แนวทางรับมือ หากเกิดปัญหา ภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์  ในอนาคต

ภาวะเศรษฐกิจ

ในยุคสมัยนี้ อะไรก็ไม่แน่นอนโดยเฉพาะ ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ สำหรับหลายๆท่านที่ยังไม่เข้าใจว่าภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ คืออะไร ภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ คือ ราคาของสินทรัพย์รือหน่วยลงทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง ทำให้เกิดอุปสงค์เทียมจากการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แทนที่จะค่อยๆ ปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเงินเฟ้อและการเพิ่มขึ้นในรายได้ของประชาชนในประเทศ เมื่อเกิดฟองสบู่และราคาอสังหาฯ ปรับสูงมากๆจนไม่สามารถขึ้นได้แล้วก็จะเกิดเหตุการณ์ ราคาบ้านลงต่ำอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งวงกว้างและยังทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศดูแย่ลงอีก

โดยส่วนใหญ่ภาวะฟองสบู่นี้จะจบลงเมื่อเกิดเหตุที่ทำให้นักลงทุนเลิกคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก  หรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อดึงราคาลงสู่ภาวะปกติ  (เช่นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย) จึงทำให้การเก็งกำไรและราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงลดลง ฟองสบู่เกิดขึ้น

 

ภาวะดอกเบี้ยตํ่าในตลาดเงิน คืออะไร

ภาวะเศรษฐกิจ

ภาวะดอกเบี้ยตํ่าในตลาดเงินเกิดจากการที่ ธนาคารมีการเเข่งขันกันสูงเพื่อปล่อยกู้ให้กับประชาชนในจำนวนมากๆเพื่อให้ได้ในสัดส่วนที่สูง และให้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนและล่อใจ ไม่ว่าจะผ่อนได้เป็นเวลาที่นานขึ้น ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าธนาคารอื่นๆ เป็นต้น

โดยถ้ามีการแข่งขันรุนแรงและในเวลานั้น รัฐบาลไม่มีการดูแลและควบคุม ในการเเข่งขันของแต่ละธนาคาร นั้นก็จะทำให้เกิดการเก็งกำไรกันมากยิ่งขึ้น และ เกิดเงื่อนไข รีไฟแนนซ์ นั้นคือ กู้ใหม่ได้สูงเกินกว่ามูลค่าแท้จริง หรืออาจจะเสนอการ เลือกชำระคืนเฉพาะดอกเบี้ย (Interest-only Loans) ได้ด้วย  เมื่อหลายๆท่านฟังมานั้นทำไมถึงไม่ดีละในเมื่อธนาคารปล่อยกู้บ้านได้ง่าย คนไทยจะได้มีบ้านนั้นไม่ดีหรืออย่างไร

ซึ่งไอ้การให้กู้แบบง่ายๆบวกกับการผ่อนปรนเยอะๆ มันคือดาบสองคม เพราะคนที่ยังไม่พร้อมจะผ่อนบ้านก็สามารถทำการกู้บ้านได้และโดยปกติคนที่กู้บ้านส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ไม่พร้อมจะทำการผ่อนบ้าน แต่อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือ อีกแบบคือพวกที่ชอบซื้อเพื่อเก็งกำไร แต่สุดท้ายคนเหล่านี้ไม่สามารถผ่อนบ้านได้จนหมดหรือ พวกที่เก็งกำไรสุดท้ายบ้านขายไม่ออก สุดท้ายถูกยึดบ้านนำมาขายทอดตลาดในราคาตํ่ากัน ซึ่งเป็นการซํ้าเติมให้ราคาบ้านและคอนโดฯ ยิ่งตกเร็วขึ้นไปอีก การปล่อยบ้านโดยยึดน่ากลัวกว่าที่หลายๆท่านคิดนะคะ   และเมื่อเกิดเยอะขึ้นสุดท้าย ประเทศเราก็จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ นั้นเอง

 

แนวทางรับมือ หากเกิดปัญหา ภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์  ในอนาคต

ภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับเคล็ดวลับพื้นฐานที่สามารถใช้ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เราได้รับผลกระทบน้อยที่สุเเท่าที่จะมากได้  ได้แก่

  1. ถ้าต้องทำการกู้บ้านพยายามเปลี่ยนจากการกู้แบบดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามตลาดให้เป็นแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อจะสามารถแก้ปัญหาการผ่อนชำระหากดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น และ อย่าหลงเชื่อธนาคารหากเขาจะชวนให้เรารีไฟแนนซ์ เพราะหากราคาบ้านเกิดตกตํ่าขึ้นมาเราก็จะต้องจ่ายมากกว่าความเป็นจริงได้
  2. ไม่ควรซื้อบ้านเกินกว่ากำลังการผ่อน หรือ ถ้าผ่อนก็ผ่อนแบบไม่มีเงินเก็บอย่างเด็ดขาดเพราะ ถ้าเมื่อเราคิดดูแล้วถ้าเป็นแบบที่บอก  ก็ไม่ควรรีบซื้อบ้าน แต่ถ้าต้องกู้ซื้อบ้านก็ไม่ควรกู้ยืมเงินซื้อบ้านในแบบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น เพื่อเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ทำให้ ดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับขึ้นนั้นจะทำให้ธนาคารมีการปรับเงินค่างวดในทันทียิ่ง ดอกเบี้ยสูงค่าผ่อนบ้านี่เราต้องจ่ายยิ่งมากขึ้น อาจจะทำให้เราผ่อนบ้านไม่ไหวในที่สุดได้
  3. สำหรับท่านที่จะลงทุนเก็งกำไร ควรหลีกเลี่ยง บ้านที่ราคาสูงกว่าปกติ เพราะ หากเกิด ภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ จะทำให้ภาพรวม ราคาอสังหาฯปรับสูงขึ้น นั้นเท่ากับว่า โอกาสที่เราจะขายบ้านออกในราคาที่ได้กำไรอาจจะยากมากขึ้นหรือถ้าร้ายที่สุดคือ อาจจะขายไม่ออกเลยด้วยซ้ำดังนั้นควรมองภาพรวมตลาดให้ดีๆก่อนทำการลงทุน
  4. จัดการและเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายในแต่ละวันให้ดี โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัยที่ต้องเสีย ค่าภาษี เงินต้นและดอกเบี้ย ประกันภัย ต้องอยู่ระหว่าง 25% และต้องไม่เกิน 40 % ของรายได้ที่ได้รับจริงของครอบครัว
  5. สุดท้ายถ้ายังไม่พร้อมจะมีบ้านหรือผ่อนชำระจริงๆควรที่จะเช่าอาศัยไปก่อนหรือถ้าจำเป็นต้องซื้อบ้านจริงๆก็ควรเลือกซื้อบ้านในราคาประหยัดหรือซื้อที่คิดว่าคุ้มค่าที่สุด บ้านมือสองหรือบ้านหลุดจำนองอาจจะดีกว่า ในส่วนของนักเก็งกำไร ก็ควรจะมีเงินเย็นอยู่ในมือในกรณีที่จะซื้ออสังหาถ้าท่านไหนไม่มีเงินเย็นในมือก็ควรพักไว้ก่อนลองดูเก็บเงินดูสถานการณ์ก็ไม่เสียหาย

ก่อนจากกัน หลักการง่ายๆเลยคือ แนวทางรับมือ ในภาวะเศรษฐกิจ ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ คือ ไม่ควรรีบร้อนซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในช่วงนี้แต่ถ้าซื้อไปแล้ว ก็ควรยึดหลักปฏิบัติในเรื่องค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัย อย่างเคร่งครัด ระหว่าง 25% และต้องไม่เกิน 40 % ของรายได้ที่ได้รับจริงของครอบครัว  เพียงเท่านี้ก็จะสามารถผ่อนช่วงเวลานี้ไปได้อย่างแน่นอน

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เราหามาเสริฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก …