กระทรวงการคลังผุดแนวคิดจัดเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่า ภาษีมรดกที่ดินหวังหารายได้เข้ารัฐ และ ปฎิบัตินโยบายตามแนวทาง คสช.ลดความเหลื่อมล้ำเรื่องรายได้
ซึ่งตามแนวคิดนี้ ทางกระทรวงการคลังเตรียมนำแผนยื่นเสนอกับ คสช.แล้ว โดยจัดเป็นแพคเก็จ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง-มรดก” โดยมีแนวทางและกำหนดโครงสร้างภาษีไว้ 3 อัตราคือ ระบุที่ดินว่างเปล่าไม่ใช้ประโยชน์มีโอกาสเก็บสูงถึง 2% ขณะที่ภาษีมรดกสามารถจัดเก็บได้เฉพาะที่จดทะเบียนในไทยเท่านั้น ย้ำแนวทางปฏิรูปภาษียึดกรอบ 3 แนวทาง หวังลดความเหลื่อมล้ำรายได้ เป็นธรรม และสร้างรายได้เข้ารัฐ ขณะที่คสช.ยันต้องดำเนินการในยุคนี้ เชื่อผู้ได้รับผลกระทบมีไม่มาก
ในเบื้องต้นนั้นทาง คสช.ได้มีการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาปรึกษาถึงแนวทางในการจัดทำโครงสร้างภาษีดังกล่าวเพื่อให้มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพราะต้องการแก้ไขปัญหา และ ปรับปรุง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และ รัฐมีรายได้เข้ามามากกว่าที่เป็นอยู่คือนโยบายของ คสช. ต่อการจัดเก็บรายได้ และการพิจารณาจัดเก็บภาษีตัวใหม่ โดยคสช. ได้เน้นย้ำถึง 3 หลักการ ต่อนโยบายการจัดเก็บภาษี ประกอบด้วย 1.ต้องช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชน 2.สร้างความเป็นธรรม และ 3.สร้างรายได้ให้แก่รัฐ โดยแนวทางของการพิจารณาเรื่องภาษีใดๆ นั้นคสช.ให้ความสำคัญมากกับ 3 แนวทางหลัก จากนั้น จึงมาคิดว่า จะใช้นโยบายภาษีตัวใดที่จะตอบโจทย์ต่อ 3 แนวทางดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการคลัง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านการจัดเก็บรายได้ ก็ได้เสนอการปรับโครงสร้างภาษีที่ใช้อยู่เดิม และ เสนอภาษีตัวใหม่ให้พิจารณา
ซึ่งในความเป็นจริงเรื่อง ภาษีที่ดินว่างเปล่านั้น สามารถทำได้ แต่ต้องจัดทำในอัตราไม่เกิน 2% ของราคาประเมิน ซึ่งจะเริ่มต้นจาก 0.05% และเพิ่มขึ้นจนถึงอัตราดังกล่าวหากยังไม่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ ส่วนเรื่องของ ภาษีมรดก หรือ ภาษีที่ดินนั้น หากจะจัดเก็บก็ต้องเร่งดำเนินการ ในการจัดเก็บรูปแบบการกำหนดภาษี ซึ่งผลกระทบต่อประชาชนนั้นมีอย่างแน่นอน จึงต้องทำอย่างรัดกุมและทำอย่างเร็วที่สุดเพราะหากผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้วคาดว่าจะมีปัญหาตามมาทีหลังและอาจไม่ดำเนินการได้
ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ นั้นยังมีแนวคิดที่แยกเป็นหลายความเห็น เพราะตามหลักความเป็นจริงนั้นผู้ที่ มีทรัพย์สินในครอบครองก็ควรเสียภาษี ซึ่งจะเป็นการสร้างฐานภาษีที่กว้างขึ้น และ ยังรวมมาถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งเคยเก็บอยู่ 0.1% ต่อปี ซึ่งคิดตามราคาประเมินและส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักจะถูกเรียกเก็บภาษีส่วนนี้จากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว
ซึ่งจากแนวคิดเรื่องการจัดเก็บภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ต่างๆนั้น จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น และ เป็นการลดความเหลื่อมล่ำทางด้านรายได้ และ การจ่ายภาษี ให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะส่วนใหญ่นั้น ผู้ที่จะต้องจ่ายมาก คือ คนที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในมือมาก และ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ เป็นการซื้อทรัพย์ซึ่งต้องมีการจ่ายภาษีอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับโครงสร้างใหม่น่าจะช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐให้ได้เพิ่มมากขึ้น คนที่มีที่ดินทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็ต้องเสียเงินภาษีเพื่อเป็นรายได้เข้ารัฐ และ ภาษีมรดก ซึ่งจุดนี้หลายๆคนเกรงว่าจะเกิดปัญหา เพราะบางคนอาจได้ที่ดินมรดกมาจริงแต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีเงินสดมาจ่ายภาษี เพราะบางคนอาจมีรายได้น้อย ซึ่งที่ดินที่ได้มาอาจตกทอดกันมาเพียงแค่แปลงเล็กๆก็มี หรือ บางคนอาจฉวยโอกาสแจ้งข้อมูลเท็จด้านการซื้อขาย ถ่ายโอนที่ดินโดยแจ้งว่าเป็นมรดก โดยส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มีไม่มากนักแต่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเอกสาร ซึ่งอาจทำให้รัฐเสียรายได้ก็เป็นได้