“อยากให้คนซื้อ-ขายที่ดินและอสังหาฯ มีหลักการที่ชัดเจน ในวันนี้ที่ราคาที่ดินสุดโด่งเท่าที่เคยมีมา ก็เป็นวันที่ต้องวัดกัน “คนซื้อ คนขาย ใครจะอึดกว่ากัน”
จริงหรือไม่ที่เพิ่มขึ้น หรือว่าเจ้าของคิดกันไปเอง
โดยเฉพาะที่ดิน สองสามปีที่ผ่านมาราคากระโดด
บางบริเวณปรับกันเป็นเท่าตัว แต่ก็มีคนซื้อ
หลายๆที่ปรับจนไม่มีคนซื้อ แล้วราคาอยู่ตรงไหน?
องค์ประกอบของราคา มีอะไรบ้าง แล้วเท่าไหร่ดี?
– ที่ตั้งเป็นประเด็นแรกที่สำคัญที่สุด ที่ดินย้ายไม่ได้
– อาณาบริเวณเป็นตัวชี้ต่อมา เช่นติดรถไฟฟ้าหรืออื่นๆ
– ขนาดของที่ดินก็มีส่วนสำคัญ แปลงเล็กต่อตร.วาสูงกว่า
– เอาไปทำอะไรได้ สร้างคอนโด, หมู่บ้าน, ตึกแถว, โกดัง
– ราคาขายข้างเคียง เป็นแค่ส่วนประกอบ
– ข้อจำกัดของที่ดินแต่ละแปลง คนขายไม่คิดแต่คนซื้อคิด
o ที่ดินติดซอย, ลำราง เพิ่มระยะถอยร่น
o ติดโรงงาน จะสร้างพักอาศัยก็ขายยาก
o ติดแม่น้ำก็มีข้อจำกัดแยกย่อย
อยากให้คนซื้อ-ขายที่ดินและอสังหาฯ มีหลักการที่ชัดเจน
ในวันนี้ที่ราคาที่ดินสุดโด่งเท่าที่เคยมีมา ก็เป็นวันที่ต้องวัดกัน
“คนซื้อ คนขาย ใครจะอึดกว่ากัน”
หากคนขายมีภาระก็ต้องรีบ หลายครั้งจำเป็นต้องขายตัดราคาเพื่อให้ขายได้
แต่ยุติธรรมไหมครับ?
สาระหลักที่ทำให้คนขาย มั่นใจในราคาที่เกินจริงเพราะว่า
ที่ดินข้างๆขายราคาดี เพราะว่าคนซื้ออาจจะมีที่ดินติดกัน
ซื้อแล้วได้ทางเข้า-ทางออก ได้รูปแบบที่สวยกว่าเดิม
แต่ท่านรู้ไหมครับว่าส่วนที่ถูกเขาซื้อเท่าไหร่?
แล้วท่านก็ตั้งราคาแบบสุดโต่ง รอให้หลานมาขาย
“รอให้หลานมาขาย” คือการตั้งราคาล่วงหน้า ประมาณ 30 ปี
—————————————————————————————————————————————–
เกี่ยวกับผู้เขียน :: กวินพัทธ์ วราโรจน์ภัคสกุล
ชายวัยกลางคน สามสิบกลางๆ ที่ยังสนุกกับการเรียนรู้ประสบการณ์งานอสังหาฯ สำหรับผมเป็นโชคล้วนๆ
ได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่มีการตัดสินใจที่ดี ได้เห็น ได้ทำ ต่อไปนี้ผมจะแบ่งปันประสบการณ์เพื่อให้ท่านได้รับรู้ในสิ่งที่ผมได้ทำมา
สิ่งที่ผมเห็นอาจจะตรงกับความคิดท่านบ้าง หรือขัดใจท่านบ้างแต่เราจะมาแบ่งปันความคิดเห็นโดยใช้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานอสังหาฯเป็นที่ตั้ง