่ เป็นจุดเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง และสีม่วงใต้ อีกทั้งมีการเพิ่มโครงข่ายถนนจาก 136 สาย เป็น 203 สาย ทั้งก่อสร้างใหม่และปรับปรุงถนนซอยเดิมที่คับแคบ เพื่อเป็นโครงข่ายถนนสายรองเชื่อมกับถนนสายหลักและสถานีรถไฟฟ้า
ขั้นตอนจากนี้ จะรวบรวมความคิดเห็นประชาชน ปรับปรุงแก้ไขร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร นำเสนอคณะ ที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการผังเมือง พิจารณาให้ความเห็นชอบ และปิดประกาศฯ 90 วัน ซึ่งประชาชนที่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องได้ จากนั้นส่งกระทรวงมหาดไทยพิจารณานำเข้าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ประกาศราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ต่อไป ซึ่งคาดว่า จะมีผังเมืองรวมฉบับใหม่ประมาณปลายปี 256
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
พาส่องที่ดินทั่ว กทม.ของ เจ้าสัวเจริญ พร้อมแผนการพัฒนาและซื้อที่ดินเพิ่มในอนาคต
สำรวจภาพรวม ผลต่อตลาด อาคารสำนักงาน ออฟฟิศที่กำลังเปลี่ยนไป