หลังจากที่ทางรัฐบาลได้มีแผนในการลงทุนก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ทั้ง 4 ภูมิภาค 4เส้นทางสำหรับในการเชื่อม เหนือ ใต้ ออก ตก เชื่อม โดยมีมูลค่าโครงการถึง 1 ล้านล้านกว่าบาท โดยตอนนี้ก็ผ่านมา 4 ปี มีที่ไหนบ้างและแต่ละที่มีกำหนดพร้อมเปิดให้คนไทยได้ใช้เมื่อไร
เจาะ 9 โครงการ รถไฟความเร็วสูง ทั่วไทย 4 ภูมิภาค
1.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง พิษณุโลก-เชียงใหม่
ระยะทางทั้ง หมด 288 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 232,412 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 14,400 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 24 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 505 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 12.56% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2569
2.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ
ระยะทางทั้ง หมด 380 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 276,266 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 29,700 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 58 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 650 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 14.7% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2568
3.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง นครราชสีมา-หนองคาย
ระยะทางทั้ง หมด 355 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 211,797 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 12,830 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 43 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 719 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 11.94% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2568
4.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา
ระยะทางทั้ง หมด 253 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 5,310 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 30 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 535 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 11.68% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2564
5.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน
ระยะทางทั้ง หมด 211 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 101,880 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 10,327 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 17 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 385-1,044 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 9.76% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2567
6.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง หัวหิน – สุราษฏร์ธานี
ระยะทางทั้ง หมด 424 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 186,416 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 41,938 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 5 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 843 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 14.89% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2570
7.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สุราษฏร์ธานี-ปาดังเบชาร์
ระยะทางทั้ง หมด 335 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 160,601 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 96,775 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 32 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 683 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 15.26% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2587
8.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สุราษฏร์ธานี-ปาดังเบชาร์
ระยะทางทั้ง หมด 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 147,200 คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 40 นาที มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 476 บาท (TBC) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาดอยู่ที่ 15.11% กำหนดเปิดใช้ภายในปี 2566
9.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง อู่ตะเภา-ระยอง
ระยะทางทั้ง หมด 40 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 35,539 ล้านบาท สามารถรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด รอการยื่นยันจากภาครัฐ คนต่อเที่ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง รอการยื่นยันจากภาครัฐ มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ รอการยื่นยันจากภาครัฐ อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คาด รอการยื่นยันจากภาครัฐ กำหนดเปิดใช้ รอการยื่นยันจากภาครัฐ
โดยภายในปี 2562 นี้ อาจจะมีปัญหาความล่าช้าเพิ่มขึ้นได้จากสาเหตุที่ทางฝ่ายจีน ที่ได้มีการร่วมทุนด้วย มีการตรวจสอบงานด้านวิศวกรรมค่อนข้างละเอียดทุกขั้นตอน บวกกับทางวิศวกรรมของไทยยังด้อยประสบการณ์ทำรถไฟความเร็วสูงมาก่อน เพราะโครงสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น งานถมคันทางไม่ได้ทำง่ายๆจะต้องเป็นคันทางมีความแข็งแรงสูงกว่าปกติเพื่อที่จะสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ หากมีการที่คันทางคลาดเคลื่อนหรือทรุดตัวเพียง 1 ซม.ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้แล้ว ดังนั้น ทางจีนจึงต้องคุมงานอย่างเคร่งครัด” นั่นเอง
One Bangkok เลือก อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้างใต้ดิน มูลค่า 8,250 ล้านบาท
บิ๊กตู่ ไฟเขียว เวนคืนที่ดิน 3 จังหวัด กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี สร้างไฮสปีดเทรน