DotProperty.co.th

รัฐสภาใหม่ ครองแชมป์สร้างยาวนานที่สุด ต่อสัญญาแล้วสัญญาอีกไม่รู้ชาติไหนจะเสร็จ

มหากาพย์สร้าง รัฐสภาใหม่ นี้ ดูแน่โน้มว่าจะไม่เสร็จโดยเร็วๆนี้ ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เตรียมจรดปากกา ต่อสัญญาฉบับใหม่ ทำให้เวลานี้รัฐเสียเงินไปหลายหมื่นล้านแล้ว…

 

รัฐสภาใหม่ สร้างชาตินี้ ใช้ชาติหน้า

ด่วนที่สุด…!!!  หนังสือ รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ประจำเดือนตุลาคม 2562  ความยาวทั้งหมด 26 หน้า  ที่ทาง นายสรศักดิ์ เพียรเวช  เลขาธิการสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งตรงถึงพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยใน ในรายงานระบุระยะเวลาตามสัญญารวม 2,382 วัน ดำเนินการมาแล้วถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2562 จำนวน 2,306 วัน คงเหลือระยะเวลาก่อสร้างอีก 45 วัน ผลงานที่ผู้รับจ้างทำได้ 69.8% หรือเพิ่มขึ้นมา 1.55% ของเดือนที่แล้ว นั่นเท่ากับว่า ณ.วันที่ 15 ธันวาคม 2562 คือวันสุดท้ายของระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา แต่ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่แล้วเสร็จ

 

รัฐสูญเสียไปเท่าไร สำหรับรัฐสภาแห่งใหม่

จาก รายงานต่อที่ประชุมครม. วันที่ 23 เมษายน 2556  ที่ในใจความระบุบเอาไว้ สำหรับ งบประมาณ ราคาค่าก่อสร้างอาคาร รัฐสภาแห่งใหม่ นี้มีวงเงินรวม 12,280 ล้านบาท  ตามผลประกวดราคาที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำการเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 2,236,311,400 บาท ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีจากกระทรวงการคลังแล้ว และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 อีกจำนวน 804,708,600 บาท ส่วนที่เหลือเก็บไว้ใช้สำหรับ ปี พ.ศ. 2557-2559 จำนวน 9,238,989,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 12,280,009,000 บาท โดยการดำเนินโครงการก่อสร้างฯเป็นหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและครบถ้วน ตามสัญญานั้นอนุมัติให้สามารถขยายเวลาดำเนินการถึงปีงบประมาณ 2559 เนื่องจากผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างฯ เกิดความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้เดิม และระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้างเพิ่มได้อีก 900 วัน

 

ต่อสัญญาแล้วสัญญาอีก

ผลปรากฏว่าเมื่อครบ 900 วัน ตามสัญญาหลักการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้สำนักงานเลขาธิการสภาฯต้องขยายเวลาของสัญญาออกมาแล้วถึง 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 ขอขยายเวลาจำนวน 387 วัน ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ไปจนถึง 15 ธันวาคม 2559 ก็ไม่แล้วเสร็จ สาเหตุเพราะ สำนักงานเลขาธิการฯ ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าบวกกับปัญหาอุปสรรคในการขนดินที่ขุดจากการก่อสร้างต่างๆนาๆ

ครั้งที่ 2 ขอขยายเวลาจำนวน 421 วัน ตั้งแต่ วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ไปจนถึง   9 กุมภาพันธ์ 2561   ก็ไม่แล้วเสร็จ สาเหตุเพราะ  สำนักงานเลขาธิการสภาฯ มีความล่าช้าในการขนย้ายดินที่ขุดเพื่อการก่อสร้างชั้นใต้ดิน

ครั้งที่ 3 ขอขยายเวลาจำนวน 674 วัน ตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ไปจนถึง   15 ธันวาคม 2562    ก็ไม่แล้วเสร็จ สาเหตุเพราะ  สำนักงานเลขาธิการสภาฯ มีความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่บริเวณโรงเรียนโยธินบูรณะห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ดุสิต และศูนย์สาธารณสุข 38 ของกรุงเทพมหานคร ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า และบ้านพักข้าราชการกรมการอุตสาหกรรมทหาร  และวันที่ 21 สิงหาคม 2561  ทางภาครัฐได้ อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณงานนอกสัญญาหลักอีกจำนวน 4,812,617,700 บาท ผูกพันงบปี 2562-2563

รวมทั้ง 3 ครั้ง เสียเวลาสำหรับการก่อสร้างไปแล้ว  1,482 วัน  หรือเกือบ 4 ปี และเมื่อนำไปรวมกับระยะก่อสร้างเวลา 900 วัน ตามสัญญาแรก รวมแล้วใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2,382 วัน หรือประมาณ 6 ปีครึ่ง  ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสร้างเสร็จ และที่สำคัญไม่สามารถเอาผิดผู้ว่าจ้างได้นั้นก็เพราะ เงื่อนไขในสัญญาที่เลี่ยงการจ่ายค่าปรับของผู้รับจ้าง คือการปรับจะเกิดขึ้นเมื่อ “อันเนื่องมาจากความผิด หรือความบกพร่องของผู้ว่าจ้าง” ซึ่งต้องแจ้งเหตุผลภายใน 15 วัน แต่ปัญหาส่วนใหญ่กับเกิดมาจาก สำนักงานเลขาธิการสภาฯทั้งนั้น จึงไม่สามารถปรับผู้รับจ้างได้นั้นเอง และดูเหมือนเวลานี้กำลังที่จะต่อขยายเวลา ต่อสัญญาครั้งที่4  โดยมีรายละเอียดดังนี้

และล่าสุด

ครั้งที่ 4 ขอขยายเวลาจำนวน   382 วัน แต่เดิม บริษัท ซิโน-ไทยฯ ขอขยายเวลา 502 วัน  แต่รัฐบาลไม่ยอม โดยเหตุผลของการขอขยายระยะเวลาสัญญารอบที่ 4 นี้มีการระบุในรายงานว่า  ในหน้า 24 ว่า “ข้อ 3 ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหา” 3.1 ระบุว่า แบบรูปและรายละเอียดที่ผู้ออกแบบ (สงบ ๑๐๕๑) ส่งมอบให้สํานักงานสภาฯ นั้น มีจํานวนแบบและรายละเอียดมาก จึงทําให้แบบรูปและรายละเอียดขัดแย้งกัน หรือแบบไม่สมบูรณ์ เช่น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบปรับอากาศ งานระบบสุขาภิบาล เป็นต้น   โดยแนวทางการแก้ไขเบื้องต้นครั้งนี้จะเพิ่มจำนวนแรงงานและเวลาในการทำงาน โดยผู้รับจ้างจะเพิ่มจํานวนแรงงานเฉลี่ยต่อวันประมาณ 4,500-4,800 คน เพื่อให้ทันแผนขยายเวลาจำนวน   382 วัน ดังนั้นจะทำให้รัฐสภาใหม่แห่งนี้ สร้างยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเพราะสร้างนานเกือบ 8 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าในระยะเวลาครั้งที่4 นี้จะสร้างเสร็จหรือไม่ ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะสร้างเสร็จทันรัฐบาลลุงตู่ก่อนหมดวาระหรือไม่

รัฐเร่งเวนคืนที่ดินเกียกกายกว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อสร้าง สะพานเกียกกาย รับรัฐสภาใหม่

อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

เวนคืน มอเตอร์เวย์บางใหญ่ นายกตู่ พร้อมจ่ายเงินค่าเวนคืน7.6พันล้าน

 

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก