รัฐจัดให้..!! เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถ ลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาท

ลดหย่อนภาษี,ลดหย่อนภาษี2560,เบี้ยประกันสุขภาพ,ลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ
ลดหย่อนภาษี,ลดหย่อนภาษี2560,เบี้ยประกันสุขภาพ,ลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ
ลดหย่อนภาษี,ลดหย่อนภาษี2560,เบี้ยประกันสุขภาพ,ลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ
เบี้ยประกันสุขภาพ,ลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพ

“ครม.” อนุมัติมาตรการหัก ลดหย่อนภาษี ทำประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันภัยที่จ่าย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 60 เป็นต้นไป

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันนี้ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการประกันสุขภาพ โดยยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือ บริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ลดหย่อนภาษี สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ด้านประกันสุขภาพนั้น สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามาตรดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ มาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง 15,000 บาท โดยต้องเป็นเบี้ยประกันที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ซึ่งเชื่อว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างหลักประกันสุขภาพและช่วยลดภาระในด้านค่ารักษาพยาบาลของผู้มีเงินได้ และมาตรการนี้มีส่วนในการลดภาระทางการคลังของภาครัฐในการดูแลสุขภาพของประชาชน

สำหรับปัจจุบัน ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้มาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีและภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ผู้มีเงินได้มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มอีกในอัตรา 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

ต้องการซื้อ-เช่ !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย