รู้จักผังเมือง…ตัวกำหนดราคาอสังหาฯ


สำหรับผู้ขายบ้าน หรือที่อยู่อาศัยใดๆ สิ่งสำคัญก็คือจะทำอย่างไรเพื่อให้ขายบ้านให้ได้ราคา อย่างไรก็ตามทุกคนต่างทราบดีว่าทำเลนั้นมีผลต่อการขายบ้านซึ่งทำเลจะดีไม่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับผังเมือง

ผังเมืองนับเป็นกฎหมายแม่บทอันใช้เป็นแนวทางควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละท้องที่ ซึ่งในแต่ละบริเวณ(Zoning) ว่าที่ส่วนนั้นนำไปทำอะไรบ้าง ได้พื้นที่มากน้อย หรือสร้างให้สูงได้ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะกำหนดโดย

“อัตราส่วนพื้นที่รวมต่อพื้นที่ดิน(Floor Area Ratio: FAR”

และ “อัตราส่วนที่ที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม(Open space Ratio: OSR)

นอกจากนั้นหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการยังใช้ผังเมืองเป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง

ด้วยเหตุที่ข้อกำหนดการผังเมืองในเรื่องของการใช้ประโยชน์นั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่โดยแบ่งเป็นสีและอักษรย่อที่ดินที่แตกต่างกัน

-สีเหลือง (ย.1-ย.4): ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
– สีส้ม (ย.5-ย.7): ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
– สีน้ำตาล (ย.8-ย.10): ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
– สีแดง(พ.1-พ.4): พาณิชยกรรม
– สีม่วง(อ.1-อ.2): อุตสาหกรรม
-สีเม็ดมะปรางค์(อ.3) คลังสินค้า
– สีขาวกรอบและเส้นทแยงสีเขียว(ก.1-ก.5: อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรรม
– สีเขียว (ก.4-ก.5): ชนบทและเกษตรกรรม
– สีน้ำตาลอ่อน(ศ.1-ศ.2): อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
-สีน้ำเงิน(ส.): ราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

ยิ่งตัวเลขด้านหลังสูงเท่าไหร่รัฐจะให้ประโยชน์ได้มากกว่า ในตัวอักษรเดียวกันหากมีเลขสูงกว่าก็มีแนวโน้มได้ราคาดีกว่า