หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ทางรัฐสภาได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เพื่อพิจารณาลงมติร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในวาระ2และ3 ที่ค้างการพิจารณาเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2561 และได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว และมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป รวมระยะเวลาร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯทั้งหมดเป็นเลา 1 ปี 7 เดือน 16 วัน.
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เราต้องจ่ายคนละกี่บาท
สำหรับกฎหมายที่ดินใหม่นี้มีสาระสำคัญ ก็คือ จะเป็นตัวกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบ่งเป็น4 ประเภท คือ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม 2.ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย 3.ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และ 4.ที่ดินว่างเปล่าสำหรับการเสียภาษีที่ดิน เป็นยังไงในแต่ละประเภทนั้นจะสรุปได้ดังนี้
ที่ดินสำหรับเกษตรกรรม
- ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมหากตีราคาแล้วมีมูลค่าตั้งแต่ 0-75 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.01%
- ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมหากตีราคาแล้วมีมูลค่าตั้งแต่ 75-100 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.03%
- ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมหากตีราคาแล้วมีมูลค่าตั้งแต่ 100-500 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.05 %
โดยจะทำการยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดาอยู่ที่ 50 ล้านบาทรก หรือสรุปง่ายๆคือ สำหรับคนที่ถือครองที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องจ่ายภาษีที่ดินนั้นเอง
ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย
- ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หากมีมูลค่าตั้งแต่ 0-50 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.02%
- ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หากมีมูลค่าตั้งแต่ 50-75 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.03%
- ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หากมีมูลค่าตั้งแต่ 75-100 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.05 %
- ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หากมีมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.1 %
โดยจะทำการยกเว้นภาษีที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 50 ล้านบาทแรก กรณีบ้านหลังหลัก และ เฉพาะตัวบ้านยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท ตัวอย่างคือ ถ้าเราเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกมีมูลค่าต่ำกว่าไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องจ่ายภาษี ด้านคนที่เป็นเจ้าของบ้านอย่างเดียวจะได้รับการยกเว้นถ้าบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนคนที่มีบ้านหลังที่สองถ้าเกิน 50 ล้านบาทจ่ายภาษีปีละ 10,000 บาท
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม
- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม หากมีมูลค่าตั้งแต่ 0-50 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.3%
- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม หากมีมูลค่าตั้งแต่ 50-200 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.4%
- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม หากมีมูลค่าตั้งแต่ 200-1,000 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.5%
- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม หากมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000-5,000 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.6%
- ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท เป็นต้นไปจะทำการคิดอัตราภาษี 0.7%
โดย บุคคลธรรมดา ที่มีที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่าหรือตึกแถวมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาทจะเสียภาษีปีละ 150,000 บาท ถ้าต่ำกว่านั้นก็หักลบลงมา 0.3%
ที่ดินว่างเปล่า
ที่ดินว่างเปล่าจะทำการคิดอัตราภาษีเริ่มต้นตั้งแต่ 0.3% ขึ้นไปและจะทำการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีก 0.3% ของทุกๆ 3ปี ถ้าหากยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ โดยรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 3 %โดยยกตัวอย่างง่ายๆดังนี้ หากเรามีที่ดินเกิน 50 ล้านบาท ปีแรก เราจะต้องเสียภาษีปีละ 1.5 แสนบาท ต่อจากนั้นปีที่ 10 เสียภาษีปีละ 6 แสนบาท เป็นต้น
จากที่กล่าวมานี้ กฎหมาย การจัดเก็บภาษีและสิ่งปลูกสร้างที่ให้เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2563เป็นต้นไปและใน 3ปีแรกของการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีแก่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรม