DotProperty.co.th

รัฐเช็กบิลคอนโด9แสนยูนิต บี้ภาษีย้อนหลังแจ้งเท็จปล่อยเช่า

ภาษีที่ดินฉุดรายได้ท้องถิ่น 3 พัน แห่งวูบ 1.3 หมื่นล้าน คอนโด 9 แสนยูนิตวุ่น โดน กทม.ไล่เบี้ย ปล่อยเช่าแต่แจ้งเท็จเจอเช็กบิลย้อนหลัง

 

รัฐเช็กบิลคอนโด9แสนยูนิต บี้ภาษีย้อนหลังแจ้งเท็จปล่อยเช่า

ด้านความเคลื่อนไหวในการเตรียมการจัดเก็บภาษีที่ดินฯของ กทม. นายธรรมรัตน์ มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักการ คลัง กทม. เปิดเผยว่า ในส่วนของ กทม. จากฐานข้อมูลในมือ แยกเป็นที่ดิน 2.08 ล้านแปลง บ้านตามทะเบียนราษฎรราว 2.89 ล้านหลัง และคอนโดฯกว่า 3,000 อาคาร หรือประมาณ 900,000 ยูนิต ขณะนี้ได้ให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ส่งหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของห้องชุด แต่ละคอนโดฯแล้ว กลุ่มแรกประมาณ 600,000 ยูนิตก่อน จากนั้นจะทยอยดำเนินการในช่วง 4 เดือนนับจากนี้ ก่อนทำการแจ้งประเมินภาษีและส่งแบบภาษีให้กับประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเดือน มิ.ย. 2563 ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ เพื่อให้ชำระในเดือน ส.ค. 2563

“เริ่มที่คอนโดฯก่อน เพราะมีข้อมูลที่กรมที่ดินส่งมาให้ น่าจะตรงกับ ข้อเท็จจริงที่สุด แต่ที่ผ่านมากรมที่ดินก็ไม่ได้อัพเดตข้อมูล เพราะมีการซื้อขายเปลี่ยนแปลงบางส่วน ต้องประชุมร่วมกับกรมที่ดินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่อัพเดตที่สุด ดังนั้นช่วงนี้เป็นการเก็บรายละเอียด จากข้อโต้แย้งที่ประชาชนมาแจ้งในแต่ละเขต เช่น เป็นบ้านหลังหลัก บ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 หรือให้เช่า จะมีการเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด อย่างเช่น บ้านหลังรอง จะเสียล้านละ 200-300 บาท/ปี แต่ถ้าให้เช่าจะคิดในอัตราประเภท พาณิชยกรรมล้านละ 3,000 บาท/ปี”

 

จ้องรีดภาษีปล่อยเช่า

อย่างไรก็ตาม ยากที่จะตรวจสอบว่า คอนโดฯแต่ละห้องปล่อยเช่าหรืออยู่อาศัยเอง ทาง กทม.ต้องเก็บข้อมูลตามที่ประชาชนโต้แย้งมา แต่ช่วงระหว่าง 4 เดือนนี้ อาจขอความร่วมมือจากนิติบุคคลของโครงการ ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสุ่มตรวจห้องชุด หรืออาจหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถบังคับให้นิติบุคคลของโครงการส่งข้อมูลให้ กทม.ตรวจสอบต่อไป

หากพบว่ามีการปล่อยเช่าจริง และมาแจ้งเท็จ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ที่ผ่านมา กทม.เคยสุ่มตรวจไปบ้าง โดยดูจากประกาศให้เช่าทางเว็บไซต์ แต่หลังทำหนังสือแจ้งให้เจ้าของคอนโดฯมา ตรวจสอบข้อมูลในแต่ละเขต พบว่า ทำให้มีการโอนย้ายทะเบียนบ้านกันจำนวนมาก เพื่อให้ได้สิทธิยกเว้นบ้านหลังหลัก ไม่เกิน 50 ล้านบาท เนื่องจากประชาชนมีข้อกังวลว่าในกรณีถูกจัดเป็นประเภทอื่น ๆ หากไม่มาโต้แย้งจะต้องเสียภาษีประเภทพาณิชยกรรม 0.3% ต่อปี

 

รายได้ไม่ถึงเป้า 1.4 หมื่นล้าน

“กทม.ตั้งเป้าว่าจะเก็บรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มาทดแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุง ท้องที่ ประมาณ 14,000 ล้านบาท แต่จากปัญหาและมาตรการผ่อนปรน ต่าง ๆ คาดว่าอาจจะไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนจะได้เท่าไหร่น่าจะประเมินได้ในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2563 หลังจากที่ประชาชนได้ทำการโต้แย้งสิทธิ์ต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว หากเก็บไม่ถึงเป้าจะต้องหารายได้จาก ส่วนอื่นมาทดแทน เพราะจะขอ อุดหนุนจากรัฐคงไม่ได้ อาจจะปรับบริหารโครงการลงทุนใหม่ ลด เลิกบางโครงการ เป็นต้น”

 

แห่โอน-ย้ายทะเบียนบ้านอุตลุด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลัง กทม.มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของห้องชุดหรือคอนโดฯไปตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่แต่ละเขต พบว่ามีมาติดต่อที่สำนักงานเขตประมาณ 400 คน/วัน และมีการโอนเข้า-ออกทะเบียนบ้านจำนวนมาก เช่น เขตวัฒนา มีการมาโอนย้ายทะเบียนบ้านประมาณ 100-200 ราย/วัน ขณะที่ สำนักงานที่ดินก็มีประชาชนมาโอนกรรมสิทธิ์กันจำนวนมาก โดยต้องโอนให้เสร็จภายในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ก่อนถึงกำหนดเวลา พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ ให้เริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

รัฐมอบของขวัญ ปีใหม่ เปิดใช้ถนน-สะพาน 5 โปรเจ็กต์

 

 

คอนโด สายสีม่วง อ่วม เหลือขายเป็นหมื่นยูนิต เจอโขกภาษีที่ดิน 0.3%

 

 

สนใจข้อมูลข่าวสารเด่นๆ คอนเทนท์ร้อน ที่เรานำมาเสิร์ฟให้คุณผู้อ่านในทุกๆวันจาก Dotproperty คลิ๊ก