การมอบอำนาจที่ดิน กับข้อควรระวังและข้อบังคับต่างๆที่ต้องรู้

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเวลาและความสะดวกมากพอที่จะไปทำการต่างๆที่กรมที่ดินได้ กฎหมายจึงมีข้อยกเว้นให้มีการ มอบอำนาจที่ดิน เกิดขึ้นเพื่อให้คนที่ไม่สะดวกในช่วงเวลาราชการ สามารถกระทำการต่างๆ ไม่ว่าจะซื้อจะขาย รวมไปถึงธุรกรรมต่างๆที่คุณสามารถใช้ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจไปกระทำการแทนตนได้ โดยวันนี้เราจะพูดถึงข้อระวังและการเตรียมตัวต่างๆเพื่อให้คุณไม่เกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ต้องเสียเวลาไปโดยเสียเปล่า

 

ความหมายของการมอบอำนาจ ที่ดิน

การมอบอำนาจที่ดิน เป็นการมอบสิทธิอำนาจต่างๆในการกระทำการเกี่ยวกับ ที่ดิน แทนผู้ขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ไม่สามารถไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือที่สำนักงานที่ดินที่อำเภอด้วยตัวเองได้ ตรงนี้เองกฎหมายจึงเร็งเห็นปัญหาความไม่สะดวกแก่ประชาชน จึงยอมให้สามารถมอบหมายให้ผู้ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เชื่อถือและไว้วางใจได้ ไปทำการต่างๆแทนตนได้ โดยผู้นั้นต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน ทั้งนี้ควรมอบบัตรประชาชนของผู้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย

 

คำแนะนำสำหรับหนังสือมอบอำนาจ

อันดับแรกสำหรับการทำหนังสือการมอบอำนาจเลยคือการพิจารณาผู้ที่จะรับมอบอำนาจ จะต้องเป็นบุคคลที่ผู้มอบอำนาจมีความเชื่อถือ หรือจะเป็นญาติพี่น้องที่ไว้ใจได้เสียก่อน โดยที่ต้องมีพยานอย่างน้อย 1 คน หรือกรณีที่ไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้ต้องมีพยาน 2 คน พร้อมกับบันทึกความยินยอม 

และในอีกหนึ่งกรณี ที่ตัวผู้มอบอำนาจมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าผู้มอบอำนาจจะยังมีอายุอยู่หรือไม่ และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือไม่ ควรให้ผู้ปกครองท้องถิ่นที่เชื่อถือได้รับรองก่อน

 

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ

มอบอำนาจที่ดิน

 

ข้อควรระวังสำหรับการเอกสารมอบอำนาจที่ดิน

  1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสําคัญสําหรับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้านเรือนโรง ให้ชัดเจน
  2. ให้ระบุเรื่องและอํานาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอํานาจให้ทําอะไร เช่น ซื้อ ขาย จํานอง ฯลฯถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  3. อย่ากรอกข้อความให้ลายมือไม่เหมือนกันและใช้นํ้าหมึกต่างสีกัน หรือถ้ากรอกโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ให้ใช้ฟอนต์แบบเดียวกันและปริ้นจากเครื่องเดียวกัน 
  4. ถ้ามีรอยขูดลบ แต่งเติม แก้ไข หรือขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่า แต่งเติมกี่คํา และผู้มอบอํานาจจะต้องลงลายมือชื่อกํากับไว้ทุกแห่ง
  5. อย่าลงลายมือชื่อผู้ มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความโดยครบถ้วนและถูกต้องตามความประสงค์
  6. ให้มีพยานอย่างน้อย ๑ คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน ๒ คน พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
  7. หนังสือมอบอํานาจทําในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุล หรือโนตารีพับลิค(NOTARY PUBLIC) รับรองด้วย

 

ทั้งนี้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆควรทำธุระกิจต่างๆเกี่ยวกับที่ดินด้วยตนเอง เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอันใด เช่น มีการกรอกข้อมูลผิดไปจากเจตนารมณ์ของคุณเพราะปล่อยให้ผู้รับมอบไปจัดการเองทั้ง  และหากมีความเสียหายเกิดขึ้น ถือว่าผู้มอบอำนาจต้องรับผิดชอบเพราะถือว่า ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยหากมีโอกาสไปจัดการด้วยตัวเองนั้น จะเป็นการปลอดภัยและสะดวกกว่า แม้จะเสียเวลาไปบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าศูนย์เสียทรัพย์

ที่มา : กรมที่ดิน

การอายัดที่ดินการอายัดที่ดิน ทำความรู้จักและเข้าใจหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมาย

 

โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ฟรี กับซื้อขาย มีค่าใช้จ่ายและขั้นตอนต่างกันยังไง

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก