ปัญหาของการแบ่ง มรดก หากไม่ได้มีการทำนิติกรรมเป็น พินัยกรรม มอบมรดกที่ชัดเจน ผู้ที่จะได้รับมรดกจากเจ้ามรดกก็คือทายาท ของผู้เป็นเจ้ามรดกนั้นๆ ดังนั้นวันนี้ Dot Property เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกันว่า ผู้ใดมีสิทธิในฐานะทายาทผู้รับมรดกโดยชอบทำกันบ้าง
ใครบ้างที่เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับ มรดก
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักก่อนว่าทายาทเป็นใครบ้าง โดยปกติแล้วเมื่อผู้เป็นเจ้ามรดกได้ถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกโดยตรงเลยคือทายาท และทายาทก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ทายาทโดยชอบธรรม หรือ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น บุตรของผู้ตาย , บิดามารดาของผู้ตาย และ คู่สมรสของผู้ตาย กล่าวคือ หากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว บุคคลเหล่านี้จะมีสิทธิในมรดกในลำดับแรกทันทีเลย
- ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม ในส่วนนี้เป็นของ การทำพินัยกรรม ที่เจ้ามรดกได้ทำนิติกรรมในการยกมรดกให้กับผู้ที่ถูกระบุในพินัยกรรมไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติก็ได้ หากท่านสงสัยว่าการทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีคุณสมบัติยังไง สามารถคลิ๊กได้ที่ พินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก
ทายาทโดยธรรมได้แก่ใครบ้าง
ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทที่เป็นญาติกับที่เป็นคู่สมรสที่เป็นญาติ ได้แก่ ญาติของผู้ตายต่อไปนี้ เรียงลำดับกันจากใกล้ชิดสนิทที่สุด
- ผู้สืบสันดาน
- บิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
ตัวอย่าง
นาย ก. มีบุตรสองคนได้แก่ นาย ข. และ ค. และมีบิดามารดา ได้แก่นายเอก นางโท และมีพี่น้องร่วมสกุลคือ นายดำ และ นายแดง เมื่อนาย ก. ถึงแก่กรรม ตามลำดับที่จะได้รับสิทธิในมรดกของนาย ก. ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีดังนี้
- ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ก็คือ นาย ข. นาย ค. ผู้ซึ่งเป็นบุตรของนาย ก.
- ลำดับที่ 2 บิดามารดาก็คือนายเอก นางโท บิดามารดาของนาย ก.
- และลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ก็คือ นายดำ นายแดง พี่ชายน้องชายของนาย ก.
ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงทายาทที่เป็นญาติก็จะมีถึงหกลำดับนี้เท่านั้น ห่างจากนี้ไปก็ไม่ใช่ทายาทแล้ว แต่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกทุกลำดับหรือไม่ ต้องดูกันต่อไปอีกชั้นหนึ่ง เมื่อกล่าวถึงทายาทของผู้ตายก็ต้องเอาผู้ตายเป็นหลักคือศูนย์กลางดังตัวอย่างที่ยกขึ้นก็จะเห็นได้ง่ายๆ
ส่วนทายาทที่เป็นคู่สมรส หรือ สามีหรือภริยาของผู้ตายนั้น ทายาทประเภทนี้ถือว่าอยู่ในลำดับเดียวกับทายาทที่เป็นญาติทุกลำดับ คือ มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตลอด เช่น ขณะนาย ก. ตาย มีลูกสองคน และมีนางแดงเป็นภริยา ถือว่าผู้ตายมีทายาทโดยธรรม คือลูกสองคนและนางแดงภริยาผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก หรือขณะที่นาย ก. แต่ยังไม่มีลูกทายาท นางแดงผู้เป็นภริยา จะมีสิทธิเทียบเท่ากับทายาทลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา ของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
ทำความรู้จัก “ผู้จัดการมรดก” ผู้มีอำนาจจัดการดูแลกองมรดกให้ลงตัว
พินัยกรรม นิติกรรมสำหรับการกำหนดผู้มีสิทธิรับมรดก