DotProperty.co.th

อธิบายอัตราการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ แบบเข้าใจง่าย ไม่กี่นาทีรู้เลย!!!

สวัสดีค่ะ วันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้ง โดยวันนี้เรามาเตรียมความพร้อมทำความรู้ความเข้าใจกันอีกสักครั้ง สำหรับเรื่อง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อกำหนดบัญชีแนบท้ายกฎหมายลดการใช้ดุลพินิจท้องถิ่น โดยในวันนี้หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบกันว่า เจ้าพ.ร.บ ฉนับนี้มีเนื้อหาอะไรบ้างและดีหรือไม่เราผู้เสียภาษีจะต้องรู้อะไรบ้างไปหาคำตอบกันเลยค่ะ

จากงาน สัมมนา 3 สมาคมวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ผ่านมานั้น “ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” อยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป้าหมายจะทำการเริ่มต้นบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2562 เพื่อทำให้การบริหารจัดการภาษีทรัพย์สินมีความทันสมัยมากขึ้นและมีรายได้จัดเก็บเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะมีการคิดฐานภาษีในการคำนวณจัดเก็บใช้ฐานเดียวคือมูลค่าทรัพย์สิน จากเดิมถ้าสิ่งปลูกสร้างมีเครื่องจักรการคำนวณมีปัญหาพอสมควร โดยสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1.ที่ดินเกษตรกรรม ถ้ายกตัวอย่างเรามีที่ดิน 50 ไร่ ต้องเสียภาษีที่ดินเต็มแปลงเต็มจำนวนหรือไม่  คำตอบคืออาจจะต้องดูเป็นรายข้อๆไปดูการใช้ประโยชน์ของที่ดินก่อนเป็นกรณีๆไป โดยยังไม่สรุปอย่างแน่ชัด เช่นเดียวกับทำที่ดินป็นที่ พักอาศัยตึกแถว โดยแบ่งเป็นด้านบนเป็นที่พักด้านล่างทำเป็นร้านขายของ ก็จะทำการ ดูการใช้ประโยชนที่ดินเปฌนกรณีๆไป โดยจะทำการสำรวจการใช้ประโยชน์ก่อนเก็บภาษีว่ามีการใช้ประโยชน์อะไรบ้าง  หรืออย่าง  นำบ้านพักอาศัยมาทำเป็นบริษัท ต้องดูว่าทะเบียนบ้านยังอยู่หรือไม่ การเก็บภาษีจะคำนวณตามสัดส่วน  เพื่อที่จะได้ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐโดยพลการ เพื่อวิธีนี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบได้นั้นเอง

2.บ้านพักอาศัย สำคัญคือต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน กับมีชื่อในโฉนดที่ดินด้วย ไม่ใช่มีชื่อในทะเบียนบ้านต้องเป็นเจ้าบ้าน แต่เป็นผู้อาศัยก็ได้ เพราะเป็นปัจจัยสี่ โดยสำรวจพบว่า 90% ราคาที่อยู่อาศัยไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับหลังที่สองเป็นต้นไปจะต้องเสียภาษี

3.พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม  เช่น ร้านขายห้อง  ทำสำนักงาน โรงเรียนต่างๆ โดยหน้าที่นี้องค์กรท้องถิ่นจะเข้าไปสำรวจอย่างชัดเจน

ทั้งหมดนี้คือ อัตราการจัดเก็บ จากการที่ เคยรับฟังความคิดเห็นประชาชนเมื่อเดือนธันวาคม 2560  ที่ผ่านมาว่าเพดาน เกษตรกรรมมี 0.15% ที่อยู่อาศัยมี 0.3% พาณิชยกรรมมี (อื่นๆ) 1.2% ที่ดินเปล่ามี 3% ดังนั้นจึงทำให้  กรรมาธิการ เกิดมองเห็นความกังวลของเหล่าประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนสบายใจ จึงได้กำหนด อัตราจัดเก็บจริงให้คำนวณมาเลยตามรูปด้านล่าง

อัตราการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่

  1. ที่ดินเกษตรกรรมมูลค่า 50-100 ล้านบาท เสียภาษี 10,000 บาท มูลค่าทรัพย์สิน 100 ล้านบาท เสียภาษี 10,000 บาท
  2. ประเภทที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลักโดยจะต้องเป็นเจ้าของบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านยกเว้นมูลค่า 50 ล้านบาทแรก โดยหลังจากนี้ 50 ล้านบาทเสียภาษี 6,000 บาท มูลค่าบ้าน 100 ล้านบาทเสียภาษี 26,000 บาท มูลค่าบ้าน 200 ล้านบาท เสียภาษี 126,000 บาท
  3. ประเภทพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม มูลค่า 50 ล้านบาท เสียภาษี ปีละ 1.5 แสนบาท, มูลค่า 100 ล้านบาทเสียภาษี 3.5แสนบาท, มูลค่า 500 ล้านบาทเสียภาษี 2.25 ล้านบาท, มูลค่า 1,000 ล้านบาท เสียภาษี 4.75 ล้านบาท
  4. ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีอัตราจัดเก็บแบบเดียวกับประเภทพาณิชยกรรม ทั้งนี้ หากไม่มีการทำประโยชน์ที่ดิน อัตราภาษีเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3% นอกจากนี้ในด้านการคำนวณค่าเสื่อมราคา สูงสุดได้ 75% และยังมีเรื่องการบรรเทาภาระภาษี ลดอัตราภาษีให้สูงสุด เช่น ภาษี 100 บาท มีโอกาสบรรเทาภาระภาษี 90 บาท หรือ 90%

การยกเว้นและบรรเทาภาระภาษี แบ่งออกได้

1.ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี (ใน พ.ร.บ.)

ได้แก่ สาธารณสมบัติ,ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์, ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (ภาครัฐ/เอกชน)  สหประชาชาติ,สถานทูต ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดหมู่บ้านจัดสรร และนิคมอุตสาหกรรม และ บ้านพักอาศัยหลัง1หลังแรก (โดยจะต้องไม่เกิน 20 ล้านบาท)

2.การบรรเทาภาระภาษี (ออกเป็น พ.ร.ฏ.)

ลดภาระภาษีให้ 90% เช่น บ้านพักอาศัยหลักซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาจากกาารรับมรดกก่อนที่ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีผลบังคับใช้ หรือ กิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียน เป็นต้น ลดอัตราภาษี เช่น ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการพักอาศัย และนิคมอุตสาหกรรม (3ปี ตั้งแต่ยื่นขออนุญาต) หรือ  ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน (5ปี)

บทเฉพาะกาล ภาษีที่ต้องชำระในช่วงแรก

3.การลดหรือยกเว้น(อำนาจจากผู้บริหารท้องถิ่น)

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำจังหวัดหรือ รมว. มหาดไทย ในกรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่หรือทรัพย์สินเสียหายหรือถูกทำลายเฉพาะราย

นอกจากนี้จากการสำรวจผลกระทบทั่วประเทศ พบว่าผู้ประกอบการ SME จะรับผลกระทบน้อย เพราะเสียภาษีจากกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินแท้จริง โดยยกตัวอย่างคือ  มีตึก4ชั้น 3ชั้นบนทำเป็นที่อยู่อาศัย ชั้นล่างทำเป็นร้านขายของโดยจัดเก็บภาษีจากตรงร้านขายของนั้น ทำมีภาระจ่ายเพียงนิดเดียว โดยทำเป็นบัญชีแนบท้ายกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนสบายใจว่าอัตราจัดเก็บจริงปรากฎอยู่ในกฎหมาย คาดว่าจะเข้าวาระ 2-3 เร็วๆ นี้ อย่าลืมบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน่าค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่