สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง โดยวันนี้เรามาเตรียมความพร้อมทำความรู้ความเข้าใจกันอีกสักครั้ง สำหรับเรื่อง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อกำหนดบัญชีแนบท้ายกฎหมายลดการใช้ดุลพินิจท้องถิ่น โดยในวันนี้หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบกันว่า เจ้าพ.ร.บ ฉนับนี้มีเนื้อหาอะไรบ้างและดีหรือไม่เราผู้เสียภาษีจะต้องรู้อะไรบ้างไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
จากงาน สัมมนา 3 สมาคมวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ผ่านมานั้น “ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป้าหมายจะทำการเริ่มต้นบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อทำให้การบริหารจัดการภาษีทรัพย์สินมีความทันสมัยมากขึ้นและมีรายได้จัดเก็บเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะมีการคิดฐานภาษีในการคำนวณจัดเก็บใช้ฐานเดียวคือมูลค่าทรัพย์สิน จากเดิมถ้าสิ่งปลูกสร้างมีเครื่องจักรการคำนวณมีปัญหาพอสมควร โดยสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.ที่ดินเกษตรกรรม ถ้ายกตัวอย่างเรามีที่ดิน 50 ไร่ ต้องเสียภาษีที่ดินเต็มแปลงเต็มจำนวนหรือไม่ คำตอบคืออาจจะต้องดูเป็นรายข้อๆไปดูการใช้ประโยชน์ของที่ดินก่อนเป็นกรณีๆไป โดยยังไม่สรุปอย่างแน่ชัด เช่นเดียวกับทำที่ดินป็นที่ พักอาศัยตึกแถว โดยแบ่งเป็นด้านบนเป็นที่พักด้านล่างทำเป็นร้านขายของ ก็จะทำการ ดูการใช้ประโยชนที่ดินเปฌนกรณีๆไป โดยจะทำการสำรวจการใช้ประโยชน์ก่อนเก็บภาษีว่ามีการใช้ประโยชน์อะไรบ้าง หรืออย่าง นำบ้านพักอาศัยมาทำเป็นบริษัท ต้องดูว่าทะเบียนบ้านยังอยู่หรือไม่ การเก็บภาษีจะคำนวณตามสัดส่วน เพื่อที่จะได้ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐโดยพลการ เพื่อวิธีนี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบได้นั้นเอง
2.บ้านพักอาศัย สำคัญคือต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน กับมีชื่อในโฉนดที่ดินด้วย ไม่ใช่มีชื่อในทะเบียนบ้านต้องเป็นเจ้าบ้าน แต่เป็นผู้อาศัยก็ได้ เพราะเป็นปัจจัยสี่ โดยสำรวจพบว่า 90% ราคาที่อยู่อาศัยไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับหลังที่สองเป็นต้นไปจะต้องเสียภาษี
3.พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เช่น ร้านขายห้อง ทำสำนักงาน โรงเรียนต่างๆ โดยหน้าที่นี้องค์กรท้องถิ่นจะเข้าไปสำรวจอย่างชัดเจน
ทั้งหมดนี้คือ อัตราการจัดเก็บ จากการที่ เคยรับฟังความคิดเห็นประชาชนเมื่อเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาว่าเพดาน เกษตรกรรมมี 0.15% ที่อยู่อาศัยมี 0.3% พาณิชยกรรมมี (อื่นๆ) 1.2% ที่ดินเปล่ามี 3% ดังนั้นจึงทำให้ กรรมาธิการ เกิดมองเห็นความกังวลของเหล่าประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนสบายใจ จึงได้กำหนด อัตราจัดเก็บจริงให้คำนวณมาเลยตามรูปด้านล่าง
อัตราการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่
- ที่ดินเกษตรกรรมมูลค่า 50-100 ล้านบาท เสียภาษี 10,000 บาท มูลค่าทรัพย์สิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 10,000 บาท
- ประเภทที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลักโดยจะต้องเป็นเจ้าของบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านยกเว้นมูลค่า 50 ล้านบาทแรก โดยหลังจากนี้ 50 ล้านบาทเสียภาษี 6,000 บาท มูลค่าบ้าน 100 ล้านบาทเสียภาษี 26,000 บาท มูลค่าบ้าน 200 ล้านบาท เสียภาษี 126,000 บาท
- ประเภทพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม มูลค่า 50 ล้านบาท เสียภาษี ปีละ 1.5 แสนบาท, มูลค่า 100 ล้านบาทเสียภาษี 3.5แสนบาท, มูลค่า 500 ล้านบาทเสียภาษี 2.25 ล้านบาท, มูลค่า 1,000 ล้านบาท เสียภาษี 4.75 ล้านบาท
- ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีอัตราจัดเก็บแบบเดียวกับประเภทพาณิชยกรรม ทั้งนี้ หากไม่มีการทำประโยชน์ที่ดิน อัตราภาษีเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% นอกจากนี้ในด้านการคำนวณค่าเสื่อมราคา สูงสุดได้ 75% และยังมีเรื่องการบรรเทาภาระภาษี ลดอัตราภาษีให้สูงสุด เช่น ภาษี 100 บาท มีโอกาสบรรเทาภาระภาษี 90 บาท หรือ 90%
การยกเว้นและบรรเทาภาระภาษี แบ่งออกได้
1.ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี (ใน พ.ร.บ.)
ได้แก่ สาธารณสมบัติ,ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์, ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (ภาครัฐ/เอกชน) สหประชาชาติ,สถานทูต ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดหมู่บ้านจัดสรร และนิคมอุตสาหกรรม และ บ้านพักอาศัยหลัง1หลังแรก (โดยจะต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท)
2.การบรรเทาภาระภาษี (ออกเป็น พ.ร.ฏ.)
ลดภาระภาษีให้ 90% เช่น บ้านพักอาศัยหลักซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาจากกาารรับมรดกก่อนที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีผลบังคับใช้ หรือ กิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียน เป็นต้น ลดอัตราภาษี เช่น ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการพักอาศัย และนิคมอุตสาหกรรม (3ปี ตั้งแต่ยื่นขออนุญาต) หรือ ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน (5ปี)
บทเฉพาะกาล ภาษีที่ต้องชำระในช่วงแรก
- ปีที่1 ภาษที่เคยเสีย + 25% ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น
- ปีที่2 ภาษที่เคยเสีย + 50% ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น
- ปีที่3 ภาษที่เคยเสีย + 75% ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น
- ปีที่4 เสียเต็มจำนวน
3.การลดหรือยกเว้น(อำนาจจากผู้บริหารท้องถิ่น)
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำจังหวัดหรือ รมว. มหาดไทย ในกรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่หรือทรัพย์สินเสียหายหรือถูกทำลายเฉพาะราย
นอกจากนี้จากการสำรวจผลกระทบทั่วประเทศ พบว่าผู้ประกอบการ SME จะรับผลกระทบน้อย เพราะเสียภาษีจากกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินแท้จริง โดยยกตัวอย่างคือ มีตึก4ชั้น 3ชั้นบนทำเป็นที่อยู่อาศัย ชั้นล่างทำเป็นร้านขายของโดยจัดเก็บภาษีจากตรงร้านขายของนั้น ทำมีภาระจ่ายเพียงนิดเดียว โดยทำเป็นบัญชีแนบท้ายกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนสบายใจว่าอัตราจัดเก็บจริงปรากฎอยู่ในกฎหมาย คาดว่าจะเข้าวาระ 2-3 เร็วๆ นี้ อย่าลืมบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน่าค่ะ
ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …
ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่