เรามาต่อกันจากบทความที่แล้วกันเลยกับ “กรมบังคับคดี กับ การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ล้มได้ก็ต้องลุกให้เป็น!!” ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาต่อกันด้วยเรื่อง สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ ใน การฟื้นฟูกิจการ ว่าตัวผู้เป็นเจ้าหนี้มีหน้าที่ในการปฏิบัติอย่างไร สิทธิที่ตัว เจ้าหนี้ เองที่จะต้องได้ มีอะไรบ้างในกรณีใด ก่อนนำไปใช้ในชั้นศาล
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยมิได้คำสั่งตั้งผู้ทำแผน
- เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
- เจ้าหนี้ต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์เข้าประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผนตามแบบพิทพ์ ฟ.19 หรือ ฟ.19/1 ของกรมบังคับคดี พร้อมส่งหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม หากมอบให้ผู้อื่นแทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์ ฟ.12 หรือ ฟ.12/1 ของกลมบังคับคดี
- หลักฐานของความเป็นหนี้ หากเจ้าหนี้จะส่งสำเนาเอกสารต้องรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วน
- เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะขอตรวจหลักฐานแห่งหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
- ในการประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้จะออกไปเสียงด้วยตนเองหรือมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนได้ และต้องไปร่วมประชุมทุกครั้งเพื่อลงมติ
- เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายอื่นได้
- เจ้าหนี้มีสิทธิเสนอชื่อผู้ทำแผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ โดยเสนอพร้อมหนังสือยินยอมของผู้ทำแผนนั้น
กรณีที่ศาลที่ศาบมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแลตั้งผู้ทำแผน
- เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแบบพิมพ์ ฟ.20 หรือ ฟ.20/1 ของกรมบังคับคดีพร้อมสำเนา 1 ชุด ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันโฆษนาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน หากมอบให้คนอื่นยื่นแทน ต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์ ฟ.12 หรือ ฟ.12/1 ของกรมบังคับคดี
- คำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต้องประกอบด้วยบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน และต้นฉบับหรือสำเนสฉบับรับรองสำเนาถูกต้อง ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งหนี้พร้อมสำเนา 1 ชุด
- เจ้าหนี้มีสิทธิขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แต่ต้องโต้แย้งภายในกำหนด 14 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
- เจ้าหนี้ต้องไปให้คำสอบสวนและส่งเอกสารตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียก เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำขอรับชำระหนี้เพื่อการฟื้นฟูกิจการ
- เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ หรืออนุญาติให้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนหรือบางส่วนต่อศาลได้ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
- เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของศาลชั้นตันต่อศาลฎีกาได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
- เจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้ต้องไปร่วมประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนทุกครั้ง เพื่อลงมติว่าจะยอมรับแผนของผู้ทำแผนหรือไม่ หากเจ้าหนี้หรือผู้รับมอบอำนาจไม่ไปประชุมแต่ประสงค์ที่จะลงมติพิจารณาแผนล่วงหน้า ให้แจ้งประส่งค์ประจะยอมรับหรือไม่ยอมรับแผนและแผนที่มีการแก้ไข โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของเจ้าหนี้
- เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการจัดกลุ่มของเจ้าหนีตาม ม.90/42 ทวิ วรรคสอง
- เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอแก้ไขแผนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน
- ในการพิจารณาแผนของศาล ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษตาม ม.90/46 ยอมรับแผนแล้ว เจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผนมีสิทธิยื่นคำร้องขอคัดค้านแผนเสนอต่อศาลได้
กรณีที่การฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จตามแผน และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
- เจ้าหนี้ซึ่งอาจมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและเจ้าหนี้ในหนี้อื่นที่อาจขอรับชำระหนี้ได้จากมูลหนี้ที่ได้เดิดขึ้น ตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ต้องยื่นคำขอชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ของกรมบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษนาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
- หนี้จำนสนใดที่เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ไม่ต้องชำระค่าค่าธรรมเนียมขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับหนี้จำนวนนั้นอีก
- หนี้ซึ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผนและผู้บริหารแผนชั่วคราวก่อขึ้น เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ รวมทั้งหนี้ที่ลูกหนี้ก่อขึ้นโดยชอบ ตาม ม.90/12(9) มิให้อยู่ภายใต้บังคับ ม.94(2)
- หนี้ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหารแผนชั่วคราว ก่อขึ้นตามแผนเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ให้จัดอยู่ในลำดับเดียวกับค่าใช้จ่ายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการจัดการทรัพย์สินของลูกนหนี้ตาม ม.130(2)
อัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ
ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ 200 บาท เว้นแต่เป็นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยื่นคำขอรับชำระหนี้
ผลเมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอ
- ห้ามฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือสั่งให้เลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ (ถ้ามีอยู่ก่อนต้องงดการพิจารณาคดีนั้นไว้)
- ห้ามนายทะเบียนสั่งให้เลิกหรือจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้ และห้ามนิติบุคคลนั้นเลิกกันโดยประการอื่น
- ห้ามธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรรมการประกันภัย หรือหน่วยงานรัฐตามมาตรา 90/4 (6) สั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการของลูกหนี้หรือสั่งให้ลูกหนี้หยุดประกอบกิจการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลที่ได้รับคำร้องขอ
- ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย (ถ้ามีอยู่ก่อนต้องงดการพิจารณาไว้)เว้นแต่ศาลที่ได้รับคำร้องขอ จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
- ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ในกรณีที่ได้ดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ให้ศาลงดบังคับคดีนั้นไว้
- ห้ามเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได่รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ
- ห้ามเจ้าหนี้ ซึ่งบังคับชำระหนี้ได้เองตามกฎหมาย ยึด หรือ ขายทรัพย์สินของลูกหนี้
- ห้ามให้ผู้เช่าซื้อ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าติดตามเอาคืนทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญในการดำเนินกิจการของลูกหนี้ หรือฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะสั่งเป็นอย่างอื่น หรือหลังจากศาลอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการแล้วมีการผิดนัดสองคราวติดต่อกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อสำคัญ
- ห้ามลูกหนี้จำหน่าย จ่ายโอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือ กระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการต้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
- คำสั่งตามวิธีการชั่วคราวของศาลที่ยึด อายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ของลูกหนี้ หรือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่คราวให้ศาลที่รับคำร้องของสั่งให้ระงับผลบังคับไว้ก่อน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
- ห้ามผู้ประกอบการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ งดให้บริการแก่ลูกหนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอหรือหลังจากวันที่ศาลอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการแล้วไม่ชำระค่าบริการที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นสองคราวติดต่อกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้หรือบุคคลที่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าวข้างต้น อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลที่รับคำร้องขอเพื่อให้คำสั่งแก่ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนหรือให้ตวามคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าหนี้มีประกันได้
นอกจากนี้การออกคำสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทนายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ การทำนิติกรรมหรือการชำระหนี้ใดๆ ที่ขัดแย้งกับข้อ 1-11 การนั้นให้เป็นโมฆะ (กระทำภายหลังศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอแล้ว)
สถานที่ติดต่อ
ส่วนกลาง
ติดต่อสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ชั้น 4 อาคาร 25 ปี กรมบังคับคดี
ส่วนภูมิภาค
ติดต่อที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัด
หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่