กิจกรรมของมนุษย์มากมายสร้างผลกระทบมากมายให้กับโลกซึ่งเรียกได้ว่าผลกระทบจากการกระทำทั้งหมดนั้นกำลังย้อนกลับมาถึงตัวเราแล้ว แต่ในครั้งนี้เราจะขยับออกไปสักนิด ที่จะเรียกว่าห่างจากตัวเราไปก็ไม่นับว่ามากนัก แต่เรากลับมองเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน นั่นคือ ทะเล
ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับทะเลอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว จึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีส่วนในการทำร้ายทะเลอยู่บ้าง วันนี้ดอทจึงพาทุกคนมาดูถึงปัญหาที่ทะเลต้องเผชิญ 5 ประการ โดยที่ทุกประการนี้เป็นปัญหาที่มนุษย์เข้าไปรบกวนทะเลทั้งสิ้น มีอะไรบ้างไปดูกัน
น้ำมันรั่วในทะเล
จากสถิติกรมควบคุมมลพิษพบว่าเกิดสถานการณ์น้ำมันรั่วไหลลงทะเลทั้งสิ้นกว่า 90 ครั้ง ในพื้นที่ 22 จังหวัดที่มีชายฝั่งติดทะเลจากปี 2516-2547 สถานการณ์น้ำมันรั่วไหลนี้รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุทางเรือซึ่งทำให้มีน้ำมันรั่วลงทะเลด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีสถิติจากกรมขนส่งทางทะเลและพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคมที่บอกว่าช่วงปี พ.ศ. 2540-2547 เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลเฉลี่ยปีละประมาณ 12 ครั้งเลยทีเดียว
จากสถิติเหล่านี้บอกได้เลยว่าทะเลจะต้องรับภาระน้ำมันรั่วไหลอยู่บ่อยครั้งซึ่งผลของมันจะส่งผลในระยะยาวกว่า 20 ปี ทั้งกับระบบนิเวศในน้ำและชายฝั่งทะเล รวมถึงทำให้สัตว์น้ำมีโรคติดตัวอีกด้วย
การทิ้งขยะลงทะเล
การทิ้งขยะไม่เป็นที่จนหลุดรอดไปสู่ทะเลนั้นได้สร้างความเสียหายอย่างมากให้แก่สัตว์ทะเลที่เข้าใจผิดคิดว่าขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายไม่ได้เหล่านั้นเป็นอาหาร หรือการว่ายไปติดกับขยะซึ่งทำให้เกิดบาดแผลหรือตายได้ นี่ยังเป็นเฉพาะขยะที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนเท่านั้น เพราะการปนเปื้อนของสารเคมีซึ่งจะสร้างความเสียหายได้มากกว่านั้น
นอกจากนี้เว็บไซต์ The Gardian ยังเคยรายงานถึงการค้นพบเศษพลาสติบนเกาะ Henderson ซึ่งเป็นเกาะร้างในแปซิฟิกใต้ว่าค้นพบขยะพลาสติกจากทั่วโลกกว่า 18 ล้านตันซึ่งเป็นพลาสติกจิ๋วที่ยากจะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ทำเอาสงสัยเลยว่าทรายที่เห็นแท้จริงเป็นทรายหรือเม็ดพลาสติกกันแน่
การปล่อยสารพิษลงทะเล
มลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นเรียกว่าส่งผลกระทบไปในวงกว้างทั่วโลกจริงๆ ไม่เว้นแม้กระทั่วทะเลที่เมื่อตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการรับมือการอุตสาหกรรมการโรงแรมเองก็ยังต้องรับมลพิษด้วยเช่นกัน โดยบางครั้งมลพิษเหล่านี้อาจถูกทิ้งลงมาตรงๆ หรือผ่านการชะล้าง พัดพามาจากแดนไกลไหลลงทะเลก็มีอยู่เช่นกัน
ซึ่งแม้จะมีการควบคุมกันแล้วแต่ทะเลซึ่งเป็พื้นที่น้ำกว้างใหญ่แห่งนี้ก็ยังคงต้องรองรับสารพิษเหล่านี้อยู่ในปริมาณไม่น้อย และยังมีการผลิตก๊าซธรรมชาติเองก้ยังมีการปล่อยน้ำบำบัดที่ยังคงปนเปื้อนสารปรอทลงสู่ทะเลด้วย
การจับสัตว์น้ำผิดกฎหมาย
การจับสัตว์น้ำผิดกฎหมายในที่นี้ไม่ได้หลายถึงเพียงการล่าสัตว์น้ำที่ห้ามล่า แต่ยังรวมทั้งวิธีการจับสัตว์น้ำ เช่นวิธีการจับสัตว์พลอยได้ คือการใช้แหหรือเครื่องมือขนาดใหญ่เพื่อกวาดเอาสัตว์ขึ้นมาโดยที่เป็นสัตว์ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเลย กลายเป็นการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ไป เช่นการใช้อวนลาก ซึ่งทำลายระบบนิเวศทางทะเล
นอกจากนี้ยังพบว่าการกดขี่แรงงานประมงนั้นส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลด้วย เพราะทำให้มีการจับสัตว์น้ำมากขึ้น บางครั้งยังพบว่ามีการจับสัตว์น้ำพลอยได้ซึ่งกว่า 50% เป็นฉลาม
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหรือการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอย่างเช่นการสร้างถนนเลียบชายฝั่ง การสร้างท่าเรือน้ำลึก การถมทะเลเพื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่รองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้น เป็นการทำให้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติบริเวณชายฝั่งได้รับความเสียหายเพราะส่วนใหญ่มักใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเป็นฐานในการผลิตทำให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองไม่ทัน
ยิ่งเป็นการสร้างโรงแรงขนาดใหญ่ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่งด้วยแล้วยิ่งทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวเพราะอุคตสาหกรรมโรงแรมนั้นมีการปล่อยมลพิษออกมาทุกวันด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการปลูกสิ่งก่อสร้างยังทำให้เกิดปัญหาชายฝั่งทะเลได้ด้วย
จากการศึกษาค้นคว้าและติดตามผลกันอย่างยาวนานทำให้เราได้รู้ถึงผลกระทบของการใช้ทรัพยากรบนโลกแล้วในปัจจุบันจึงมีการคิดวิธีแก้ไขปัญหาเพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนออกมาได้มากมาย ซึ่งเรากำลังเข้าสู่ขั้นตอนการปรับตัวเพื่อโลกกันแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ต้องบอกว่าทำได้ไม่ง่ายเลย
ที่มา https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/oceans/oceans-crisis/
https://www.sdgmove.com/2021/03/17/ocean-pollution-health-impacts/