DotProperty.co.th

ยันที่ดินเปล่าสมุทรปราการ เนื้อที่ 11,819 ไร่ จะเป็นพื้นที่ประชาชน ใครก็สร้างหมู่บ้านจัดสรรไม่ได้

โดยเมื่อเร็วๆนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘Krit Wongmanee’ โพสต์รูปที่ระบุถึงภาพจาก Google Maps โดยปรากฏเป็นภาพของพื้นที่ในเขตบางกะเจ้า ต.บางน้ำผึ้ง จ. สมุทรปราการ ที่มีลักษณะเหมือนมีการก่อสร้างบางอย่างที่อาจจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งอาจขัดกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ สมุทรปราการ เนื้อที่ 11,819 ไร่ ตั้งแต่ ต.บางกะเจ้า, บางกอบัว, บางน้ำผึ้ง, บางยอ, บางกระสอบ และทรงคนอง อ.พระประแดง เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมานั้น

ภาพปี 2002

ภาพล่าสุด

ยันที่ดินเปล่าสมุทรปราการ เนื้อที่ 11,819 ไร่ จะเป็นพื้นที่ประชาชน ใครก็สร้างหมู่บ้านจัดสรรไม่ได้

โดยล่าสุดทางเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ ชี้แจงว่าภาพดังกล่าวนั้นเป็นพื้นที่ของทางเอกชน หรือบางส่วนที่ถือครองโดยชาวบ้าน ส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์จะเป็นพื้นที่สีเขียวสงวนไว้เป็นพื้นที่จากกรมป่าไม้ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่นอกเหนือจากนั้นอาจเป็นของเอกชน หรือบางส่วนถือครองโดยชาวบ้าน

“พื้นที่ส่วนใหญ่ในบางกะเจ้า ถ้าดูในกูเกิลก็จะเห็นว่า บางส่วนก็เป็นบ้านเรือนคนอยู่แล้ว ซึ่งเราได้มีประกาศคุ้มครองออกมาต่างๆ เช่น ห้ามก่อสร้างโรงงาน แต่เราอย่าเข้าใจผิดว่าตรงนั้นเป็นบ้านคนแล้วมองว่าผิดกฎหมายนั้นไม่ใช่ และการประกาศก็เป็นการประกาศทับพื้นที่กรรมสิทธิ์เหล่านั้นตามหลังอยู่แล้ว”

โดยพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมนั้นห้ามก่อสร้างโรงงาน รวมถึงการปล่อยมลพิษลงสู่แหล่งน้ำ นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แถลงข่าวการออกกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ 6 ตำบลใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2562เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศตามธรรมชาติ โดยใช้กลไกทางกฎหมายตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยครอบคลุมพื้นที่ ต.บางกะเจ้า, ต.บางกอบัว, ต.บางน้ำผึ้ง, ต.บางยอ, ต.บางกระสอบ และ ต.ทรงคนอง เนื้อที่รวม 11,819 ไร่ ส่วนพื้นที่ในน้ำซึ่งมีขอบเขตถึงกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นแนวแบ่งเขตระหว่าง จ.สมุทรปราการ กับกรุงเทพมหานคร มีมาตรการสำคัญ ดังนี้

การห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงอาคารใดๆ ให้เป็นอาคารโรงงาน เว้นแต่สร้างทดแทน, โรงแรม, อาคารชุด, ท่าเทียบเรือสำราญและกีฬา, อาคารทุกประเภทในที่ดินของรัฐที่จัดซื้อตามโครงการสวนกลางมหานคร

หลักเกณฑ์การก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร ความสูงของอาคารทั่วไปไม่เกิน9 เมตร เว้นแต่อาคารทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงไทย ไม่เกิน 12 เมตร และการส่งเสริมให้ปลูกไม้ยืนต้นที่เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของบริเวณพื้นที่ว่าง

การห้ามกระทำการหรือประกอบกิจกรรม ได้แก่ การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย, การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม, การทำสนามกอล์ฟ, การถม ปรับ ปิดกั้นลำกระโดง คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะที่ทำให้น้ำในแหล่งน้ำนั้นตื้นเขินหรือไม่สามารถไหลไปได้ตามปกติ, การปล่อยมลพิษลงสู่แหล่งน้ำ, การห้ามทำผนังคอนกรีตริมฝั่งคู คลอง

การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและประกอบพาณิชยกรรม ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของที่ดินในแต่ละตำบล การส่งเสริมให้มีการสงวน รักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมให้ก่อสร้างอาคารหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินที่รักษาระบบนิเวศ คู คลอง

นี้ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 ก.ย.2520 กำหนดให้พื้นที่บางกะเจ้า อนุรักษ์ไว้สำหรับให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อประโยชน์ในด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน การท่องเที่ยวและด้านวัฒนธรรม สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติ 3 น้ำ ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อย ซึ่งถือเป็นระบบนิเวศทางธรรมชาติที่โดดเด่นและแตกต่างจากพื้นที่อื่น อีกทั้งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและสวนผลไม้นานาพรรณ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าวน้ำหอม และกล้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีแหล่งศิลปกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างวัดบางน้ำผึ้งนอก และวัดป่าเกต แต่เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ชุมชนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ระบบนิเวศตามธรรมชาติถูกทำลายหรือได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ได้โดยง่ายและจะส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

อ้างอิงจาก THE STANDARD และ thaipbs

เพราะอะไร อุบลราชธานี ถึงเจอวิกฤติน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 17 ปี

 

 

ทุกแบงก์เตรียมเลิกโปรผ่อน 0% ลด หนี้ครัวเรือน

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก